กรุงเทพฯ--25 พ.ค.--ไมดาส พีอาร์
งานมหกรรมจัดแสดงเทคโนโลยีและข้อมูลธุรกิจ Asia IOT Business Platform ที่จะจัดขึ้นในเดือนพฤษภาคมนี้ ตั้งเป้าหมายผลักดันให้ธุรกิจในประเทศ ผู้เชียวชาญทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทุกภาคส่วนทั่วทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้าใจถึงเทคโนโลยีที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว พร้อมให้ความรู้ด้านการพัฒนา IT อย่างการเชื่อมต่ออุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆผ่านอินเตอร์เน็ต (IOT) และการสื่อสารประเภทแมชชีน-ทู-แมชชีน (M2M) มหกรรมการแสดงเทคโนโลยีและการประชุมครั้งที่ 8 นี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 ในประเทศไทย โดยงานนี้จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 -27 พฤษภาคม 2559 ตั้งแต่เวลา 9.00 น. ถึง 17.30 น. ณ โรงแรมอมารี วอเตอร์เกท กรุงเทพฯ
ผู้เข้าร่วมกว่า 300 คนจะได้รับความรู้เกี่ยวกับการเชื่อมต่ออุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆผ่านอินเตอร์เน็ต (IOT) และกลยุทธ์ต่างๆจากเครือข่ายธุรกิจในภูมิภาค Asia IOT Business Platform พร้อมนำเสนอข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับเครือข่ายเทคโนโลยี แมชชีน-ทู-แมชชีน (M2M)ที่กำลังเติบโต รวมถึงศักยภาพของการบริหารจัดการข้อมูลและการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆผ่านอินเตอร์เน็ต (IOT) ให้กับผู้ประกอบธุรกิจและผู้เชียวชาญทางด้าน IT
นางสาวมาลี วงศาโรจน์ รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จะกล่าวเปิดงานในหัวข้อเรื่อง การพัฒนาประเทศให้ก้าวไกลในยุคดิจิตอล ต่อด้วยการเปิดอภิปรายภายใต้หัวข้อ ภาพรวมของการเชื่อมต่ออุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ ผ่านอินเตอร์เน็ต (IOT) ในภูมิภาคและกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย นำโดย ซันดาร์ ไอเยอร์ หัวหน้าการวางกลยุทธ์จากบริษัท Hewlett Packard Enterprise ที่รับผิดชอบดูแลด้านการเชื่อมต่ออุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ ผ่านอินเตอร์เน็ต (IOT) ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและประเทศญี่ปุ่น ผู้เข้าร่วมการอภิปรายครั้งนี้ประกอบด้วย กสท. โทรคมนาคม, เอไอเอส, Telenor Connexion และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
HPE ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนหลักของมหกรรม Asia IOT Business Platform ตั้งเป้าหมายว่าจะให้การช่วยเหลือผู้ทดลองใช้การเชื่อมต่ออุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ ผ่านอินเตอร์เน็ต (IOT) ให้สามารถรับมือกับความท้าทายในการดำเนินธุรกิจรวมถึงเทคโนโลยีและการบริหารจัดการข้อมูลได้เป็นอย่างดี
HPEนำเสนอวิธีการที่สามารถเชื่อมต่อข้อมูลจากเครื่องมือที่หลากหลายได้อย่างปลอดภัยและใช้งานได้ในรูปแบบที่เปิดกว้างมากยิ่งขึ้น
"ผู้ประกอบการและรัฐบาลล้วนต้องการคว้าโอกาสที่เกิดจากการเชื่อมต่ออุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ ผ่านอินเตอร์เน็ต (IOT) แต่ต้องเจอกับอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจ เทคโนโลยีและการจัดการอันเนื่องมาจากความซับซ้อนของการเชื่อมต่อดังกล่าว" นายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท HPE ประเทศไทยกล่าว "HPE สร้างระบบที่เอื้อต่อการพัฒนาแบบจำลองการเชื่อมต่ออุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ ผ่านอินเตอร์เน็ต (IOT) ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าสามารถเชื่อมความแตกต่างระหว่างช่องทางที่หลากหลายและสามารถให้บริการที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรและองค์กรธุรกิจ"
