ฮันซาพลาสเปิดแนวรบใหม่ ชูนวัตกรรมปลุกตลาดพลาสเตอร์

ข่าวทั่วไป Tuesday October 9, 2001 09:23 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--9 ต.ค.--แฟรนคอม เอเซีย
เปิดตัว "ฮันซาพลาส สการ์ รีดิวเซอร์" ผลงานวิจัยล่าสุดจากศูนย์วิจัยของฮันซาพลาส ในเยอรมนี ได้รับการยืนยันผลการทดสอบกับผู้บริโภคโดย Institute of Microcirculation แห่งกรุงเบอร์ลิน
ฮันซาพลาส ผู้นำนวัตกรรรมด้านพลาสเตอร์ปิดแผล ประกาศเปิดแนวรบใหม่ ด้วยประสบการณ์ความเชี่ยวชาญในตลาดพลาสเตอร์ปิดแผลที่ใช้ในโรงพยาบาลมาเป็นเวลากว่า 20 ปี เตรียมเทกลยุทธ์การตลาดปลุกตลาดพลาสเตอร์สู่การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็นนวัตกรรมชั้นสูง จับกลุ่มผู้บริโภคตลาดพรีเมี่ยม ประเดิมด้วยการเแนะนำ "ฮันซาพลาส สการ์ รีดิวเซอร์" นวัตกรรมจากผลงานการวิจัยและพัฒนาโดยศูนย์วิจัยของฮันซาพลาส ในประเทศเยอรมนี ซึ่งผ่านการพิสูจน์ทางการแพทย์แล้วว่าสามารถทำให้ขนาดของแผลเป็นที่นูนค่อย ๆ เล็กและจางลง ลดรอยแผลเป็นได้อย่างสะดวกปลอดภัย ภายใน 8-10 สัปดาห์ โดยไม่ต้องผ่าตัดทำศัลยกรรม
นวัตกรรมแห่งการซ่อมแซมผิวตามธรรมชาติ
ในอดีตมีการรักษารอยแผลเป็นหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการฉีดสเตียรอยด์หรือทำการผ่าตัด ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงและมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้อีก ส่วนอีกหลายวิธีก็อาจให้ผลข้างเคียงตามมา เช่น การอักเสบ การคันหรือทำให้เกิดเนื้อร้ายขึ้นภายหลัง ในปัจจุบัน ฮันซาพลาสได้พัฒนาวิธีการใหม่ Hydroactive Polyurethane Dressings ซึ่งทำให้เกิดการรักษาในแนวใหม่ที่ได้ผลและไม่ทำให้เกิดอาการข้างเคียง นั่นคือ การใช้แผ่นพลาสเตอร์โพลียูรีเทนที่ผ่านการค้นคว้าวิจัยมาอย่างดี มาปิดแผลเพื่อกระตุ้นกระบวนการซ่อมแซมผิวตามธรรมชาติ วิธีนี้เป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ยุ่งยาก ได้ผล และเสียค่าใช้จ่ายน้อย
ฮันซาพลาส สการ์ รีดิวเซอร์ ผลิตขึ้นจากแผ่นโพลียูรีเทน ทำหน้าที่ลดรอยแผลเป็นให้ลดเลือนด้วยการเข้าไปกดทับรอยอย่างพอดี และเพิ่มอุณหภูมิที่พอเหมาะบริเวณแผลเป็น เพื่อให้เกิดการเสริมสร้างเซลเนื้อเยื่อใหม่อย่างเป็นธรรมชาติ และกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ในการฟื้นฟูโครงสร้างใหม่ให้กับเนื้อเยื่อบริเวณแผลเป็นอย่างเหมาะสม ทำให้ขนาดแผลเป็นที่นูนค่อย ๆ เล็กลง สีแดงคล้ำหรือสีม่วงของแผลจะจางหาย ขณะเดียวกันก็ช่วยลดรอยแผลเป็นได้อย่างสะดวกปลอดภัย
ฮันซาพลาส สการ์ รีดิวเซอร์ สามารถใช้ได้กับรอยแผลเป็นทั้งใหม่และเก่าสำหรับผู้ที่มีรอยแผลจากการผ่าตัดทั่วไป รวมไปถึงแผลคลอดบุตร แผลไฟไหม้ และรอยแผลนูนแดงที่เกิดจากการปลูกฝี ฉีดวัคซีน ฮันซาพลาส สการ์ รีดิวเซอร์ ช่วยสมานรอยแผลด้วยวิธีธรรมชาติจึงอ่อนโยนต่อผิว ใช้ได้กับผิวตามร่างกายและรวมทั้งผิวหน้า เพราะคิดค้นมาเพื่อผิวที่บอบบางและผิวที่แพ้ง่ายโดยเฉพาะ ผลิตภัณฑ์นี้ใช้ง่ายเพียงปิดพลาสเตอร์วันละ 12 ชั่วโมง อย่างต่อเนื่องทุกวันจนครบ 8-10 สัปดาห์ แผลเป็นก็จะเลือนหายอย่างเป็นธรรมชาติ
