กรุงเทพฯ--9 มิ.ย.--อาซิแอม เบอร์สัน-มาร์สเตลเลอร์
ระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง หรือ 'การเรียนรู้ด้วยเครื่องจักร' เป็น 1 ใน 26 การพัฒนาที่สำคัญในรายงานการศึกษาแนวโน้ม
ลอจิสติกส์ ปี 2559
รายงานฉบับล่าสุดเผยการวิเคราะห์เชิงลึกเกี่ยวกับแนวโน้มทางสังคม ธุรกิจและเทคโนโลยี ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในธุรกิจ
ด้านลอจิสติกส์
เป็นรายงานที่ผู้เชี่ยวชาญด้านลอจิสติกส์ควรศึกษา เพื่อเข้าใจถึงอุตสาหกรรมลอจิสติกส์ในอนาคต
ดีเอชแอล ผู้ให้บริการลอจิสติกส์ชั้นนำของโลก ได้จัดพิมพ์รายงานการศึกษาแนวโน้มลอจิสติกส์ (Logistics Trend Radar) ฉบับที่ 3 ประจำปี 2559 ซึ่งประกอบด้วยสาระสำคัญ ๆ คือ 26 เทรนด์ใหม่ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมลอจิสติกส์ใน 5 - 10 ปีข้างหน้า โดยมีการติดตามและตรวจสอบพัฒนาการของแต่ละเทรนด์ ทั้งแบบพ้นกระแสไปแล้ว และสามารถเห็นได้อย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น นับตั้งแต่มีการเรียบเรียงขึ้นเป็นครั้งแรกในปีพ.ศ. 2556
มาร์คุส คุคเคลเฮ้าส์ รองประธานฝ่าย Innovation and Trend Research กล่าวว่า "การคาดการณ์แนวโน้มหรือกระแสต่าง ๆ มีความท้าทายเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นเรื่องของอนาคตและยากที่จะคาดการณ์ได้ว่าเทรนด์ไหนจะส่งผลระยะยาวให้กับธุรกิจต่าง ๆ หรืออันไหนที่ส่งผลกระทบแค่ชั่วระยะหนึ่งเท่านั้น ด้วยความต้องการที่จะระบุและเข้าใจเทรนด์ต่างๆล่วงหน้าแต่เนิ่นๆ เราจึงได้เรียบเรียงรายงานการศึกษาเทรนด์ลอจิสติกส์ ปี 2559 ขึ้นมาใหม่ เพื่อช่วยให้เราและลูกค้าของเรา คาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาตคได้"
รายงานการศึกษาเทรนด์ลอจิสติกส์ ปี 2559 มีการนำเสนอแง่มุมที่สำคัญต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงและเทรนด์ใหม่ล่าสุดที่กำลังเกิดขึ้นที่มีอิทธิพลต่อโครงสร้างของลอจิสติกส์ในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นเทรนด์ขนาดใหญ่ต่าง ๆ อาทิ รูปแบบของพลังงานที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป และภูมิทัศน์ทางการค้า ไปจนถึงเทรนด์ขนาดย่อม อาทิ องค์กรสตาร์ทอัพด้านลอจิสติกส์ที่แยกตัวเป็นเอกเทศจากธุรกิจด้านลอจิสติกส์ นอกจากนี้ยังได้เปิดเผยข้อมูลเชิงรุกว่าภาคธุรกิจใด ที่จะได้รับผลจากการพัฒนาและกรอบของเวลาต่าง ๆ ของผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น หรือเป็นการเริ่มต้นในช่วงทศวรรษหน้านี้
ปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ (Artificial Intelligent) และระบบความเป็นส่วนตัว (Personalization) ที่เป็นกระบวนการนำเสนอเนื้อหาหรือบริการและสินค้า โดยพิจารณาจากลักษณะพฤติกรรมของผู้ใช้บริการ ล้วนเป็นปัจจัยที่อยู่เบื้องหลังเทรนด์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้มากที่สุดในรายงานประจำปี 2559 นี้ รวมทั้งซัพพลายเชนที่มีความฉลาดที่นำการเรียนรู้ด้วยตนเอง หรือระบบ 'การเรียนรู้ด้วยเครื่องจักร' มาใช้ประโยชน์ ทั้งนี้ ผลกระทบของซัพพลายเชนที่ถูกผลักดันด้วยข้อมูลต่างๆ และด้วยความคิดตนเอง ได้เปิดโอกาสให้มีการเสริมสร้างประสิทธิภาพในระดับดีเยี่ยมต่อด้านการผลิต ลอจิสติกส์ กิจการคลังสินค้า การนำส่งระยะสุดท้าย ที่สามารถกลายเป็นจริงขึ้นมาได้ ด้วยเวลาไม่ถึง 5 ปี แม้ต้นทุนจากการติดตั้งเครื่องจักรใหม่นั้นราคาสูงจะเป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจลอจิสติกส์ในยุคเริ่มต้น
