นโยบายผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์

ข่าวทั่วไป Thursday May 25, 2000 16:56 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--25 พ.ค.--พรรคประชาธิปัตย์
นโยบาย
ผู้สมัคร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
พรรคประชาธิปัตย์
ทำกรุงเทพของเราให้เป็น
เมืองน่าอยู่ แบบ 5 ส.
และพัฒนาอย่างยั่งยืน แบบ 5 พ.
นโยบาย : การทำเมือง 5 ส. เพื่อกรุงเทพของเรา
พรรคประชาธิปัตย์มีความมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหากรุงเทพมหานครให้ถูกวิธีอย่างแท้จริงตามแนวทาง "เมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน" กระผม นายธวัชชัย สัจจกุล ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครของพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะผู้มีประสบการณ์ด้านวิศวกรรม การบริหารเชิงธุรกิจ มีสาธารณกิจด้านการกีฬาและศิลปบันเทิง และความมั่นใจที่จะนำเสนอนโยบาย ในการบริหารและแก้ไขปัญหากรุงเทพของเรา ดังจะขอกราบเรียนต่อไป คือ
1 เมืองสะดวก
ทำให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองสะดวก เดินทางคล่องตัว ระบบขนส่งมวลชนได้รับการเชื่อมต่อชานเมือง รณรงค์จอดรถบ้านโดยสารรถร่วมควบคู่จอดแล้วจร เพื่อลดจำนวนรถยนต์ในท้องถนน ป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอย่างเป็นระบบ บริหารผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครที่มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับการกระจายความเจริญออกสู่ชานเมืองที่เรียกว่า "เมืองบริวาร"
(1.1)โครงการแก้ไขปัญหาการจราจร
(1.1.1 ) จัดระบบบริหารการจราจร
- จัดระบบและพัฒนาโครงข่ายถนนเชื่อมโยง อุโมงค์ทางแยก ทางกลับรถ แก้ไขถนนคอขวด
- จัดระบบการเดินรถแบบ " ชิดซ้ายเพื่อเลี้ยวขวาและกลับรถ " ในถนนสายหลักและถนนสายรอง
- จัดโครงการจอดรถบ้านโดยสารรถร่วม ควบคู่โครงการจอดแล้วจร ( Park & Ride )
- เสริมงบประมาณโครงการทางลัดเชื่อมทะลุ ถนน ตรอก ซอย
- พัฒนาบริเวณสถานีขนส่งมวลชนร่วม
- ศูนย์อำนวยการร่วมหน่วยงานสาธารณูปโภคที่เกี่ยวข้องการขุดเจาะรื้อย้าย เพื่อแก้ปัญหาจราจร
(1.1.2) ระบบขนส่งมวลชน
ก. รถ ขสมก.
- เสนอให้ปรับปรุงระบบการเดินรถโดยสารประจำทางให้ชาว กทม. ที่ใช้บริการสะดวกกว่าเดิม โดยการปรับเส้นทางเดินรถออกเป็นสายหลักและสายรอง เพื่อเพิ่มปริมาณรถโดยสารในแต่ละเส้นทาง และลดเวลาในการเดินทาง
ข. รถไฟฟ้ากรุงเทพมหานคร
- เชื่อมต่อเส้นทางในถนนวิภาวดีรังสิตจนถึงย่านรังสิต (บริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
- เชื่อมต่อเส้นทางในถนนพหลโยธินผ่านสามแยกเกษตร-สะพานใหม่ - โรงพยาบาลภูมิพล - อนุสาวรีย์อนุสรณ์สถาน - เชื่อมวิภาวดี รังสิต
- เชื่อมต่อเส้นทางจากอ่อนนุชถึงสมุทรปราการ
- เชื่อมต่อเส้นทางจากสะพานสาทรถึงถนนตากสิน
- ตรงไปถนนเพชรเกษมผ่านบางแคถึงหนองแขม
- ถนนรัชดาภิเษก - แยกท่าพระ - ถนนจรัญสนิทวงศ์
- สะพานพระราม 7
- เลี้ยวซ้ายผ่านดาวคนอง - ราษฎร์บูรณะ - สุขสวัสดิ์
- พระประแดง - สะพานแขวน (พระราม 9) - ถนนนราธิวาสราชนครินทร์
(1.1.3 ) การจราจรทางเลือก
- เพิ่มเส้นทางการเดินเรือในคลองที่มีความสะดวก ปลอดภัย และเหมาะสม
- ปรับปรุงระบบการเดินเรือ สภาพคลอง และท่าเรือให้ทันสมัย ปลอดภัย
1.2 เมืองบริวาร
(1.2.1) ผังเมืองรวม กทม.
