กรุงเทพฯ--23 มิ.ย.--สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล
กรณีศึกษาตัวอย่าง มนุษย์เงินเดือน ใน 15 จังหวัด
ดร.นพดล กรรณิกา ประธานชมรมขับเคลื่อนวิชาการเพื่อวิจัยความสุขชุมชน สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล (SUPER POLL) นำเสนอผลสำรวจเรื่อง ประเมินความสามารถในการซื้อ "สินค้าคงทน" ของประชาชนในยุครัฐบาลบิ๊กตู่ กรณีศึกษาตัวอย่าง มนุษย์เงินเดือนใน 15 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงราย เชียงใหม่ พิษณุโลก นครราชสีมา มุกดาหาร ขอนแก่น อุดรธานี ปทุมธานี ลพบุรี นครปฐม ชลบุรี นครศรีธรรมราช สงขลา และนราธิวาส จำนวนทั้งสิ้น 5,892 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการช่วงวันที่ 1 – 23 มิถุนายน 2559 ที่ผ่านมา พบว่า
ประชาชนที่ถูกศึกษาวางแผนซื้อสินค้าคงทน พร้อมราคาที่คาดว่ามีกำลังซื้อในยุครัฐบาลบิ๊กตู่ มีดังนี้ บ้านหลังใหม่ ประชาชนมีกำลังซื้อค่ากลางอยู่ที่หลังละ 929,198 บาท (เก้าแสนกว่าบาท) รถยนต์คันใหม่ ประชาชนมีกำลังซื้อค่ากลาง อยู่ที่ 820,269 บาท ทีวี ประชาชนมีกำลังซื้อค่ากลางที่ 16,027 บาท และตู้เย็น ประชาชนมีกำลังซื้อค่ากลางที่ 21,782 บาท
เมื่อจำแนกตามเพศ พบว่า ผู้ชายตั้งวงเงินค่ากลางที่มีกำลังซื้อเอาไว้สูงกว่า ผู้หญิงในการซื้อ บ้านหลังใหม่ รถยนต์คันใหม่ ทีวีเครื่องใหม่ แต่ ผู้หญิงตั้งวงเงินค่ากลางไว้สูงกว่า ผู้ชายในการซื้อตู้เย็น โดยผู้ชายตั้งวงเงินค่ากลางในการซื้อบ้านราคา กว่า 1 ล้านบาท ในขณะที่ผู้หญิงตั้งวงเงินค่ากลางที่คาดว่ามีกำลังซื้ออยู่ที่กว่าแปดแสนบาท แต่ที่น่าพิจารณาคือ ผู้ชายตั้งวงเงินค่ากลางไว้ในการซื้อรถยนต์คันใหม่กว่า เก้าแสนบาท ในขณะที่ผู้หญิงตั้งไว้ที่กว่า หกแสนบาท 690,404 บาท
เมื่อแยกออกตามอาชีพ พบว่า ข้าราชการตั้งวงเงินในการซื้อสินค้าคงทนส่วนใหญ่มีค่ากลาง สูงกว่า ทุกอาชีพ โดย ข้าราชาการตั้งวงเงินที่มีค่ากลางไว้ 1,141,964 บาท ในขณะที่ รองลงมาคือ พนักงานบริษัทเอกชน ตั้งไว้ที่ 1,051,200 บาท และอาชีพอื่นๆ ตั้งไว้ไม่ถึงล้านบาท ตามลำดับ
ที่น่าสนใจคือ เมื่อแยกตาม ภูมิภาค พบว่า คนกรุงเทพมหานครตั้งวงเงินที่มีค่ากลางในการซื้อบ้าน สูงกว่า ประชาชนในทุกภาค อยู่ที่ราคา 1.5 ล้านบาท เช่นเดียวกับรถยนต์ ที่คนกรุงเทพมหานครตั้งวงเงินที่มีกำลังซื้อเป็นค่ากลางสูงกว่าประชาชนในภาคอื่นๆ
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจวงเงินที่ประชาชนได้ตั้งไว้ว่ามีกำลังซื้ออยู่เท่าไหร่ออกมาเป็นค่ากลางในการวางแผนซื้อสินค้าคงทนในยุครัฐบาลบิ๊กตู่นี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจเกี่ยวข้องกับสินค้าคงทนและสถาบันการเงินต่างๆ สามารถใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจขับเคลื่อนธุรกิจให้สอดคล้องกับกำลังซื้อที่แท้จริงของประชาชนมากกว่าตั้งราคาด้วยวงเงินที่ไม่สัมพันธ์กับความสามารถซื้อของคนที่จะส่งผลทำให้เกิดความเสียหายต่อธุรกิจและเงินในกระเป๋าของประชาชนในระยะยาวได้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุ แผนการซื้อ สินค้าคงทน พร้อมราคาที่มีกำลังซื้อในยุครัฐบาลบิ๊กตู่
ลำดับที่ สินค้าคงทน ราคาที่ตั้งไว้ (บาท)
