กรุงเทพฯ--29 มิ.ย.--มหาวิทยาลัยนเรศวร
ระดมความคิดเห็นจากภาครัฐ เอกชน ชุมชนและผู้เกี่ยวข้อง ร่วมวางแผนอนาคตในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อแก้ไขปัญหาและส่งเสริมการท่องเที่ยว วันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๙ ณ อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า พิษณุโลก
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภูพงษ์ พงษ์เจริญ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยนเรศวร เปิดเผยว่า "มหาวิทยาลัยนเรศวรมีหนึ่งพันธกิจสำคัญในด้านการวิจัย เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ ตลอดจนเป็นแนวทางในการส่งเสริม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ โดยเน้นประโยชน์แก่ชุมชนและสังคม อาทิ งานวิจัยเรื่อง การจัดการชุมชนท่องเที่ยวบนพื้นที่ภูลมโลและพื้นที่เชื่อมโยงอย่างยั่งยืน โดยสถานอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพ แนวทาง สถานการณ์ปัจจุบัน ทิศทางการพัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยวภูลมโล มุมมองการท่องเที่ยวชมดอกนางพญาเสือโคร่งหรือซากุระเมืองไทยในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ตลอดจนศึกษาวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ชาวม้งที่อาศัยอยู่โดยรอบ และผลกระทบที่เกิดจากการท่องเที่ยว เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาหรือส่งเสริมการท่องเที่ยวต่อไป"
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วศิน ปัญญาวุธตระกูล ผู้อำนวยการสถานอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวว่า "ในกระบวนการศึกษาวิจัยได้มีการศึกษา ลงพื้นที่ เก็บรวมรวมข้อมูลในด้านต่าง ๆ กระทั่งนำมาสู่การจัดการเสวนา เรื่อง การจัดการชุมชนท่องเที่ยวบนพื้นที่ภูลมโลและพื้นที่เชื่อมโยงอย่างยั่งยืน ในวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๙ เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ณ อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า ประกอบด้วย การเสวนาในประเด็น การพัฒนาเพื่อการวางแผนอนาคต (Scenario Planning) ของชุมชนท่องเที่ยวและการจัดการท่องเที่ยวของชุมชน โดยผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก รองแม่ทัพภาคที่ ๓ ประธานสถาบันพัฒนาสี่แยกอินโดจีน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดพิษณุโลก หัวหน้าอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า และผู้นำชุมชนบนพื้นที่ภูลมโล ได้แก่ บ้านใหม่ร่องกล้า ต.เนินเพิ่ม อ.นครไทย จ.พิษณุโลก บ้านตูบค้อและบ้านหมากแข้ง ต.กกสะทอน อ.ด่านซ้าย จ.เลย และบ้านทับเบิก ต.วังบาล อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ จากนั้นเป็นการอภิปรายประเด็น การพัฒนาเพื่อการวางแผนอนาคตของชุมชน โดยมีผู้แทนวัฒนธรรมจังหวัดพิษณุโลก ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดพิษณุโลก ชมรมท่องเที่ยวจังหวัดพิษณุโลก ผู้แทนผู้ประกอบการร้านค้าบนพื้นที่ภูหินร่องกล้าและพื้นที่เชื่อมโยง ผู้แทนชุมชนท่องเที่ยว ประชาสัมพันธ์จังหวัดพิษณุโลก และผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การวางแผนระยะสั้นและระยะยาวเพื่อรับมือกับผลกระทบที่เกิดจากกระแสการท่องเที่ยวภูลมโล"
ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมการเสวนาวิชาการ "การจัดการชุมชนท่องเที่ยวบนพื้นที่ภูลมโลและพื้นที่เชื่อมโยงอย่างยั่งยืน" ในวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๙ เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ณ อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า พิษณุโลก โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สำรองที่นั่งได้ที่ สถานอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน มหาวิทยาลัยนเรศวร โทร. ๐ ๕๕๙๖ ๑๑๔๘
กำหนดการ
๑๓.๐๐ น. - ลงทะเบียน
กล่าวความเป็นมาของโครงการ"การจัดการชุมชนท่องเที่ยวบนพื้นที่ภูลมโลและพื้นที่เชื่อมโยงอย่างยั่งยืน" โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วศิน ปัญญาวุธตระกูล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุภาวดี โพธิยะราช ผู้ประสานงานโครงการวิจัยอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริหาร สกว. กล่าวถึงบทบาทของ สกว.กับการผลักดันผลการวิจัยสู่การใช้ประโยชน์
- กล่าวปาฐกถาพิเศษ "การจัดการชุมชนท่องเที่ยวบนพื้นที่ภูลมโลและพื้นที่เชื่อมโยงอย่างยั่งยืน"โดย ศาสตราจารย์ ดร.สุจินต์ จินายน อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร
เวทีเสวนา ประเด็น "การพัฒนาเพื่อการวางแผนอนาคต (Scenario Planning) ของชุมชนท่องเที่ยวและการจัดการท่องเที่ยวของชุมชนในพื้นที่ภูลมโลและพื้นที่เชื่อมโยง โดย
นายชูชาติ กีฬาแปง ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก
พลตรี ธนา จารุวัต รองแม่ทัพภาคที่ ๓ กองทัพภาคที่ ๓
พล.อ.ดร.ศิริ ทิวะพันธุ์ ประธานสถาบันพัฒนาสี่แยกอินโดจีน
ดร.เปรมฤดี ชามพูนท ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดพิษณุโลก
นายสุวรรณ ภานุนำภา หัวหน้าอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า
ผู้นำชุมชนบนพื้นที่ภูลมโล
*** ดำเนินการเสวนา โดย ดร.วารัชต์ มัธยมบุรุษ
- การอภิปราย ประเด็น "การพัฒนาเพื่อการวางแผนอนาคต (Scenario Planning) ของชุมชนท่องเที่ยวและการจัดการท่องเที่ยวของชุมชนในพื้นที่ภูลมโลและพื้นที่เชื่อมโยง โดย
ผู้แทนวัฒนธรรมจังหวัดพิษณุโลก
ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดพิษณุโลก
ชมรมท่องเที่ยวจังหวัดพิษณุโลก
ผู้แทนผู้ประกอบการร้านค้าบนพื้นที่ภูหินร่องกล้าและพื้นที่เชื่อมโยง
ผู้แทนชุมชนท่องเที่ยวบนพื้นที่ภูหินร่องกล้าและพื้นที่เชื่อมโยง
ประชาสัมพันธ์จังหวัดพิษณุโลก
ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน
- กล่าวขอบคุณและปิดการเสวนาโครงการ"การจัดการชุมชนท่องเที่ยวบนพื้นที่ภูลมโลและพื้นที่เชื่อมโยงอย่างยั่งยืน" โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วศิน ปัญญาวุธตระกูล