- บริหารผังเมืองรวม และการใช้ที่ดิน อย่างมีประสิทธิภาพ
- พัฒนาระบบเมืองหลายศูนย์กลาง
- พัฒนาย่านชานเมืองให้เป็นแหล่งงานใกล้ที่อยู่อาศัย ได้แก่ หลักสี่ , ดอนเมือง , บางเขน , สายไหม , มีนบุรี, หนองจอก , ลาดกระบัง , ประเวศ , บางนา , ทุ่งครุ, บางขุนเทียน , บางบอน , หนองแขม , ตลิ่งชัน
(1.2.2) การจัดรูปที่ดิน
- พัฒนาแหล่งเสื่อมโทรม ที่ดินว่างเปล่า และที่ดินของกรุงเทพมหานครเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยให้กับประชาชนใน ชุมชนแออัด
- เพิ่มพื้นที่สวนสาธารณะและสวนหย่อม
1.3 การป้องกัน แก้ไขน้ำท่วม
(1.3.1) เขื่อนริมแม่น้ำเจ้าพระยา
- สนับสนุนการสร้างแนวเขื่อนป้องกันน้ำท่วมตามแผนแม่บทให้สมบูรณ์
(1.3.2) สานต่อโครงการแก้มลิงตามแนวพระราชดำริ
(1.3.3) ขุดลอกคูคลองเส้นทางระบายน้ำต่างๆ
(1.3.4) ขยายขนาดท่อระบายน้ำในพื้นที่ชั้นในที่มีปัญหาอย่างเป็นระบบ
(1.3.5) เตรียมพร้อมรับมือ
- ด้านเหนือกรุงเทพมหานคร เตรียมพร้อมบริเวณประตูระบายน้ำจุฬาลงกรณ์ แม้เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์จะรับน้ำเหนือไว้ส่วนหนึ่ง แต่ฝนที่ตกใต้เขื่อนยังคงลงสู่ที่ลุ่ม กทม.
- การผันน้ำทางทิศตะวันออก กทม. ที่มาจากอำเภอ บางน้ำเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา ลงสู่คลองพระองค์เจ้าไชยา นุชิต ให้สอดคล้องกับการระบายน้ำของสนามบินหนองงูเห่า
2. เมืองสะอาด
ทำกรุงเทพมหานครให้สะอาดอย่างมีคุณภาพ ถูกสุขลักษณะการจัดเก็บขยะมูลฝอยทั่วไปที่มีวันละเกือบ 9,000 ตัน โดยจัดทำแผนที่เดินรถขยะที่ครอบคลุมถนน ตรอก ซอย และไม่เป็นปัญหาจราจร จัดทำตารางเวลาจัดเก็บขยะแบบชุมชนมีส่วนร่วม ทำระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนเพื่อเสริมระบบบำบัดน้ำเสียกรุงเทพมหานคร
(2.1) ปัญหาขยะมูลฝอย
- จัดทำแผนที่เดินรถขยะที่ครอบคลุม ถนน ตรอก ซอย และไม่เป็นปัญหาจราจร
- จัดทำตารางเวลาจัดเก็บขยะแบบชุมชนมีส่วนร่วมให้ทั่วพื้นที่
- ตั้งตู้คอนเทนเนอร์พักขยะตามตลาดสดเพื่อสะดวกขนย้าย
- บริการรถเข็นขยะให้ทั่วถึงตามชุมชนแออัด รวมทั้งเรือเก็บขยะในคลอง
- โครงการซาเล้งสะอาดซอย
- สร้างเตาเผาขยะชานเมือง ทดแทนการฝังกลบ
- สนับสนุนกลุ่มประชาสังคมมีส่วนร่วมวินัยเมืองสะอาด
- สนับสนุนภาคเอกชนมีส่วนร่วมกำจัดขยะมูลฝอย
- ดูแลสุขภาพและสวัสดิการข้าราชการและลูกจ้าง คนเก็บขยะและคนกวาดถนน กทม.
