กรุงเทพฯ--30 พ.ค.--PITON Communications
การสร้างความพร้อมในการขับเคลื่อนสู่ยุคดิจิตอลทั้งเชิงเศรษฐกิจและสังคม ผูกพันกับโครงสร้างทางอินเตอร์เน็ตที่แข็งแกร่ง จะเห็นว่าภาครัฐเร่งเปิดยุทธศาสตร์ปี 2559 เคลื่อนแผนดิจิตอลเต็มสูบ เร่งจัดตั้งดาต้าเซ็นเตอร์เพื่อรองรับการเติบโตให้แก่ภาคเอกชน และเน้นประสิทธิภาพการบริการประชากร โดยมีความคาดหวังให้ทั้งรัฐและเอกชนมีการเติบโตที่รวดเร็ว ทว่ามั่นคงบนพื้นฐานของความปลอดภัย ดังนั้นลักษณะเฉพาะตัวของ IoT จึงดูจะมีความเหมาะสมลงตัวในการสนับสนุนยุทธศาสตร์ดังกล่าว จากการที่ประชากรหลากหลายระดับต่างเป็นเจ้าของอุปกรณ์สื่อสารดิจิตอล เข้าถึงผู้ใช้ประชากรในวงกว้าง โครงสร้างอินเตอร์เน็ตในประเทศโดยในเมืองใหญ่พรั่งพร้อม ทำให้ประเทศของเรามีศักยภาพก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจในอาเซียน
IoT จึงถูกหยิบยกมาใช้พัฒนาองค์กรธุรกิจอย่างต่อเนื่อง และถูกจัดอันดับ10 เทคโนโลยี IoT ที่เป็นเทรนด์สำคัญในปี 2017-2018 จากการ์ตเนอร์ ในเรื่องของการรักษาความปลอดภัยที่ต้องมีการรักษาความปลอดภัยแบบ denial-of-sleep คือ ป้องกันความปลอดภัยได้ในขณะเครื่องหยุดทำงาน สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก (Analytic) เพื่อปรับปรุงรูปแบบการทำงานของบริษัทและพัฒนาการบริการต่อลูกค้า จัดการอุปกรณ์อินเตอร์เน็ตต่างๆ เพื่อสอดส่องดูแลงานต่างๆ พร้อมอัพเดตเฟิร์มแวร์และซอฟแวร์ ให้ทำงานควบคู่ไปพร้อมกัน ทั้งยังต้องเลือกระบบเครือข่ายให้เข้ากับอุปกรณ์ IoT มากที่สุด หรือปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้งานเพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการ มีหน่วยประมวลผลสร้างตัวชี้วัดความสามารถของอุปกรณ์ เช่น การสร้างรหัส วัดระดับการใช้พลังงาน รวมไปถึงการรองรับระบบปฏิบัติการหรืออุปกรณ์หรือซอฟแวร์ใหม่ๆ หรือแม้แต่สร้างแอพพลิเคชั่นสำหรับการใช้งานด้วย
การเลือกนำ IoT มาพัฒนาธุรกิจ โดยเน้นการทำธุรกิจที่ Outcome หรือตัวผลลัพธ์มากกว่าผลผลิต เนื่องจากการผลิตสินค้าสามารถทำได้ในราคาและคุณภาพใกล้เคียงกัน ผลผลิตจึงออกมามีลักษณะใกล้กัน ผู้บริโภคหรือผู้ใช้งานก็จะมีทางเลือกมากขึ้นตามไปด้วย ธุรกิจต่างๆจึงต้องปรับตัวเพื่อให้เกิดความประทับใจต่อผู้บริโภคในระยะยาวด้วยบริการที่ทันสมัย กลายเป็นธุรกิจที่มีชื่อว่า Outcome Economy คือธุรกิจที่เน้นผลลัพธ์ ทั้งการติดตามงาน ติดตามวิธีการใช้งาน รวมไปถึงจัดการให้งานเป็นไปตามระบบที่วางไว้ IoT จึงเป็นเสมือนฟันเฟืองสำคัญที่เข้ามาขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตอย่างก้าวกระโดดได้
ตัวอย่างที่ดี ได้แก่ การรักษาฐานลูกค้า บริษัทไม่ว่าจะอยู่ในอุตสาหกรรมใดก็ตาม ล้วนมีเป้าหมายเดียวกัน สร้างความพึงพอใจเหนือคู่แข่ง และสร้างความน่าเชื่อถือของผลิตภัณฑ์และบริการ ซึ่งนอกเหนือจากการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีองค์กรด้วยการประชาสัมพันธ์แล้ว อีกช่องทางหนึ่งที่มาแรงและได้ผลดี คือ IoT ที่มีการจัดการอย่างชาญฉลาดที่ทำให้ลูกค้ามีช่องทางเข้าถึงได้ง่ายยิ่งขึ้น
