ขอเชิญฟังบรรยายเรื่อง "ธรรมะกับอโรคา" วันที่ 18 ต.ค. 2543 ณ ห้องประชุมจงจินต์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

ข่าวทั่วไป Tuesday September 26, 2000 13:09 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--26 ก.ย.--คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
โครงการอบรมด้านสุขภาพอนามัยสำหรับประชาชน ครั้งที่ 114
งานการพยาบาลป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพ
ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
จัดการเผยแพร่ความรู้สำหรับประชาชน
เรื่อง ธรรมะกับอโรคา
วันที่ 18 ตุลาคม 2543 เวลา 08.30-12.00 น.
ณ ห้องประชุมจงจินต์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
ร่างกายและจิตใจเป็นสิ่งที่แยกจากกันไม่ได้ เมื่อมีอะไรมากระทบจิตก็มีผลต่อร่างกาย หรือเมื่อมีอะไรกระทบต่อกายก็ส่งผลไปที่จิตเช่นเดียวกัน แต่เรื่องจิตใจมักจะเป็นนามธรรมจับต้องไม่ได้ บางครั้งคราวเราอาจจะลืมไปว่า โรคภัยไข้เจ็บที่เกิดขึ้นกับเราหลายๆ โรคส่วนใหญ่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคกระเพาะอาหาร แม้กระทั่งโรคมะเร็งเหล่านี้ สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากความเครียดซึ่งเป็นสภาวะทุกข์ของใจนั่นเอง
ในภาวะวิกฤติจากสาเหตุใดก็ตาม ถ้าเรามีจิตใจสงบ มีสติแล้วจะเกิดกำลังใจอย่างมากมาย ซึ่งจะเป็นพลังอันมหาศาลที่จะช่วยให้เราฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ไม่บอบช้ำมากนัก แม้กระทั่งในผู้ป่วยหนักที่คิดว่าจะไม่รอดแล้วก็ตาม หลายคนรอดมาได้เพราะมีกำลังใจ
การบริหารจิตใจจึงเรื่องที่มีความจำเป็นและสำคัญไม่น้อยไปกว่าการบริหารร่างกายเพื่อสุขภาพพลานามัยที่ดีพุทธวิธีในการดับทุกข์ทางจิตใจ
คนไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ เรียนรู้เรื่องพุทธศาสนามามากมาย ถ้านำไปปฏิบัติถูกต้องและครบถ้วนพอสมควรจะสามารถดับทุกข์ได้เป็นอย่างดี
ความทุกข์มาจากไหน คนเราอาจจะรู้สึกทุกข์หรือที่พูดกันบ่อยๆ ว่า "เป็นทุกข์เป็นร้อน" ได้วันละหลายครั้ง แต่จะมีสักกี่คนที่ย้อนกลับไปถามตนเองว่าทำไมจึงทุกข์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความทุกข์ทางจิตใจนั้น มีสาเหตุมาจากความคิดไช่หรือไม่ ก็จะพบความจริงว่า เพราะความคิดนี้เองจึงเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ทางจิตใจขึ้น
เราคิดเรื่องอะไรต่างๆ ได้อย่างยืดยาว ทั้งในเรื่องดีเรื่องร้ายจะต้องอาศัยข้อมูลต่างๆ ซึ่งอยู่ในความทรงจำเป็นพื้นฐานความคิดทุกเรื่อง ถ้าเราสะสมข้อมูลด้านอกุศล คิดด้วยความโลภ ความโกรธ ความหลง จิตใจจะขุ่นมัวเศร้าหมองทันที ทุกข์เกิดขึ้นแล้ว
เมื่อกำกับและควบคุมความคิดได้ทุกข์ก็ไม่เกิด ซึ่งไม่ใช่วิธีที่ง่ายนักที่จะควบคุมความคิดแต่ไม่เหลือบ่ากว่าแรงถ้าจะตั้งใจทำอย่างจริงจัง และมีความเพียร
ในชีวิตประจำวัน การดับทุกข์จะต้องฝึกปฏิบัติให้เกิดความเคยชิน เพื่อควบคุมความคิดที่จะทำให้เกิดทุกข์อย่างต่อเนื่องโดยวิธีการ เช่น ฝึกเจริญสมาธิ และเจริญสติ เพื่อให้จิตใจผ่องใส ห่างไกลจากความทุกข์
รายละเอียดจะมีการบรรยายและฝึกปฏิบัติในวันจัดประชุมกำหนดการ
08.30-09.00 น. ลงทะเบียน
09.00-09.10 น. เปิดการประชุม
09.10-10.30 น. ภาวะการเจ็บป่วย : ความสัมพันธ์ระหว่างร่างกายและจิตใจ
โดย อาจารย์แพทย์เอกชัย จุละจาริตต์
10.30-11.00 น. พัก
11.00-12.00 น. ความทุกข์ทางใจแนวทางการแก้ไข : สมาธิ เจริญสติ (ต่อ)
12.00-12.10 น. ประเมินผลการและปิดการประชุม
ขอเชิญผู้สนใจสมัครเข้าฟังติดต่อสอบถามหรือส่งไปรษณียบัตรสำรองที่นั่งได้ที่
คุณสุนันทา คำพอ งานฯ ป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลรามาธิบดี
ถนนพระราม 6 ราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 หรือ
โทร. 245-7877 หรือ 201-2126 ในเวลาราชการ
(โปรดเขียนชื่อที่อยู่ของท่านให้ชัดเจน เมื่อสมัครทางไปรษณีย์)--จบ--
-อน-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