กรุงเทพฯ--23 มิ.ย.--มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
ในการประชุมสมาชิกโครงการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์แก่เยาวชนจากทั่วโลกที่จัดขึ้นโดยองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development) หรือ OECD ที่มีสมาชิกจากทั่วโลกมาร่วมประชุม โดยประเทศมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธันยวิช วิเชียรพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและวิทยบริการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี และ ดร.ไกรยส ภัทราวาส ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ทางการศึกษา สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน เป็นตัวแทนประเทศไทยในการรายงานผลการวิจัย
โดยการประชุมเริ่มโดย Mr.Andrea Schletariat ผู้อำนวยการฝ่ายการศึกษาองค์การ OECD (ผู้เริ่มก่อตั้งโครงการทดสอบด้วยแบบทดสอบ "PISA") กล่าวถึงความเป็นมาโครงการ หลังจากนั้น Mr.Stephan VICENT-Lancrin ประธานโครงการใช้กรณีศึกษาของประเทศไทยแก่ประเทศอื่นๆ ในเรื่องของการวิเคราะห์ผลเพื่อการนำเสนอผล เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในขณะนี้ที่กระบวนการวิจัยเรื่องความคิดเสร็จสิ้นแล้ว เนื่องจากเวลาเปิด - ปิดภาคเรียน 2/2558 ก่อนประเทศอื่นๆ โดยผลที่เกิดจากการสรุปข้อมูลวิจัยของประเทศไทยที่นำเสนอ ข้อมูลในเชิงคุณภาพที่เป็นการเก็บ Feedback จากครูเกี่ยวกับการนำแบบทดสอบเสริมสร้างเครื่องมือวัดความคิดสร้างสรรค์ที่เรียกว่า Rubric มาใช้ ซึ่งคุณครูในโครงการได้นิยามถึง Rubric ใน Version ของ OECD ว่า เป็นเครื่องมือเชิงกระบวนการ ที่นำเอา หัวใจสำคัญของ ระบบการศึกษาเพื่อพัฒนากระบวนการคิดของมนุษย์ 2 สิ่งมาผสมผสานกัน นั่นคือ
การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning กับ Formative Assessment จนเกิดเป็นกระบวนการใหม่ในชั้นเรียน ที่เกื้อหนุนกันจนทำให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ Rubric ของ OECD เหนี่ยวนำพฤติกรรมการสอนของครูด้วย แบบฟอร์ม กติกา และวิธีการใช้ที่ช่วยกรอบความคิดและกระบวนการของครูให้จัดการเรียนการสอนที่ เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เน้นเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน และกิจกรรมที่ท้าทายสนุกสนานให้แก่ผู้เรียนมากขึ้นซึ่งครูคิดว่า Rubric มาพร้อมกับ "กุศโลบาย" อุปมากับ วัตถุมงคลสักชิ้นที่เจ้าของมักได้มาพร้อมวิธีสักการะบูชา ว่าจะต้องรักษาศีลมีจิตเมตตา คนที่เชื่อถือก็ทำตาม จนเหนี่ยวนำให้เจ้าของเกิดพฤติกรรมที่ดี ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณที่เป็นผลคะแนนสรุปได้ดังนี้ เรื่องความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนไทยในระดับประถมจะสูงกว่าเด็กมัธยม ความสามารถในการคิดของเด็กประถมในการสร้างผลงานศิลปะแบบ Abstract จะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วกว่าด้าน Concrete ส่วน นักเรียนมัธยมทักษะความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างผลงานด้านวิทยาศาสตร์กายภาพจะเติบโตหรือก้าวหน้าเร็วกว่าด้านชีวภาพกว่าอย่างมาก โดยภาพรวมของนักเรียนไทยสามารถคิดแบบเอนกนัย (ฟุ้ง กระจาย จากสิ่งเดียว เชื่อมโยงกับหลายๆสิ่ง) ได้ดีกว่าแบบ เอกนัย (แบบรวบยอดหลายๆสิ่งเข้าสู่ศูนย์กลาง) โดย Mr.Stephan VINCENT ประธานในการประชุมได้ใช้กรณีของประเทศไทยนำสู่การหารือเรื่อง National Report ที่ทุกๆประเทศจะทำร่วมกัน นอกจากนี้ทุกประเทศมีคมติร่วมกันว่า OECD ควรนำผลของแต่ละประเทศมารวมกันในลักษณะของ International Report และเผยแพร่ให้ทั่วโลกต่อไป