พฤติกรรมผู้บริโภคที่กำลังเปลี่ยนไป และความปรารถนาในระบบความเป็นส่วนตัว (Personalization) ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้เกิดเทรนด์ใหม่ 2 ประการ ได้แก่ การแบ่งย่อยส่วนการผลิต 'Batch Size One' และการขนส่งตามความประสงค์ 'On-demand Delivery' ที่สร้างผลกระทบอย่างหนักต่อลอจิสติกส์ ทั้งนี้ การขนส่งตามความประสงค์จะช่วยให้ลูกค้าสามารถระบุเวลาและสถานที่ที่พวกเขาต้องการแก่แผนกบริการขนส่งพัสดุที่มีความคล่องตัวมากขึ้น ส่วน Batch Size One จะเป็นการวิเคราะห์ในกรณีที่ลูกค้าต้องการสินค้าที่ผลิตขึ้นเพื่อสอดคล้องกับความพึงพอใจของลูกค้า เพื่อแข่งขันต่อรูปแบบการผลิตเป็นจำนวนมากในอีก 20 ปีข้างหน้า การแบ่งย่อยส่วนการผลิตจะนำไปสู่การผลิตแบบกระจาย และมีผลต่อระบบซัพพลายเชนที่กำลังเปลี่ยงแปลงไปอย่างรวดเร็ว ที่ล้วนต้องการผู้ให้บริการด้านลอจิสติกส์ทำงานอย่างคล่องแคล่วและรวดเร็ว และสามารถรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นต่อเวลาและสถานที่ในการผลิตให้ได้
มร. แมทเธียส เฮาท์เกอร์ รองประธานอาวุโสด้าน Strategy, Marketing & Innovation ของดีเอชแอล กล่าวว่า "แนวโน้มที่สำคัญในรายงานการศึกษาเทรนด์ลอจิสติกส์ ปี 2559 สามารถเปลี่ยนแปลงสภาพของอุตสาหกรรมลอจิสติกส์ของโลกได้ ด้วยเทรนด์เพียง 15 จาก 26 ประการ ก็สามารถสร้างผลกระทบต่าง ๆ ได้ภายใน 5 ปี จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ธุรกิจด้านการจัดการซัพพลายเชน และลอจิสติกส์ควรทำความเข้าใจต่อการพัฒนาที่อาจเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจ หรือภาคธุรกิจดังกล่าวเสียก่อน"
รายงานการศึกษาเทรนด์ลอจิสติกส์ ปี 2559 นับเป็นเครื่องมือที่มีความยืดหยุ่นสำหรับการวางแผนโครงการในอนาคต การพัฒนากลยุทธ์ และนวัตกรรมสำหรับผู้ประกอบอาชีพด้านลอจิสติกส์ รายงานของปีนี้ที่จัดทำโดย การศึกษาเทรนด์ลอจิสติกส์ของดีเอชแอล ได้รวมถึงการวิเคราะห์เชิงลึกเกี่ยวกับเทรนด์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น และผลกระทบระหว่างภาคธุรกิจต่างๆ รวมถึงการแจกแจงให้เห็นถึงเทรนด์ที่กำลังเกิดขึ้น แง่คิดต่างๆ จากผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจ เช่น ธนาคารโลก สถาบัน Fraunhofer บริษัท HP และ 500 Startups เกี่ยวกับอนาคตของอุตสาหกรรมลอจิสติกส์
รายงานนี้ยังกล่าวเน้นถึงโครงการนำร่องที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้จากการศึกษาเทรนด์ของดีเอชแอล อาทิ การทดสอบของดีเอชแอล เกี่ยวกับการนำหุ่นยนต์มาทำงานร่วมกันในการปฏิบัติงานในกิจการคลังสินค้า
เทรนด์ทั้งหมดได้รับการวิเคราะห์ลึกลงไปในรายละเอียด ซึ่งรวมถึงโอกาสต่าง ๆ อุปสรรค และองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่นำไปปฏิบัติ กรอบของเวลาในรายงาน ที่สามารถดาวน์โหลดได้ในwww.dhl.com/trendradar