กรุงเทพฯ--1 ก.ย.--ม.เกษตรศาสตร์
จากปัญหาของผลมะนาวที่มีปริมาณน้อยในช่วงฤดูแล้งและมีผลผลิตมากในฤดูฝนจนเกินความต้องการนั้น เหตุการณ์ดังกล่าว ได้เกิดขึ้นต่อเนื่อง มาเป็นเวลานับสิบปี ปัญหาดังกล่าวได้มีงานวิจัย ถึงสาเหตุและแนวทางในการแก้ไข ไปในระดับหนึ่ง แต่มิได้มีการนำมาประมวล ร่วมกัน การแก้ปัญหาของผลผลิต มะนาวนั้น จำเป็นที่จะต้องกระทำอย่างเป็นระบบ โดยมิอาจละทิ้งการปฏิบัติตามขั้นตอนใน บางสิ่งไปได้ หากได้มีการชี้แจงถึงสาเหตุ และผลในสิ่งต่างๆ เหล่านี้แล้ว ย่อมที่จะสามารถแก้ไขปัญหา ดังกล่าวนี้ให้ลุล่วงไปได้ แนวทางที่จะมีโอกาสเป็นไปได้ ในกรณีนี้จำเป็นต้องอาศัยหลักการอธิบาย โดยผ่านกระบวนการฝึกอบรม เพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยี พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ซักถามถึงขั้นตอน การปฏิบัติแล้วก็ย่อมที่จะสัมฤทธิผลได้
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้เกษตรกรและผู้สนใจได้เข้าใจถึงธรรมชาติของต้นมะนาวที่มีต่อการออกดอก และ การติดผลรวมทั้งขั้นตอนต่างๆ ในการปฏิบัต ิในอันที่จะนำไปสู่ ความสำเร็จของการผลิตมะนาวนอกฤดู
2. เพื่อดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตมะนาวนอกฤดูให้แก่เกษตรกรผู้มีอาชีพโดยตรงและผู้สนใจอื่น พร้อมเอกสารคู่มือประกอบการบรรยาย
3. เพื่อให้เกษตรกรและผู้สนใจได้เข้าถึงแนวทางการปฏิบัติของการจัดการสวนมะนาวได้อย่างถูกวิธี
เนื้อหาของการฝึกอบรม
1. ความเป็นมาของฤดูกาลการผลิตมะนาว
2. คุณภาพของดอกมะนาว
3. ธรรมชาติการออกดอกของมะนาว
4. เทคนิคการผลิตมะนาวนอกฤดูแบบต่างๆ
4.1 การปลิดดอกและผลอ่อนที่ไม่ต้องการ
4.2 การยับยั้งการออกดอกของมะนาวในฤดู
4.3 การกำจัดใบ
4.4 การใช้สารเคมีบังคับ
5. การเตรียมการปลูกและการดูแลรักษา
6. การยืดอายุการเก็บรักษา
7. การสรุปการฝึกอบรม
8. การตอบปัญหาจากข้อซักถามต่างๆ
วิทยากรการฝึกอบรม
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รวี เสรฐภักดี
ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร และศูนย์วิจัยและพัฒนาไม้ผลเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วิธีการฝึกอบรม
การบรรยายพร้อมทั้งตอบข้อซักถามจนพึงพอใจ(ยังมีต่อ)
-นศ-