1 บ้านหลังใหม่ 929,198
2 รถยนต์คันใหม่ 820,269
3 ทีวี 16,027
4 ตู้เย็น 21,782
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุ แผนการซื้อ สินค้าคงทน พร้อมราคาที่มีกำลังซื้อในยุครัฐบาลบิ๊กตู่แยกตาม เพศ
ลำดับที่ สินค้าคงทน ชาย (บาท) หญิง (บาท)
1 บ้านหลังใหม่ 1,077,750 823,773
2 รถยนต์คันใหม่ 950,000 690,404
3 ทีวี 18,338 14,420
4 ตู้เย็น 16,610 26,466
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุ แผนการซื้อ สินค้าคงทน พร้อมราคาที่มีกำลังซื้อในยุครัฐบาลบิ๊กตู่แยกตาม อาชีพ
<tr></tr><td bgcolor="#ffffff" width="9%"></td>ลำดับที่
<td bgcolor="#ffffff" width="22%">
สินค้าคงทน</td><td bgcolor="#ffffff" width="16%">ข้าราชการ (บาท)</td><td bgcolor="#ffffff" width="18%">พนง. เอกชน (บาท)</td><td bgcolor="#ffffff" width="18%">ค้าขายทั่วไป (บาท)</td><td bgcolor="#ffffff" width="18%">อาชีพอื่นๆ (บาท)</td><tr><td bgcolor="#ffffff" width="9%">1</td><td bgcolor="#ffffff" valign="bottom" width="22%">บ้านหลังใหม่</td><td bgcolor="#ffffff" valign="middle" width="16%">1,141,964</td><td bgcolor="#ffffff" width="18%">1,051,200</td><td bgcolor="#ffffff" width="18%">817,950</td><td bgcolor="#ffffff" width="18%">771,764</td></tr><tr><td bgcolor="#ffffff" width="9%">2</td><td bgcolor="#ffffff" valign="bottom" width="22%">รถยนต์คันใหม่</td><td bgcolor="#ffffff" valign="middle" width="16%">967,300</td><td bgcolor="#ffffff" width="18%">661,828</td><td bgcolor="#ffffff" width="18%">688,530</td><td bgcolor="#ffffff" width="18%">902,463</td></tr><tr><td bgcolor="#ffffff" width="9%">3</td><td bgcolor="#ffffff" valign="bottom" width="22%">ทีวี</td><td bgcolor="#ffffff" valign="middle" width="16%">20,065</td><td bgcolor="#ffffff" width="18%">15,322</td><td bgcolor="#ffffff" width="18%">12,706</td><td bgcolor="#ffffff" width="18%">17,694</td></tr><tr><td bgcolor="#ffffff" width="9%">4</td><td bgcolor="#ffffff" valign="bottom" width="22%">ตู้เย็น</td><td bgcolor="#ffffff" valign="middle" width="16%">15,138</td><td bgcolor="#ffffff" width="18%">34,524</td><td bgcolor="#ffffff" width="18%">41,168</td><td bgcolor="#ffffff" width="18%">9,093</td></tr>
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุ แผนการซื้อ สินค้าคงทน พร้อมราคาที่มีกำลังซื้อ ในยุครัฐบาลบิ๊กตู่ แยกตาม ภูมิภาค
ลำดับที่ สินค้าคงทน เหนือ (บาท) กทม. (บาท) กลาง (บาท) อีสาน (บาท) ใต้ (บาท)
1 บ้านหลังใหม่ 718,714 1,593,269 710,344 886,923 899,111
2 รถยนต์คันใหม่ 608,916 951,844 766,191 721,100 647,828
3 ทีวี 16,998 16,013 19,742 20,384 11,275
4 ตู้เย็น 12,030 39,310 15,314 10,395 22,953
ดร.นพดล กรรณิกา โทร. 087.33.555.99 โทร. 095.471.4444
ประธานชมรมขับเคลื่อนวิชาการเพื่อความสุขชุมชน สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล (SUPER POLL)
โทร 02.308.0444 www.superpollthailand.net