คาดการณ์ว่าการเชื่อมต่ออุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ ผ่านอินเตอร์เน็ต (IOT) จะเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมของทั้งโลกมากถึง 10-15 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐผ่านการพัฒนาอุปกรณ์ที่ไว้ใส่สวมใส่ รถยนต์ ระบบการรักษาความปลอดภัยในบ้านเรือน โทรศัพท์มือถือไปจนถึงเครื่องอบ นอกจากนี้ ยังมีการประเมินว่าในส่วนของลูกค้า IOT จะมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ การเติบโตส่วนใหญ่ของ IOT จะมาจากผู้ใช้งานแบบธุรกิจกับธุรกิจ (B2B) เพราะผู้ประกอบการต่างใช้งานเทคโนโลยีในการพัฒนารูปแบบการดำเนินธุรกิจ
ตลอดระยะเวลา 2 วันภายในงาน บริษัทต่างๆจากทั่วทั้งภูมิภาคจะร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการวางแผนกลยุทธ์ IOT ให้ประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเชื่อมต่ออุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ ผ่านอินเตอร์เน็ต (IOT) ในภาคอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การขนส่ง การให้บริการสุขภาพรวมถึงการธนาคารและการเงิน
นอกจากนี้ จะมีการอภิปรายเกี่ยวกับ การสร้างสรรค์ โอกาสและความท้าทายในการพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ, แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลรวมถึงการวางรากฐานสังคมดิจิทัลและการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย นายพงศกร ยุทธโกวิท ผู้อำนวยการกองโครงการฝ่ายวางแผนระบบไฟฟ้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ก็จะมาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการวางระบบไฟฟ้าของประเทศเพื่อพัฒนาการจัดการพลังงาน
การอภิปรายข้างต้นจะอยู่ในส่วนของสมาร์ทซิตี้ ซึ่งจัดโดย กสท. โทรคมนาคม ดร.ยุทธศาสตร์ นิธิไพจิตร ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายเทคโนโลยีศูนย์ข้อมูล บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ให้ข้อมูลว่า กสท. โทรคมนาคมได้ตระหนักถึงประโยชน์และคุณค่าของการเชื่อมต่ออุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ ผ่านอินเตอร์เน็ต (IOT) และการพัฒนาเมืองอัจฉริยะจึงได้มีนโยบายสนับสนุนพื้นฐานทางเทคโนโลยีและการพัฒนาเครือข่ายการให้บริการภายใน`
มหกรรม Asia IoT Business Platform ซึ่งได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจากกระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศแห่งประเทศไทย ประกอบไปด้วยผู้สนับสนุนหลักอย่างบริษัทชั้นนำทางด้าน IOT อาทิ Hewlett Packard Enterprise Intel® กสท. โทรคมนาคม เอไอเอส เคทู Qlue ADLINK Blue Wireless และ Telenor Connexion พร้อมทั้งผู้เข้าร่วมงานและบริษัทคลื่นลูกใหม่ อาทิ NTT Communications Bright Box Truphone NCTU Center of Industry Accelerator and Patent Strategy (IAPS) และ DRVR.
ด้วยศักยภาพของ IOT ที่เป็นส่วนสำคัญในการดำเนินธุรกิจทั้งขนาดกลาง ขนาดย่อม ไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ทำให้ Asia IOT Business Platform ตัดสินใจบุกตลาดการเชื่อมต่ออุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ ผ่านอินเตอร์เน็ต (IOT) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และขยายการเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้กว้างยิ่งขึ้น เครื่องมือการสื่อสารและเครือข่ายได้เข้ามาเป็นส่วนที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจและชีวิตประจำวัน และกลายเป็นแรงผลักดันในการพัฒนาการเชื่อมต่ออุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ ผ่านอินเตอร์เน็ต (IOT) ในประเทศไทย