ฮันซาพลาส สการ์รีดิวเซอร์ เป็นนวัตกรรมใหม่ล่าสุด ผลงานการค้นคว้าของศูนย์วิจัยของฮันซาพลาสในเมืองแฮมบูร์ก ประเทศเยอรมนี ซึ่งมุ่งหน้าคิดค้นและวิจัยผลิตภัณฑ์ที่ได้คุณภาพและปลอดภัยสำหรับผู้บริโภคออกสู่ตลาด และได้รับการตอบรับจากทั่วโลก อาทิ ในเบลเยี่ยม เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ ออสเตรีย สหรัฐฯและอังกฤษ และจากผลการวิจัยและทดสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์กับผู้บริโภคที่เชื่อถือได้ในเยอรมนี โดย Institute of Microcirculation แห่งกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ยืนยันถึงประสิทธิภาพในการลดรอยแผลเป็นของฮันซาพลาส สการ์รีดิวเซอร์
เปิดโครงการทดสอบ
ล่าสุด ฮันซาพลาส ยังได้ร่วมมือกับ ผศ.พญ. เพ็ญพรรณ วัฒนไกร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง หน่วยโรคผิวหนัง โรงพยาบาลรามาธิบดีจัดทำ "โครงการการรักษาแผลเป็นเนื้อนูน คีลอยด์ ด้วย Self-Adhesive Polyurethane Dressing (Hansaplast ‚) ในคนไทย" โดยจะมีการคัดเลือกอาสาสมัครที่มีแผลเป็นจำนวน 30 คน มาร่วมทดลองใช้ Hansaplast Scar Reducer เป็นเวลา 3 เดือน โดยจะมีการนัดอาสาสมัครมาพบแพทย์เป็นระยะ เพื่อตรวจดูความคืบหน้าในการรักษาและตรวจวัดประสิทธิภาพในการรักษาของ Hansaplast Scar Reducer เมื่อกระบวนการทดสอบเสร็จสิ้นลง
ฮันซาพลาสปลุกตลาด
คุณอรวรรณ ติยะตระการชัย ผู้จัดการกลุ่มผลิตภัณฑ์เวชสำอางค์และเวชภัณฑ์ บริษัท ไบเออร์สด๊อรฟ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์ฮันซาพลาส สการ์รีดิวเซอร์ กล่าวว่า "ในปัจจุบัน 70% ของตลาดพลาสเตอร์เป็นพลาสเตอร์ปิดแผล และการแข่งขันของตลาดพลาสเตอร์ปิดแผลใช้กลยุทธ์ด้านราคาเป็นหลัก ฮันซาพลาสเป็นแบรนด์ที่เข้ามาปลุกตลาด โดยมุ่งเน้นทางด้านการค้นคว้าวิจัย คิดค้นนวัตกรรม และการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อผู้บริโภคเป็นสำคัญ"
ปัจจุบันตลาดพลาสเตอร์สำหรับผู้บริโภคใช้ด้วยตัวเองแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ พลาสเตอร์ปิดแผลธรรมดา 70% พลาสเตอร์แก้ปวดเมื่อย 20% และ พลาสเตอร์นวัตกรรม 10% ซึ่งมีมูลค่ารวมกว่า 300 ล้านบาท "คาดว่าการเปิดตัว ฮันซาพลาส สการ์ รีดิวเซอร์ จะส่งผลให้ฮันซาพลาสเป็นผู้นำการตลาดพลาสเตอร์นวัตกรรมในปี 2545 ด้วยส่วนแบ่งการตลาดมากกว่า 80% และฮันซาพลาสจะยังคงมุ่งหน้าคิดค้นนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ใหม่ รวมทั้งมีการเพิ่มเติมไลน์สินค้าเข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง"
พลิกกลยุทธ์มอบผลิตภัณฑ์คุณภาพสู่ผู้บริโภค
เพื่อแนะนำผลิตภัณฑ์คุณภาพแก่ผู้บริโภคในประเทศไทย ฮันซาพลาสจัด Hansaplast Exhibition Center ไปตามห้างสรรพสินค้า เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาบาดแผลและผลิตภัณฑ์กับผู้บริโภคโดยตรงทั่วประเทศ รวมถึงเผยแพร่ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการดูแลสุขภาพในชีวิตประจำวันทางรายการสารคดีทางโทรทัศน์ และสกู๊ปประจำสัปดาห์ในรายการทีวีเพื่อสุภาพสตรี เช่น ในรายการครบเครื่องเรื่องผู้หญิง และโฆษณาทางสื่อสิ่งพิมพ์นิตยสารต่าง ๆ และยังได้จัดตั้งศูนย์บริการลูกค้า Hansaplast Customer Service Center เพื่อคอยให้ข้อมูลและตอบคำถามต่าง ๆ ตลอด 24ชม. สามารถติดต่อได้ที่ โทร. 0 2351-9898
