กรุงเทพฯ--23 พ.ค.--นิด้าโพล
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง "ความเข้าใจในร่างรัฐธรรมนูญ 2559 และข้อห้าม กกต." ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 3 – 4 พฤษภาคม 2559 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไปทั่วประเทศ กระจายทุกระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความเข้าใจในร่างรัฐธรรมนูญ 2559 และข้อห้าม 8 ข้อ ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในการแสดงความคิดเห็นในการออกเสียงประชามติ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" ด้วยความน่าจะเป็นแบบเป็นระบบ (Systematic Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์โดยกำหนดค่า ความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.3จากผลการสำรวจ เมื่อถามถึง ความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นในร่างรัฐธรรมนูญที่ต้องการคำอธิบายเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญ
ก่อนจะตัดสินใจลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 34.32 ระบุว่า ต้องการคำอธิบายเพิ่มเติมทุกข้อ รองลงมา ร้อยละ 25.04 ระบุว่า ไม่ต้องการคำอธิบายเพิ่มเติมใด ๆ ร้อยละ 11.20 ระบุว่า เป็นประเด็นเรื่องการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชัน ร้อยละ 10.32 ระบุว่า เป็นประเด็นเรื่องสิทธิ เสรีภาพและหน้าที่ของปวงชนชาวไทย ร้อยละ 5.60 ระบุว่า เป็นประเด็นเรื่องหน้าที่และแนวนโยบายแห่งรัฐ ร้อยละ 5.12 ระบุว่า เป็นประเด็นเรื่องคุณสมบัติและที่มาของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ร้อยละ 5.04 ระบุว่า เป็นประเด็นเรื่องการเลือกตั้งและคุณสมบัติสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ร้อยละ 3.68 ระบุว่า เป็นประเด็นเรื่องการเลือกตั้งทางอ้อมและคุณสมบัติสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ร้อยละ 3.36 ระบุว่า เป็นประเด็นเรื่องการสรรหาและคุณสมบัติสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ในช่วงเปลี่ยนผ่าน 5 ปี และประเด็นเรื่องการปกครองส่วนท้องถิ่น ในสัดส่วนที่เท่ากัน ร้อยละ 3.20 ระบุว่า เป็นประเด็นเรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ร้อยละ 1.52 ระบุว่า เป็นประเด็นเรื่องที่มา อำนาจและหน้าที่ของศาลและองค์กรอิสระ (เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ กกต. ปปช. เป็นต้น) ร้อยละ 0.24 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ไม่เข้าใจ แต่จะศึกษาด้วยตัวเอง และร้อยละ 11.84 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึง ความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นในข้อห้าม 8 ข้อของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในการแสดงความคิดเห็นในการออกเสียงประชามติที่ไม่เข้าใจและต้องการคำอธิบายเพิ่มเติมจาก กกต. พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 33.60 ระบุว่า ไม่ต้องการคำอธิบายเพิ่มเติมใด ๆ รองลงมา ร้อยละ 26.40 ระบุว่า ต้องการคำอธิบายเพิ่มเติมทุกข้อ ร้อยละ 10.96 ระบุว่า การนำเข้าข้อมูล (โพสต์) อันเป็นเท็จหรือมีลักษณะก้าวร้าว รุนแรง หยาบคาย ปลุกระดมหรือข่มขู่ในเว็บไซต์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือส่งต่อข้อมูล (แชร์) ในลักษณะดังกล่าว ร้อยละ 9.20 ระบุว่า การสัมภาษณ์ผ่านสื่อด้วยข้อความอันเป็นเท็จหรือมีลักษณะก้าวร้าวรุนแรงหยาบคาย ปลุกระดม หรือข่มขู่ และการจัดเวทีสัมมนา อภิปราย โดยกลุ่มองค์กรต่าง ๆ ที่ไม่มีหน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา องค์กรสื่อมวลชน ตามกฎหมายเข้าร่วม และมีเจตนาเพื่อปลุกระดมทางการเมือง ในสัดส่วนที่เท่ากัน ร้อยละ 7.68 ระบุว่า การชักชวนให้ใส่เสื้อ หรือติดป้าย เข็มกลัด ธง ริบบิ้น หรือเครื่องหมายที่แสดงสัญลักษณ์ความเห็นอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือการขายการแจกจ่ายสิ่งของดังกล่าว ในลักษณะรณรงค์ทั่วไปเพื่อนำไปสู่การปลุกระดมทางการเมือง ร้อยละ 6.80 ระบุว่า การรายงานข่าวหรือการจัดรายการของสื่อมวลชนที่นำไปสู่ การปลุกระดมหรือสร้างความวุ่นวายในสังคม ร้อยละ 6.40 ระบุว่า การรณรงค์เพื่อให้เกิดการคล้อยตามของคนในสังคม เพื่อให้ออกเสียงอย่างใดอย่างหนึ่ง มีลักษณะการปลุกระดมหรือขัดขวางการออกเสียง ร้อยละ 5.84 ระบุว่า การทำหรือส่งสัญลักษณ์หรือเครื่องหมาย อันมีลักษณะก้าวร้าวรุนแรงหยาบคาย ปลุกระดม หรือข่มขู่ ร้อยละ 5.12 ระบุว่า การใช้เอกสารใบปลิวหรือแผ่นพับ ที่มีข้อความอันเป็นเท็จหรือมีลักษณะก้าวร้าวรุนแรงหยาบคายหรือปลุกระดมทางการเมือง และร้อยละ 11.04 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.72 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.44 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.16 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.60 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 14.08 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่าง ร้อยละ 57.04 เป็นเพศชาย ร้อยละ 42.88 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 0.08 เป็นเพศทางเลือก ตัวอย่าง ร้อยละ 7.76 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 17.44 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 23.20 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 31.36 มีอายุ 46 – 59 ปี ร้อยละ 16.16 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และร้อยละ 4.08 ไม่ระบุอายุ ตัวอย่าง ร้อยละ 91.92 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.64 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.20 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 4.24 ไม่ระบุศาสนา
ตัวอย่างร้อยละ 20.88 สถานภาพโสด ร้อยละ 72.88 สมรสแล้ว ร้อยละ 1.52 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 4.72 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่างร้อยละ 27.36 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 30.48 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.76 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 23.36 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 5.60 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 5.44 ไม่ระบุการศึกษา
ตัวอย่างร้อยละ 11.84 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 11.60 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 22.88 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 15.44 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 14.00 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 14.80 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 3.76 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 0.08 เป็นพนักงานองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร และร้อยละ 5.60 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่างร้อยละ 16.56 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 19.84 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 25.92 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 9.28 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 6.40 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 7.68 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 14.32 ไม่ระบุรายได้