(2.2) ปัญหามลภาวะและน้ำเสีย
- โครงการ "ปอดสะอาดอากาศสดชื่น"
(เป็นโครงการนำพลังงาน Ethanol ซึ่งผลิตจากสินค้าเกษตรในประเทศ มาใช้ทดแทนน้ำมันดีเซลที่นำเข้า โดยประสานความร่วมมือกับ ขสมก.เป็นแห่งแรก เพื่อลดอากาศพิษแท้จริง)
- โครงการบำบัดน้ำเสียชุมชน
- โครงการสะอาดบ้านสะอ้านคลอง
- โครงการรณรงค์ตลาดอนามัย
3.เมืองสุขภาพ
ทำกรุงเทพมหานครให้เป็นเมืองแห่งสุขภาพของคนทุกระดับ มีพื้นที่เปิดโล่ง สวนสาธารณะ และสวนหย่อมเพื่อออกกำลังกายและพักผ่อน ทำโรงเรียนกีฬาเพื่อพัฒนาเยาวชนควบคู่กับลานกีฬาต้านยาเสพติด อาหารปลอดสารพิษ พัฒนาสุขภาพจิตของสมาชิกในครอบครัว ร่วมมือศาสนาพัฒนาสังคม นำโรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานครสู่ความเป็นเลิศในด้านบริการสาธารณสุข ควบคู่ความเป็นเอกในด้านวิชาการของบุคลากร ปรับปรุงศูนย์บริการสาธารณสุขในแนวทางโรงพยาบาลชุมชนเพื่อสุขภาพคนเมืองที่แท้จริง
(3.1)โรงพยาบาลและศูนย์สาธารณสุข
- นำโรงพยาบาล กทม. สู่ความเป็นเลิศบริการสาธารณสุข
- พัฒนาคุณภาพวิชาการบุคลากร
- ยกระดับศูนย์บริการสาธารณสุขที่เหมาะสมให้เป็นโรงพยาบาลชุมชน
- ศูนย์บริการสาธารณสุขแนวใหม่ "คลีนิคคุณหมอ กทม."
- พัฒนาระบบส่งต่อคนไข้จากศูนย์บริการสาธารณสุขสู่โรงพยาบาล กทม.
- ศูนย์ระบบข้อมูลข่าวสารทางไกลสาธารณสุข
- สนับสนุนกิจการอาสาสมัครช่วยงานสาธารณสุข
(3.2) พื้นที่เปิดโล่ง
- ขยายพื้นที่สวนสาธารณะ , สวนสุขภาพ และสวนหย่อม
- สนามกีฬามาตรฐาน
(3.3) โรงเรียนกีฬา
- โครงการโรงเรียนกีฬา กทม. โดยขยายเพิ่มเติมในเขตบางบอน
- พัฒนาระบบการศึกษากีฬาวิชาชีพ
- ส่งเสริมการฝึกอบรมกีฬาขั้นพื้นฐานเพื่อสุขภาพ
(3.4) ต้านยาเสพติด
- พื้นที่สีขาว
- เครือข่ายเฝ้าระวังภัยยาเสพติด
- ศูนย์บำบัดผู้ติดยาเสพติด
- พัฒนาและขยายเครือข่ายลานกีฬาต้านยาเสพติด
(3.5) อาหารปลอดสารพิษ
- กำหนดมาตรฐานอาหารสดและอาหารสำเร็จรูป
- ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและประกาศแหล่งอาหารสะอาดและตลาดอนามัย
(3.6) สุขภาพจิตครอบครัว
- ใส่ใจสุขภาพจิตควบคู่การพัฒนาสถาบันครอบครัวทั้งผู้สูงอายุและเด็ก
- จัดศูนย์เยาวชนเป็นที่พบปะออกกำลังกาย
- ส่งเสริมเครือข่ายชมรมกายบริหาร
- คลีนิคคลายเครียด เพื่อให้คำปรึกษา
(3.7) ร่วมมือกับศาสนาพัฒนาสังคม
- ร่วมมือกับศาสนสถานปรับปรุงภูมิทัศน์ให้สวยงาม
- ตั้งศูนย์กิจกรรมประชาคมโดยร่วมมือกับวัด มัสยิด โบสถ์คริสต์ ศาลเจ้าและอื่นๆ
4. เมืองสวยงาม " เมืองแห่งตะวันออก - บางกอกของเรา "