เมื่อองค์กรสนใจที่จะนำแนวคิด IoT นี้มารองรับการดำเนินงานอย่างจริงจัง ต้องหันมาพิจารณาหรือคำนึงถึงความท้าทายบางประการ ได้แก่ ต้องมีศักยภาพในการต่อเชื่อมกับแพลตฟอร์ม (Platform) ที่แตกต่างหลากหลาย เพื่อให้รองรับรูปแบบและอุปกรณ์การใช้งานของกลุ่มผู้คนที่แตกต่างกัน การเชื่อมต่อ (Connectivity) ที่แข็งแกร่งเพื่อสื่อสารสะดวกและรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะแบบไร้สาย ที่ต้องไม่มีอุปสรรคในการสื่อสาร และการเข้าถึงข้อมูลทางธุรกิจ โมเดลธุรกิจ (Business Model) ในรูปแบบที่เหมาะสำหรับธุรกิจในยุคดิจิตอล สามารถรุกตลาดซื้อขายสินค้าออนไลน์ E-Commerce ทำให้เกิดการซื้อง่าย-ขายคล่อง ธุรกิจก็เติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง และ ที่สำคัญคือ แอพพลิเคชั่นที่โดดเด่น น่าใช้ น่าสนใจ ดึงดูดการใช้งาน เรียกได้ว่าเป็นที่สุดของการใช้งาน (Killer Applications) สามารถตอบสนองทุกความต้องการขององค์กร เป็นเสมือนดั่งหัวใจของการทำงาน การเลือกแอพพลิเคชั่นนี้ก็ถือเป็นความท้าทายที่น่าสนใจสำหรับ IoT เลยทีเดียว
Internet of thing จึงไม่ใช่แค่เทรนด์ที่เข้ามามีบทบาทเพียงชั่วครั้งคราว แต่กลับเข้ามาเพิ่มขีดความสามารถให้กับเทคโนโลยีที่มีอยู่เป็นจำนวนมากให้สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง สร้างความเข้มข้นให้เกิดการแข่งขันทางการตลาดทั้งในองค์กรธุรกิจเอง การนำ IoT มาผสมผสานกับแนวคิดเชิงการบริหารจัดการองค์กรเพื่อประสิทธิภาพ อาทิ Big Data ในการจัดการและวิเคราะห์ข้อมูล ช่วยบรรเทาความท้าทายในการจัดการปัญหาการให้บริการของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจคนเข้าเมือง การอพยพเคลื่อนย้ายทางภูมิศาสตร์กายภาพของประชากร การควบคุมโรคติดต่อ เป็นต้น ด้วยการคาดการณ์ล่วงหน้าได้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อขยายภาพลงมาสู่ภาคเอกชน ซึ่งอาศัยคลาวด์เป็นเทคนิคในการสร้างความคล่องตัวในการดำเนินงาน และได้มีการลงทุนด้าน Big Data ไปบ้างแล้ว แนวคิด IoT จึงกลายมาเป็นส่วนต่อยอดสำคัญที่บริหารและสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจได้ดี ทั้งรวดเร็ว เข้าถึงง่าย สื่อสารสั้นกระชับ ขยายกลุ่มลูกค้าได้ง่าย ทั้งหมดนี้ประโยชน์ชัดเจนกว่าการทำธุรกิจรูปแบบเดิม เริ่มเห็นตัวอย่างจากหลายองค์กธุรกิจที่ตอบรับ IoT และปรับตัวนำมาใช้เป็นส่วนในการตัดสินใจดำเนินธุรกิจ ได้ปรับนโยบาย กำหนดเป้าหมายและทิศทางโดยรวม IoT เป็นส่วนหนึ่ง และไม่ลืมที่จะพัฒนาความรู้ให้กับพนักงาน สร้างนวัตกรรมสินค้าหรือบริการรูปแบบใหม่ จึงสามารถมีสินค้าหรือบริการนำเสนอลูกค้าได้มากขึ้น เมื่อมองในภาพรวมแล้ว สิ่งที่บริษัทได้รับคือศักยภาพในการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า (Customer Experience) ผ่านสินค้า และบริการที่ประทับใจ รวดเร็ว ตรงตามความต้องการ ให้ความเป็นส่วนตัว ตอบสนองความสนใจเฉพาะบุคคล ทั้งหมดนี้ ด้วย IoT ที่เชื่อมโยงผ่านอินเตอร์เน็ต บริษัทธุรกิจจึงมอง IoT บน Cloud Platform เป็นการลงทุนที่กระชับ ลดค่าใช้จ่ายต่อเนื่องระยะยาว สามารถควบคุมคาดการณ์ได้ แต่ขยายผลได้แทบจะไร้ขีดจำกัด
เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่ายุคดิจิตอลที่เรากำลังยืนอยู่นี้ ถูกสร้างขึ้นและพัฒนาไปพร้อมๆกับกลไกทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป จนสามารถอนุมานได้ว่าทุกพื้นที่เต็มไปด้วย IoT ไม่ว่าจะทำกิจกรรมอะไร ตามแต่ IoT ก็อยู่รอบตัวเรา กลยุทธ์เล็กๆที่จะทำให้ธุรกิจของคุณเติบโตได้ดี ต้องเริ่มจากการสนับสนุนบริษัทด้วย IoT และเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบแพลตฟอร์มต่างๆที่จะเกิดขึ้นในอนาคต สร้างเครือข่ายออนไลน์ให้เป็นระบบ จับความคิดมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลออกมาเป็นงาน สานต่อธุรกิจตามแนว Outcome และพร้อมเป็นผู้นำการป้องกันความปลอดภัยที่ดี สิ่งเหล่านี้นับว่า IoT 360° ช่วยงานธุรกิจได้มากมายจริงๆ