กรุงเทพฯ--3 พ.ค.--Ericsson
คุณคามิลล่า โวเธียร์ หัวหน้าของบริษัท Ericsson ประเทศไทยกล่าวว่า ความสำเร็จจากงาน Mobile World Congress ไม่เพียงจะสร้างความเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมเท่านั้นแต่จะส่งผลให้เกือบจะทุกๆอุตสาหกรรมต้องมีปรับตัวและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีโมบายล์ การเชื่อมต่อแบบบรอดแบนด์ และระบบคลาวด์ โดยทั้งสามส่วนนี้จะช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงและใช้บริการต่างๆจากระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์แบบบรอดแบนด์ได้ในทุกๆที่ทั่วโลก นั้นหมายความว่า รูปแบบของบริการรวมถึงลูกค้าและผู้ให้บริการจะไม่ได้ถูกจำกัดภายใต้ปัจจัยธุรกิจแบบเดิมๆเช่น การตลาด การขาย การส่งสินค้า สถานที่และเวลาอีกต่อไป เพราะเรากำลังก้าวเข้าสู่ สังคมแห่งเครือข่าย หรือ Networked Society ที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานของเศรษฐกิจ โดยจะเป็นการเปิดทางให้ผู้บริโภค บริษัทและประเทศได้รับรู้ถึงประโยชน์ของเศรษฐกิจในรูปแบบออนไลน์หรือ Digital Economy
มุมมองสำคัญจากงาน MWC 2016 ที่จะส่งผลต่ออุตสาหกรรมประเทศไทย
• งาน Mobile World Congress เป็นงานที่แสดงความนวัตกรรม ความร่วมมือ และกลุ่มพันธมิตร โดยจุดประสงค์เพื่อปลดล็อกผลประโยชน์ของเศรษฐกิจและสังคมในอนาคตโดยเฉพาะจาก นวัตกรรม 5G Internet of Things และคลาวด์ นั้นเอง
• การเชื่อมต่อกับอินเทอร์เนตและการใช้งานโซเชียลมีเดียจะมีบทบาทสำคัญมากขึ้นกับเศรษฐกิจและสังคมทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทย
• ไลฟ์สไตล์และพฤติกรรมของผู้บริโภคชาวไทยเองก็มีแนวโน้มสอดคล้องและยอมรับกับเทรนด์และแนวโน้มดิจิตอลทั่วโลก โดยมีตัวเลขที่น่าสนใจดังนี้
การเข้าถึงอุปกรณ์ Connected Device กว่าร้อยละ 56 ของผู้ใช้ Smartphone ในประเทศไทยมีอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตมากกว่าหนึ่งชิ้นและมีแนวโน้มที่จะมีเพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย โดยอัตราเฉลี่ยทั่งโลกอยู่ที่ร้อยละ 82
การเข้าถึงอุปกรณ์ เครือข่ายโซเชียลมีเดีย กว่าร้อยละ 50 ของผู้ใช้ Smartphone ในประเทศไทย มีใช้งานมากว่าหนึ่งเครือข่ายโซเชียลมีเดีย โดยอัตราเฉลี่ยทั่งโลกอยู่ที่ร้อยละ 55
การเข้าถึงSharing Economy หรือ เศรษฐกิจแบ่งปัน กว่าร้อยละ 33 ของผู้ใช้ Smartphone ในประเทศไทย มีการใช้ Sharing Economy หรือ เศรษฐกิจแบ่งปัน โดยอัตราเฉลี่ยทั่งโลกอยู่ที่ร้อยละ 34
Sharing Economy หรือ เศรษฐกิจแบ่งปัน ซึ่งเป็นแนวโน้มของเศรษฐกิจยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21 ที่เน้นในเรื่องของการแบ่งปัน และกำลังเป็นกระแสแรงในโลกธุรกิจ โดยSharing Economy ไม่ได้ครอบคลุมเฉพาะการบริโภคสินค้าเท่านั้น แต่หมายรวมถึงการแบ่งปันและการใช้ทรัพยากรร่วมกันตั้งแต่ขั้นตอนการริเริ่มสร้างสรรค์ ไอเดีย การผลิต การกระจายสินค้า ไปจนการบริโภค
• การเปลี่ยนแปลงด้านไอซีที หรือ ICT Transformation กลายหัวข้อสำคัญเร่งด่วนสำหรับทุกๆองค์กร ทั้งในภาครัฐและภาคธุรกิจ ของ ประเทศไทย
โมบิลิตี้ คลาวด์ และบรอดแบนด์เป็นตัวผลักดันสังคมเครือข่าย หรือ Networked Society โดยสังคมเครือข่ายนั้นนั้นจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ของคนไทย รวมถึงอุตสาหกรรมธุรกิจ และภาครัฐ อย่างในวงกว้าง
ปัจจุบันในประเทศไทย เราได้เห็นแล้วว่า บริการ 4G LTE ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ของคนไทย ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมสื่อโทรทัศน์และการกระจายเสียง โดยเราได้เห็นผู้ให้บริการใหม่ๆ เข้าแข่งขันและให้บริการในรูปแบบใหม่ๆ เช่น การรับชม VDO streaming on demand แข่งขันกับผู้ให้บริการ Digital Free TV และ และ Cable TV รวมถึง ผู้ขายและให้เช่าสื่อต่างๆ
ดังนั้นภาคอุตสหกรรมต่างๆจำต้องปรับตัวและเตรียมความพร้อมกับ การเปลี่ยนแปลงด้านไอซีที หรือ ICT Transformation ที่กำลังเกิดขึ้น
สังคมเครือข่ายจะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานของเศรษฐกิจ โดยจะเป็นการเปิดทางให้ผู้บริโภค บริษัทและประเทศได้รับรู้ถึงประโยชน์ของอินเทอร์เนตและเศรษฐกิจในรูปแบบออนไลน์
สิ่งที่จะกีดขวางไม่ให้ผู้บริโภค บริษัท และประเทศได้รับรู้ถึงประโยชน์ของ Internet Economy คือ การเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐาน ความพร้อมของภาคอุตสาหกรรม ข้อมูล
ภาครัฐควรที่จะสร้างการเข้าถึงให้กับทุกคน ด้วยการสร้างบทบาทที่ชัดเจนในการวางแผนและการใช้งานสเปกตรัม ตลอดจนมีมุมมองระยะยาวและการดำเนินการแผนเครือข่าบบรอดแบนด์แห่งชาติร่วมกับอุตสาหกรรมอื่นๆ
• อุตสาหกรรมโทรศัพท์มือถือในประเทศไทยควรที่จะมีสเปกตรัมเพิ่มขึ้นเพื่อการใช้งานโมบายบรอดแบนด์ในราคาที่ถูกลง พร้อมทั้งสร้างการแข่งขันและความน่าดึงดูดจากในภูมิภาค ทั้งนี้ด้วยความสามารถของเครือข่ายที่ก้าวหน้าจะช่วยให้ผู้บริโภค บริษัท และประเทศจะได้รับรู้ถึงประโยชน์ที่แท้จริงของ digital economy