กรุงเทพฯ--23 มิ.ย.--โรงพยาบาลรามคำแหง
คุณทราบหรือไม่? ก้อนไทรอยด์มีโอกาสเป็นมะเร็งได้สูงถึง 15%จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นไทรอยด์?
ไม่มีอาการ แต่ตรวจพบโดยแพทย์ หรือพบโดยบังเอิญด้วยการทำอัลตราซาวด์, เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ ( CT –Scan ) หรือ MRI
มีอาการคอโต โดยเพื่อนหรือญาติทักหรือคลำก้อนได้เองก้อนโต กดเบียดกล่องเสียง หลอดลม หรือหลอดอาหารทำให้มีอาการ เสียงแหบ จุกแน่นคอ กลืนลำบาก
ก้อนไทรอยด์ใช่มะเร็งหรือไม่?
มีความสำคัญเพื่อแยกว่าก้อนไทรอยด์นั้นจะเป็นมะเร็งหรือไม่ โดยสามารถทำได้ตามขั้นตอนดังนี้
ตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานและการอักเสบของต่อมไทรอยด์
อัลตราซาวด์ ต่อมไทรอยด์และคอ เพื่อดูว่ามีลักษณะของก้อน ที่สงสัยว่าจะเป็นมะเร็งหรือไม่ หรือมีต่อมน้ำเหลืองโตร่วมด้วยหรือไม่
เจาะชิ้นเนื้อ จากก้อนที่โตส่งตรวจทางพยาธิวิทยา เพื่อดูลักษณะของเซลล์โดยใช้เข็มขนาดเล็ก
การรักษา ในกรณีที่ไม่สงสัยว่าเป็นมะเร็ง
ถ้าก้อนมีขนาดเล็กกว่า 3 เซนติเมตร สามารถใช้ยารักษาเพื่อกดขนาดก้อนดูก่อนได้และดูการตอบสนองในกรณีผู้ป่วยไม่มีข้อบ่งห้ามในการใช้ยา หากไม่ตอบสนองต่อยา อาจพิจารณาผ่าตัดเพื่อเอาก้อนออก
ถ้าก้อนมีขนาดมากกว่า หรือเท่ากับ 3 เซนติเมตร มักจะไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาและมักจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
สำหรับการรักษาด้วยการผ่าตัดหรือผู้ป่วยมีอาการจุกคอ เสียงแหบ กลืนลำบากเนื่องจากการกดเบียดของก้อน ต้องพิจารณาการรักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อนำต่อมไทรอยด์ออกไม่ว่าก้อนจะมีขนาดเท่าใดก็ตาม
ผ่าตัดอย่างไร?
การผ่าตัดในปัจจุบันนั้น มีหลายวิธี
การผ่าตัดที่น่าจะตอบโจทย์ผู้ป่วยมากที่สุด ทั้งในแง่ของความสวยงาม ปลอดภัย ได้มาตรฐานประประสิทธิภาพสูงคือ การผ่าตัดไทรอยด์แบบส่องกล้อง – ซ่อนแผล
ซึ่งตำแหน่งของแผล อาจจะหลบอยู่บริเวณหลังหูและซ่อนเข้าไปในไรผม เหมือนการทำการผ่าตัดดึงหน้า หรือ การผ่าตัดผ่านทางช่องปาก ซึ่งทำให้ผู้ป่วยไม่มีแผลที่คอสามารถสวมใส่เสื้อผ้าทุกประเภทได้ด้วยความมั่นใจ
อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดไทรอยด์ ด้วยวิธีส่องกล้องนี้จำเป็นต้องอาศัยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาและพิจารณาผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อประเมินลักษณะขนาดและตำแหน่งของก้อนว่า เหมาะสมสำหรับการรักษาด้วยวิธีส่องกล้องนี้หรือไม่