ตลาดรถยนต์รวม 5 เดือนทะลุแสนคัน ยอดขาย 112,903 คัน เติบโต 14.1 %

ข่าวยานยนต์ Wednesday June 13, 2001 09:54 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--13 มิ.ย.--โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย
นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ กรรมการบริหารบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานยอดจำหน่ายรถยนต์ใน 5 เดือนแรกของปี
2544 พุ่งทะลุแสนคันด้วยยอดจำหน่ายรวม 112,903 คัน เพิ่มขึ้น 14.1 % เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่แล้ว โดยการเติบโตเกิดขึ้นในทุก
ตลาด แบ่งออกเป็น ตลาดรถยนต์นั่ง 37,203 คัน เพิ่มขึ้น 11.7 % รถบรรทุกขนาด 1 ตัน 65,980 คัน เพิ่มขึ้น 19.0 % และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์
75,700 คัน เพิ่มขึ้น 15.3 %
ส่วนของยอดจำหน่ายในเดือนพฤษภาคม มีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ด้วยตัวเลขยอดขายรวม 25,958 คัน และอัตราการเจริญเติบโต
10.7 % แบ่งเป็นตัวเลขยอดจำหน่ายรถยนต์นั่ง 8,678 คัน เติบโต 15.1 % รถกระบะขนาด 1 ตัน 14,844 คัน เติบโต 9.2 % และรถยนต์เพื่อ
การพาณิชย์ 17,280 คัน เติบโต 8.5 % เมื่อเทียบกับยอดขายของช่วงเดียวกันในปีที่แล้ว
ประเด็นสำคัญ
1. จากเดือนเมษายนซึ่งมีปัจจัยเสริมจากงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ช่วยส่งผลให้ยอดขายของเดือนเมษายนเติบโตเป็น
อย่างมากถึง 21.6% (25,208 คัน ) และมีการคาดว่าเดือนพฤษภาคม จะมียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นเพราะได้มีการซื้อจำนวนมากสะสมในเดือนเมษายน
แล้ว และทะยอยส่งมอบให้กับลูกค้าในเดือนพฤษภาคม ส่งผลให้ยอดขายยังเพิ่มขึ้นไม่หยุด และยังขยายตัวเพิ่มได้อีกถึง 10.7% (25,958 คัน) เมื่อเทียบ
กับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
และเพิ่มขึ้น 2.8% เมื่อเทียบเดือนต่อเดือนในปีเดียวกัน ซึ่งแสดงถึงผลของแคมเปญส่งเสริมการขายอันเข็มข้นของค่ายรถยนต์ ที่ต้องการช่วง
ชิงตลาดความเป็นผู้นำตลาดและยังประกาศออกมาอย่างไม่หยุด เช่น แคมเปญแถมทอง ประกันภัยชั้นหนึ่ง สลากออมสินหรือ อัตราดอกเบี้ยราคาพิเศษ
เป็นต้น ทำให้สามารถคาดการณ์ยอดจำหน่ายว่ายังมีแรงหนุนให้ขยายตัวอย่างต่อเนื่องต่อไปอีก
2. ในเดือนพฤษภาคมตัวเลขการจำหน่ายรถยนต์นั่งเติบโตด้วยอัตรา 15.1% ซึ่งสูงกว่ารถกระบะที่ขยายตัวในเดือนนี้ด้วยอัตรา 9.2 % ซึ่ง
โดยปกติถือว่าเป็นอัตราที่สูงอยู่แล้วนั้น เหตุผลหลักน่าจะเป็นผลมาจากปฏิกริยาของตลาดที่ตอบรับต่อการแนะนำรถยนต์ โคโรลล่า อัลติส และรถยนต์นั่ง
รุ่นใหม่ของค่ายรถยนต์ต่างๆ ซึ่งนำเข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่องตามกันมา
3. สำหรับเดือนมิถุนายน ซึ่งจะมีบางธุรกิจหรือหน่วยงานจ่ายโบนัสกลางปี ดังนั้นก็น่าจะส่งผลบ้างสำหรับการปิดยอดขายครึ่งแรกของธุรกิจ
ยานยนต์
1) สรุปยอดการจำหน่ายรถยนต์ของเดือนพฤษภาคม 2544