ทำให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่สวยงามตามสีสรรของพรรณไม้ งามสง่าและหลากหลายด้วยเฟอร์นิเจอร์ประดับถนนหนทางที่สะท้อนความเป็นไทย ฟื้นฟูบูรณะบรรยากาศแห่งการท่องเที่ยว อนุรักษ์ละแวกบ้านย่านที่อยู่ ริมถนนหนทาง ริมน้ำชายคลองเพื่อคงไว้ซึ่งวัฒนธรรมชาวบางกอก เพื่อความน่าอยู่สำหรับทุกคนอย่างภาคภูมิใจ และทำให้กรุงเทพมหานครเป็น " เมืองแห่งตะวันออก - บางกอกของเรา "
(4.1)ฟื้นฟูบูรณะเมือง
- อนุรักษ์เขตเมืองเก่า พื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ โบราณสถาน แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ ถนนและคูคลอง
- อนุรักษ์ถนนประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ เช่น ถนนลาดหญ้า, ถนนตากสิน , ถนนท่าดินแดง - สามสบ เป็นต้น
- อนุรักษ์ละแวกบ้านย่านที่อยู่
- ย่านคนจีนเยาวราช
- ย่านบางลำพู , ถนนข้าวสาร
- ย่านชาวมอญบางกระดี่
- อนุสาวรีย์ประวัติศาสตร์และบุคคลดีเด่น
(4.2) พิพิธภัณฑ์เมือง หอศิลป์ร่วมสมัย และโรงละครเมือง
- จัดตั้งสถาบันกลางเพื่อทำพิพิธภัณฑ์เมืองในสี่ด้าน คือ
- พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์
- พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
- พิพิธภัณฑ์เด็ก
- พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
- หอศิลป์ร่วมสมัย
- โรงละครเมือง
(4.3) เมืองในสวน
- เพิ่มสวนสาธารณะและสวนหย่อม
- สวนดนตรี
- ปรับปรุงภูมิทัศน์มุมเมือง
- รูปปั้นอิริยาบถเมือง (แม่ลูกยืนรอรถเมล์ , คนขายลอตเตอรี่ , ชีวิตคนชุมชนแออัด , เด็กขายพวงมาลัย , คนขอทาน , คนเดินลุยน้ำท่วม)
(4.4) ถนนสวยงาม
- ประดับถนนให้สวยงามตามสีสรรของพรรณไม้
- ทำถนนร่มรื่นชื่นใจ มีม้านั่งริมทาง
(4.5) ทางเดินริมน้ำ
- ทำทางเดินริมน้ำในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ ร่มรื่นสวยงามตามสีสรรของพรรณไม้
- พัฒนาพื้นที่ริมน้ำชายคลองเป็นแหล่งท่องเที่ยว
(4.6) เดินเรือในคลองท่องเที่ยว
- เดินเรือในคลองท่องเที่ยวพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์
- คลองทวีวัฒนา (ชมความงามถนนอักษะและพุทธมณฑล)
- คลองประวัติศาสตร์ (ชมธรรมชาติและป่าชายเลน - คลองดาวคะนอง - คลองสนามชัย - คลองพิทยาลงกรณ์ - ป้อมพระจุล - แม่น้ำเจ้าพระยา )
(4.7) ตลาดน้ำบางกอก
- ตลาดน้ำวัดไทร (คลองสนามชัย)
- ตลาดน้ำตลิ่งชัน (คลองชักพระ)
(4.8) คืนชีวิตน้ำ
- แข่งเรือเพื่อบางกอก
- เรือยาวประเพณีในแม่น้ำเจ้าพระยา
5. เมืองสุจริต
ผลักดันกลไกการบริหารต่างๆให้มีความโปร่งใส ใช้หลักธรรมาภิบาล (Good Governance) โดยยึดแนวทางการปฏิรูปการเมืองแบบประชาชนมีส่วนร่วมเป็นหลัก ประชาชนคือหุ้นส่วนใหม่ในการพัฒนาเมือง
(5.1) องค์กรตรวจสอบระดับ กทม.
