กรุงเทพฯ--23 มิ.ย.--นิด้าโพล
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง "คนไทยกับฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป ครั้งที่ 16 (บอลยูโร 2016)" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 30 พฤษภาคม – 2 มิถุนายน 2559 จากประชาชนทั่วประเทศ กระจายทุกระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,870 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการติดตามการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป ครั้งที่ 16 (บอลยูโร 2016) ทีมฟุตบอลที่ชื่นชอบ และความเชื่อมั่นต่อการควบคุมการเล่นพนันของรัฐบาล การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่าง จากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" ด้วยความน่าจะเป็นแบบเป็นระบบ (Systematic Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่า ความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่า ความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 0.9
จากผลการสำรวจ เมื่อถามประชาชนถึงการติดตามชมฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป ครั้งที่ 16 (บอลยูโร 2016) ที่จะจัดขึ้นที่ประเทศฝรั่งเศส และจะเริ่มการแข่งขันในวันที่ 10 มิถุนายน ถึงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 65.64 ระบุว่า จะไม่ติดตาม รองลงมา ร้อยละ 26.45 ระบุว่า จะติดตามเป็นครั้งคราว และร้อยละ 7.91 ระบุว่า จะติดตามสม่ำเสมอ
สำหรับทีมฟุตบอลที่ชื่นชอบมากที่สุด ในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป ครั้งที่ 16 (บอลยูโร 2016) ที่กำลังจะเริ่มขึ้น โดยในจำนวนผู้ที่ติดตามฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป ครั้งที่ 16 (บอลยูโร 2016) นั้น ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 23.73 ระบุว่า ชื่นชอบทีมชาติอังกฤษ รองลงมา ร้อยละ 15.11 ระบุว่า ชื่นชอบทีมชาติเยอรมัน ร้อยละ 9.13 ระบุว่า ชื่นชอบทีมชาติสเปน ร้อยละ 7.20 ระบุว่า ชื่นชอบทีมชาติฝรั่งเศส ร้อยละ 4.87 ระบุว่า ชื่นชอบทีมชาติอิตาลี ร้อยละ 1.12 ระบุว่า ชื่นชอบทีมชาติโปรตุเกส และร้อยละ 2.64 ระบุทีมชาติ อื่น ๆ ได้แก่ เบลเยียม, โปแลนด์, สวิตเซอร์แลนด์, สาธารณรัฐเช็ก, สโลวาเกีย, รัสเซีย, ตุรกี, โครเอเชีย, สวีเดน, ไอร์แลนด์ และไอซ์แลนด์ ขณะที่ ร้อยละ 36.20 ระบุว่าไม่มีทีมใดที่ชื่นชอบเป็นพิเศษ/เฉย ๆ
ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความเชื่อมั่นของประชาชนต่อรัฐบาลในการควบคุมไม่ให้มีการเล่นพนันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป ครั้งที่ 16 (บอลยูโร 2016) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 54.01 ระบุว่า ควบคุมไม่ได้เลย รองลงมา ร้อยละ 24.63 ระบุว่า ควบคุมไม่ค่อยได้ ร้อยละ 10.35 ระบุว่า ค่อนข้างควบคุมได้ ร้อยละ 2.16 ระบุว่า ควบคุมได้เต็มที่ และร้อยละ 8.85 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.71 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.26 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.33 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.62 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 14.08 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่าง ร้อยละ 53.07 เป็นเพศชาย ร้อยละ 46.86 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 0.07 เป็นเพศทางเลือก ตัวอย่าง ร้อยละ 7.32 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 19.65 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 23.80 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 29.93 มีอายุ 46 – 59 ปี ร้อยละ 17.18 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และร้อยละ 2.12 ไม่ระบุอายุ ตัวอย่าง ร้อยละ 93.73 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.17 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.87 นับถือศาสนาคริสต์ คริสต์/ฮินดู/ซิกข์/ยิว/ไม่นับถือศาสนาใด ๆ และร้อยละ 2.23 ไม่ระบุศาสนา
ตัวอย่างร้อยละ 20.63 สถานภาพโสด ร้อยละ 75.30 สมรสแล้ว ร้อยละ 1.70 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 2.37 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่างร้อยละ 28.15 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 29.76 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.98 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 25.89 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 5.37 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 2.85 ไม่ระบุการศึกษา
ตัวอย่างร้อยละ 12.06 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 12.82 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 23.59 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 14.01 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 15.57 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 15.85 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 2.65 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 0.07 เป็นพนักงานองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร และร้อยละ 3.38 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่างร้อยละ 16.86 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 17.18 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 27.98 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 12.30 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 7.11 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 7.18 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 11.39 ไม่ระบุรายได้