นอกจากนี้ ยังส่งจดหมายข่าวถึงร้านขายยาทั่วประเทศ เพื่อแนะนำและให้ความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ แก่ร้านค้า รวมทั้งจัดทำแผ่นพับเพื่อให้ความรู้กับผู้บริโภค ตามร้านขายยาชั้นนำทั่วไป
ฮันซาพลาส สการ์ รีดิวเซอร์ จำหน่ายในราคากล่องละ 1,190 บาท พิเศษช่วงแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ ได้จัดทำคูปองส่วนลดมูลค่า 200 บาท แทรกอยู่ในนิตยสารชั้นนำ ผู้บริโภคสามารถนำมารับส่วนลดเพื่อซื้อผลิตภัณฑ์ฮันซาพลาส สการ์ รีดิวเซอร์ ได้ตามร้านขายยาชั้นนำทั่วประเทศ
หากท่านต้องการสอบถามข้อมูลข่าวเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
คุณยุวดี มุ่งเจริญ / ภัทรนิษฐ์ อิ่มอำไภย
ศูนย์บริการข้อมูลข่าวสารฮันซาพลาส
c/o บริษัท แฟรนคอม เอเซีย จำกัด
โทร 02 233 4329-30 แฟกซ์ 02 236 8030
email: francom@loxinfo.co.th
แผลเป็นเนื้อนูน (Hypertrophic Scars, Keloids) ถือเป็นแผลเป็นซึ่งมีการตอบสนองอย่างผิดปกติในการซ่อมแซมของผิวหนัง พบได้บ่อยในคนสีผิวเข้มและคนเอเชีย ความแตกต่างทางคลินิคของ Keloid และ Hypertrophic Scar คือ Keloid จะมีรอยแผลเป็นออกมานอกขอบเขตของรอยบาดแผล ในขณะที่ Hyperthrophic Scar นั้น แผลเป็นเนื้อนูนจะยังอยู่ในขอบเขตของรอยแผลเดิม แต่ในความเป็นจริงแล้ว ลักษณะทางคลินิคจะแยกจากกันได้ไม่ชัดเจนนัก ในวารสารทางการแพทย์จึงมักใช้ 2 คำ คู่กันอยู่เสมอ ๆ ทำให้เป็นการยากที่จะแบ่งแยกทั้ง 2 ภาวะนี้ออกจากกันอย่างชัดเจน การรักษา hypertrophic scars และ keloids มีได้หลายวิธี เช่น
- Intralesional Steroids
- Topical Applications เช่น Silicone Sheeting
- Cyrotherapy
- Surgical Excision
- Radiation Therapy - Laser Treatment
อย่างไรก็ดี แม้จะมีหลายวิธีก็ยังไม่มีวิธีใดได้ผลดีที่สุด พบ response rate ของการรักษาระหว่าง 50-100% และแต่ละวิธีการก็มีข้อดีและข้อเสียรวมทั้งค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกัน
สำหรับการใช้ topical therapy มีข้อดีคือ ไม่ invasive ไม่เจ็บปวด แต่ข้อจำกัดคือ มักจะต้องใช้ระยะเวลาในการรักษานานกว่าจะเห็นผล ทั้งนี้ เคยมีการทำการศึกษาการใช้ self-adhesive polyurethane dressing รักษา hypertrophic scars พบว่าได้ผลดีในเวลา 8 สัปดาห์
วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลและผลข้างเคียงของการรักษา Hypertrophic Scars คีลอยด์ ด้วย Self-adhesive Polyurrethane dressing (Hansaplast) ในคนไทย
วิธีการวิจัยและแบบแผนการวิจัยเป็นการศึกษาแบบ Prospective Single-Blinded Intraindividual Comparative Clinical Study จำนวนผู้ป่วยในการศึกษานี้รวม 30 ราย
Inclusion Criteria1.