- เครือข่ายประชาชนมีส่วนร่วมประชาพิจารณ์ในโครงการสำคัญหรือที่มีผลกระทบต่อประชาชน
- ระบบงบประมาณโปร่งใส เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมเสนอแนะและตรวจสอบงบประมาณและการจ่ายเงิน
(5.2) การคุ้มครองผู้บริโภค
- คุ้มครองประโยชน์สุจริตของผู้บริโภคที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่กรุงเทพมหานคร
(5.3) การให้ความรู้แก่ประชาชน
- ส่งเสริมประชาชนมีส่วนร่วมการปฎิรูปการเมือง
- สิทธิประโยชน์ประชาชนตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่น
- โครงการ " กทม. รู้อะไร ประชาชนก็รู้เช่นนั้น"
(5.4) ประชาชนคือหุ้นส่วนใหม่ในการพัฒนาเมือง
- รวมกลุ่มคนเพื่อพัฒนากรุงเทพฯ
- สนับสนุนบทบาทกลุ่มสตรี
- สนับสนุนบทบาทกรรมการหมู่บ้านจัดสรร
- พัฒนากลุ่มเครือข่ายกรรมการประจำถนน
นโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืน 5 ประการ
เพื่อเสริมความสมบูรณ์กรุงเทพของเราตามนโยบายการทำเมือง 5 ส. กระผมในฐานะผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพรรคประชาธิปัตย์ จึงมีนโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืนอีก 5 ประการ คือ
1. พัฒนาการศึกษาเชิงรุก
1.1 ยกระดับคุณภาพโรงเรียน กทม. ให้เท่าเทียมกัน
1.2 พัฒนาโรงเรียน กทม. เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้
1.3 ทำโครงการคูปองการศึกษาเพื่อขยายโอกาสและทางเลือก
1.4 พัฒนาห้องสมุดโรงเรียน กทม. และห้องสมุดชุมชน
1.5 ขยายศูนย์เด็กก่อนวัยเรียนให้กระจายทั่วถึง
1.6 ส่งเสริมการศึกษานอกโรงเรียน
1.7 พร้อมรับผิดชอบการศึกษาระดับสูงเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม
1.8 ส่งเสริมวิชาชีพและสวัสดิการข้าราชการครู กทม.
2. พัฒนาระบบบริหารและบริการสาธารณะ
2.1 จัดระบบทางด่วนข้อมูลการบริหาร กทม. เพื่อแก้ปัญหาฉับไว ตัดสินใจแม่นยำ
2.2 นำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้บริการประชาชน
2.3 กระจายงานบริการประชาชนให้กับสำนักงานเขต
2.4 โครงการศูนย์บริการร่วมทุกสำนักงานเขต(One Stop Service)
2.5 โครงการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศ
2.5.1 "เลขที่บ้านไม่ซ้ำซ้อน"
2.5.2 "ป้ายชื่อถนน ตรอก ซอย หาง่าย "
2.6 นำระบบจัดการแบบเอกชนมาปรับใช้กับบางหน่วยงาน กทม.