1.1 ตัวเลขจำหน่ายตลาดรถยนต์รวม จำนวน 25,958 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันในปีที่แล้ว โดยมีอัตราการเจริญเติบโต
10.7 %
อันดับที่ 1 โตโยต้า 6,292 คัน เพิ่มขึ้น 2.9 % ส่วนแบ่งการตลาด 24.2%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 5,850 คัน เพิ่มขึ้น 15.0 % ส่วนแบ่งการตลาด 22.5 %
อันดับที่ 3 นิสสัน 3,569 คัน เพิ่มขึ้น 14.0 % ส่วนแบ่งการตลาด 13.7 %
1.2 ตลาดรถยนต์นั่ง จำนวน 8,678 คัน เพิ่มขึ้น 15.1 %
อันดับที่ 1 ฮอนด้า 3,063 คัน เพิ่มขึ้น 19.4 % ส่วนแบ่งการตลาด 35.3 %
อันดับที่ 2 โตโยต้า 3,059 คัน เพิ่มขึ้น 31.5 % ส่วนแบ่งการตลาด 35.3 %
อันดับที่ 3 นิสสัน 818 คัน ลดลง 24.5 % ส่วนแบ่งการตลาด 9.4 %
1.3 ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน จำนวน 14,844 คัน เพิ่มขึ้น 9.2 %
อันดับที่ 1 อีซูซุ 5,436 คัน เพิ่มขึ้น 16.9 % ส่วนแบ่งการตลาด 36.6 %
อันดับที่ 2 โตโยต้า 2,718 คัน ลดลง 20.1 % ส่วนแบ่งการตลาด 18.3 %
อันดับที่ 3 นิสสัน 2,331 คัน เพิ่มขึ้น 52.6 % ส่วนแบ่งการตลาด 15.7 %
1.4 ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ จำนวน 17,280 คัน เพิ่มขึ้น 8.5 %
อันดับที่ 1 อีซูซุ 5,847 คัน เพิ่มขึ้น 15.3 % ส่วนแบ่งการตลาด 33.8 %
อันดับที่ 2 โตโยต้า 3,233 คัน ลดลง 14.7 % ส่วนแบ่งการตลาด 18.7 %
อันดับที่ 3 นิสสัน 2,751 คัน เพิ่มขึ้น 34.3 % ส่วนแบ่งการตลาด 15.9 %
2) สรุปยอดการจำหน่ายรถยนต์ใน 5 เดือนแรกของปี 2544 (มกราคม - พฤษภาคม)
2.1 ตัวเลขจำหน่ายตลาดรถยนต์รวม จำนวน112,903 คัน เพิ่มขึ้น 14.1 %
อันดับที่ 1โตโยต้า 28,682 คัน ลดลง 1.8 % ส่วนแบ่งการตลาด 25.4 %
อันดับที่ 2 อีซูซุ 27,283 คัน เพิ่มขึ้น 29.8 % ส่วนแบ่งการตลาด 24.2 %
อันดับที่ 3 นิสสัน 14,925 คัน เพิ่มขึ้น 31.5 % ส่วนแบ่งการตลาด 13.2 %
2.2 ตลาดรถยนต์นั่ง จำนวน 37,203 คัน เพิ่มขึ้น 11.7 %
อันดับที่ 1 ฮอนด้า 13,086 คัน เพิ่มขึ้น 32.6 % ส่วนแบ่งการตลาด 35.2 %
อันดับที่ 2 โตโยต้า 11,259 คัน ลดลง 10.7 % ส่วนแบ่งการตลาด 30.3 %
อันดับที่ 3 นิสสัน 4,601 คัน ลดลง 0.6 % ส่วนแบ่งการตลาด 12.4 %
2.3 ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน จำนวน65,980 คัน เพิ่มขึ้น 19.0 %
อันดับที่ 1 อีซูซุ 25,638 คัน เพิ่มขึ้น 31.7 % ส่วนแบ่งการตลาด 38.9 %
อันดับที่ 2 โตโยต้า 15,402 คัน เพิ่มขึ้น 4.9 % ส่วนแบ่งการตลาด 23.3 %
อันดับที่ 3 นิสสัน 8,506 คัน เพิ่มขึ้น 68.5 % ส่วนแบ่งการตลาด 12.9 %
2.4 ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ จำนวน 75,700 คัน เพิ่มขึ้น 15.3 %
อันดับที่ 1 อีซูซุ 27,249 คัน เพิ่มขึ้น 30.0 % ส่วนแบ่งการตลาด 36.0 %
อันดับที่ 2 โตโยต้า 17,423 คัน เพิ่มขึ้น 4.9 % ส่วนแบ่งการตลาด 23.0 %
อันดับที่ 3 นิสสัน 10,324 คัน เพิ่มขึ้น 53.5 % ส่วนแบ่งการตลาด 13.6 %--จบ--
-อน-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