ผู้ป่วยที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ที่มี Hypertrophic Scar หรือ Keloid ที่เป็นมานานเกิน 6 เดือน โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง
2. ไม่ได้รับการรักษา Hypertrophic Scar หรือ Keloid ด้วยวิธีอื่นมาก่อนเป็นเวลานานอย่างน้อย 3 เดือน
3. ขนาดของรอยแผลกว้างอย่างน้อย 1 ซม. และความยาวรวมอย่างน้อย 6 ซม.
Exclusion Criteria
1. ผู้ป่วยตั้งครรภ์
2. ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวอื่น ที่ทำให้ไม่สะดวกต่อการมาติดตามผลการรักษาตามนัด
ข้อจำกัดระหว่างการรักษา
ระหว่างปิดแผลรักษาแผลเป็น ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหรือกิจกรรมอื่นที่ทำให้เหงื่อออกมาก และห้ามใช้ยาทาหรือผลิตภัณฑ์บำรุงผิวอื่นบนบริเวรทดสอบตลอดช่วงการวิจัยวิธีการศึกษา
1. ผู้ป่วยทุกรายควรจะได้รับการอธิบายถึงวิธีการทดลองอย่างละเอียด บอกถึงข้อดีข้อเสียของการศึกษาและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น เมื่อผู้ป่วยยินยอมจะมารับการรักาารวมถึงติดตามผลการรักษาตามเวลานัดหมาย และแสดงความยินยอมโดยลงชื่อในใบแสดงความยินยอมแล้วเท่านั้น จึงจะนำมาเข้าการศึกษา
2. แพทย์ผู้ทำการวิจัยซักประวัติ ตรวจดูลักษณะและขนาดของรอยโรคพร้อมทั้งบันทึกภาพด้วยกล้องโพลารอยด์
3. ผู้ป่วยจะได้รับแผ่น self-adhesive polyurethane dressing (Hansaplast) นำไปปิดครึ่งหนึ่งของรอยแผลเป็น เป็นเวลาอย่างน้อย 12 ชม. ทุกวัน หากจำเป็นอาจใช้แผ่น fixation ปิดทับอีกชั้น แผ่น dressing นี้ ต้องปิดแผลเป็นเวลาอย่างน้อย 12 ชั่วโมงต่อวัน และต้องเปลี่ยนแผ่นใหม่ทุกวัน
4. สำหรับรอยแผลอีกครั้งหนึ่งของ lesion จะใช้เป็น self control โดยให้ผู้ป่วยปิดทับด้วยแผ่น fixation ซึ่งถือเป็น placebo เท่านั้น ในลักษณะเช่นเดียวกับข้อ 3
5. ระหว่างการทดสอบจะให้ผู้ป่วยทำบันทึกประจำวันแสดงเวลาที่ปิดและแกะแผ่นทดสอบในแต่ละวัน เพื่อประเมิน compliance ของผู้ป่วย และบันทึกผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นหากมี
หากท่านต้องการสอบถามข้อมูลข่าวเพิ่มเติม กรุณาติดต่อคุณยุวดี มุ่งเจริญ / ภัทรนิษฐ์ อิ่มอำไภยศูนย์บริการข้อมูลข่าวสารฮันซาพลาส c/o บริษัท แฟรนคอม เอเซีย จำกัด โทร 02 233 4329-30 แฟกซ์ 02 236 8030email: francom@loxinfo.co.th-- จบ--
-อน-

แท็ก นวัตกรรม  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