2.7 ปรับปรุงระบบการจัดเก็บภาษีเเละค่าธรรมเนียมให้มีประสิทธิภาพและเป็นธรรม
2.8 ส่งเสริมการพาณิชย์กรุงเทพมหานคร
2.9 ศูนย์บริการประชาชนทางกฎหมาย
2.10 ศูนย์ประสานแผนการกระจายอำนาจให้แก่ กทม.
(เพื่อเตรียมพร้อมภารกิจตามกฎหมายกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ)
2.11 ฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรเพื่อสร้างวิสัยทัศน์องค์กร กทม.
2.12 สร้างวิสัยทัศน์ใหม่ "ประชาชน คือ ลูกค้าคนสำคัญของระบบราชการ"
2.13 ปรับปรุงสวัสดิการข้าราชการ รวมทั้งที่อยู่อาศัย
3. พัฒนาประชาคมสมบูรณ์แบบ และส่งเสริมเศรษฐกิจ ชุมชน
3.1 โครงการพัฒนาประชาคมบ้านจัดสรร
- ส่งเสริมและพัฒนาการรวมกลุ่มประชาคมบ้านจัดสรร
- คุ้มครองสิทธิประโยชน์สมาชิกประชาคม
- ประสานแก้ปัญหาสาธารณูปโภค
3.2 โครงการชุมชนเข้มแข็ง
- สนับสนุนการจัดตั้งและพัฒนาเครือข่ายสภาชุมชน
- เป็นชุมชนที่กรุงเทพมหานครให้การรับรอง
- พัฒนาห้องสมุดชุมชน
- ลานกีฬา , ศูนย์กีฬาชุมชน
- ศูนย์ยาชุมชน
- ศูนย์ดูแลเด็กเล็ก
3.3 สหกรณ์ออมทรัพย์
3.4 ตลาดนัด 4 มุมเมือง
3.5 ส่งเสริมอาชีพ
- พัฒนาโรงเรียนฝึกอาชีพ กทม. สู่ระดับวิทยาลัย
- สนับสนุนกลุ่มสตรีอาสาวิชาชีพ
3.6 สวนสมุนไพรชุมชน
- ทำโครงการสวนสมุนไพรชุมชน นำภูมิปัญญาท้องถิ่นพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน
- อบรมความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพ
4. พัฒนาหลักประกันและสวัสดิการด้านสังคม
4.1 สร้างหลักประกันสุขภาพ สวัสดิการเพื่อประชาชนด้านการรักษาพยาบาล
4.2 สนับสนุนโครงการเบี้ยยังชีพเพื่อผู้สูงอายุ
4.3 ศูนย์และบ้านพักผู้สูงอายุ
4.4 ศูนย์พักผู้ไร้ที่อยู่อาศัย
4.5 จัดตั้งศูนย์บริการจัดหางาน
5. พัฒนาระดับความปลอดภัยสาธารณะ
5.1 รวมศูนย์อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
5.2 ศูนย์บริการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน
5.3 เครือข่ายชุมชนอาสา
5.4 ขยายบริการดับเพลิงให้ทั่วถึงเพื่อบริการที่มีประสิทธิภาพ
นโยบายการทำกรุงเทพของเราให้เป็นเมืองน่าอยู่ อย่างยั่งยืนนี้ จะเป็นการสร้างคุณภาพเมืองเพื่อคุณภาพชีวิตที่แท้จริง กระผมจึงขอโอกาสจากพ่อแม่พี่น้องประชาชน ชาวกรุงเทพมหานคร ช่วยกันไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยพร้อมเพรียง และขอได้โปรดให้ความไว้วางใจในนโยบาย และให้โอกาสแก่กระผมทำงานในฐานะผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในวันอาทิตย์ที่ 23 กรกฎาคม 2543 นี้ด้วย
ขอแสดงความนับถือ
นายธวัชชัย สัจจกุล ( บิ๊กหอย )
ผู้สมัคร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
พรรคประชาธิปัตย์--จบ--
-อน-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