กรุงเทพฯ--20 เม.ย.--สื่อสากล
รถยนต์กับชื่อพระราชทานในเมืองไทย เมื่อสมัยแรกมีรถยนต์ใหม่ๆ ในปลายรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้พระราชทานชื่อรถยนต์ต่างๆ ตาทที่มีผู้ขอพระราชทาน ทั้งรถยนต์หลวง รถยนต์พระบรมวงศานุวงศ์และรถยนต์ข้าราชบริพาร ตลอดจนรถยนต์
ของพ่อค้าประชาชน รถยนต์ ร.ศ. 125-127 พระนิพนธ์ของหม่อมเจ้าหญิงจงจิตถนอมดิศกุล ได้ทรงบันทึกไว้ 96 คัน ดังนี้
1. แก้วจักรพรรดิ์ รถยนต์พระที่นั่ง
2. ทัดมารุต รถยนต์พระที่นั่ง
3. ครุธพ่าห์ รถยนต์พระที่นั่ง
4. มหาหงส์ รถยนต์พระที่นั่ง
5. ทรงหณุมาน พระยาสีหราชเดโชชัย
6. สราญรมย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ
7. พรหมมาศ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์
8. ราชสีห์ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
9. นาภีปรามาศ
10. อากาศประกาย กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม
11. พระพายผัน
12. จันทรมณฑล พระโสภณเพชรรัตน์
13. ย่นมรคา พระโสภณ (กิ๊ฟ โสภโณดร)
14. พิทยาธร
15. อมรโอสถ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์
16. สิบคชประชุม หลวงนาวาเกณิกร
17. ประทุมรัตน์ สมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ
18. อัศวพาหน พระยามหาอำมาตย์ (เส็ง วิริยะสิริ)
19. พลดิเรก
20. เมขลา กรมพระนราธิปประพันธิพงศ์
21. ปราสาทสังข์ กรมขุนมรุพงศ์ศิริพัฒน์
22. กำลังสิงห์ หลวงสวามิภักดิ์
23. สมิงทอง กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม
24. ฟ่องฟ้า สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์
25. ไอราพต รถยนต์พระที่นั่ง
26. จรดจักรวาล
27. วิมานลอย พระยาสโมสรสรรพการ
28. พลอยนพเก้า
29. เย้ากมล
30. พลโกสี พระยาปฏิพัทธภูบาล
31. อินทรีสมานพล กรมหลวงสรรพสาตร์ศุภกิจ
32. อจลศรัทธา กรมพระสมมตอมรพันธ์
33. เหราร่อนหาว กรมหลวงสิงหวิกรม
34. ฉาวพระนคร ม.จ. ไศลทอง ทองใหญ่
35. มักรวิหก กรมหลวงนครไชยศรีฯ
36. กนกมาลา พระยาเจริญราชไมตรี
37. ราชานุยันต
38. สุวรรณมุขี
39. มณีรัตนะ รถพระประเทียบฝ่ายใน
40. สลาสลวย รถพระประเทียบฝ่ายใน
41. กระสวงทอง รถพระประเทียบฝ่ายใน
42. ลำยองทาบ รถพระประเทียบฝ่ายใน
43. ภาพยนต์ รถพระประเทียบฝ่ายใน
44. กลกำลัง สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนนครราชสีมา
45. กังหัน
46. พระขรรค์เพชร สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
47. เกร็ดฟ้า สมเด็จพระราชบิตุลา
48. ตราจักร สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
49. หลักสนาม
50. รามประพาส กรมพระนเรศวรฤทธิ์
51. อาศน์พระยม เจ้าพระยายมราช
52. ทมสารภี
53. โมรีบริรักษ์ เจ้าพระยาอภัยราชา
54. อัครนิวาศน์ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์
55. อินทนู พระยานรฤทธิราชหัช
56. ชูเชิดชื่อ พระยาพิพัฒน์โกษา (ซาเวีย)
57. บรรลือฤทธิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
58. กฤษณจักร เจ้าพระยามหิธร
59. รักร้อย หลวงพฤฒิสารประสิทธิ
60. สร้อยลำยวน
61. กระบวนช่าง กรมพระกำแพงเพชร
62. สุรางค์สำเริง เจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ (โต)
63. บำเทิงรัถยา
64. จำปาห้อยหู กรมหลวงสรรพสาตร
65. ชมภูห้อยบ่า สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
66. คธากฤษณ์ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิษณุโลก
67. อาทิตย์มณฑล กรมพระจันทรบุรี
68. สนธิสวาสดิ์ พระยาสุพรรณสมบัติ
69. ราชหัศดี ม.จ. ศรีไสยเฉลิมศักดิ์
70. ลีหกุชร
71. ขจรทวีป พระยาณรงค์เรืองฤทธิ์
72. กลีบเมฆเคลื่อน หลวงจัตุรงค์วิไชย ต่อมาได้เป็น พระยาสุรวงศ์
วิวัฒน์ (เตี้ยม)
73. เลื่อนพโยม พระยาไพบูลสมบัติ
74. โคมเวหน พระสุรทัณฑ์พิทักษ์
75. หิรณรวย
76. นวยนาด
77. ไชยมงคล
78. กลวายุ
79 ลุปรารถนา
80. อุระแผ้ว
81. บัวแก้วน้อย
82. ลอยเมฆ
83. เอนกพล
84. พหลนิเวศร์
85. เกษตรราศรี
86. รัศมีอุทัย
87. ไชยเฉลิม
88. ประเดิมโรง
89. โพรงพราย
90. ชายหางโหง
91. ธงนำริ้ว
92. ทิวสบัด
93. เสลี่ยงกง
94. อุสงหงัน
95. สีหนาทจำทาย
96. นารายณ์ทรงปืน
จากรายชื่อรถยนต์ดังกล่าวจะเห็นได้ว่ามีชื่อคล้องจองตามลำดับทั้ง 96 คัน แหละนี่ก็คือรถยนต์รุ่นแรกของเมืองไทย
ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานชื่อไว้ เมื่อ ร.ศ. 125-127 (พ.ศ. 2449-2451) ในปลายรัชกาล--จบ--
-สส-