กรุงเทพฯ--1 ก.ค.--สปาร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์
ในปัจจุบัน เทคโนโลยีได้แทรกตัวเข้ามาในชีวิตประจำวันของเราอย่างเต็มตัวโดยที่เราไม่ทันได้สังเกต ตั้งแต่การช้อปปิ้งจนไปถึงการเรียกรถแท็กซี่ บางอย่างที่เรามองว่าไม่น่าจะได้รับผลกระทบการเทคโนโลยี อาทิ การพูดคุยกับเพื่อน ได้เปิดรับวิธีการสื่อสารรูปแบบใหม่ ทำให้เทคโนโลยีกลายเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันของเราโดยปริยาย
เทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งของทุกสิ่งที่เราทำ จึงไม่น่าแปลกใจเมื่อเราเริ่มเห็นวงการศิลปะหันมาใช้เทคโนโลยีเพื่อการสร้างสรรค์ที่ไร้ขีดจำกัด ซึ่งศิลปินหลายท่านมักไม่ทราบว่าจะต้องทำอย่างไรจึงจะผสมผสานการแสดงของตนและเทคโนโลยีให้มีความลงตัว ในขณะเดียวกัน นักพัฒนาเองก็ไม่สามารถทราบและเข้าใจถึงความหมายที่ศิลปินต้องการจะสื่อออกไปได้
เมื่อคุณวรารมย์ ปัจฉิมสวัสดิ์ ประธานกรรมการมูลนิธิเพื่อนศิลปะ วางแผนจัดงานแสดง "International SOLO Festival" ประจำปีพ.ศ. 2559 เธอก็ได้นึกถึงการนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการแสดง เนื่องจากเป็นโอกาสที่ดีในการสร้างมิติใหม่สำหรับการแสดง
มูลนิธิเพื่อนศิลปะได้จัดงาน International SOLO Festival เทศกาลอันน่าตื่นเต้นเร้าใจแห่งเอเชีย ที่นำพาผู้ชมร่วมสัมผัสประสบการณ์แห่งความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัดของโลกแห่งศาสตร์การเต้น ดนตรี ละครใบ้ และมายากล สิ่งที่น่าสนใจที่สุดสำหรับเทศกาลในครั้งนี้คือผู้เข้าร่วมงานจะได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงต่างๆด้วย
คุณวรารมย์ กล่าวว่า "แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งานศิลปะสามารถมาได้จากทุกที่ ดิฉันมองว่าในยุคสมัยที่เทคโนโลยีเป็นสิ่งขับเคลื่อนสังคม เราควรนำนวัตกรรมใหม่ๆเข้ามาผสมผสานเข้ากับงานศิลปะ ดิฉันมีความยินดีมากที่จะได้รับชมความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัดของการแสดงรูปใหม่ที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นโดยนักพัฒนาและศิลปิน ซึ่งผลตอบรับที่ได้นั้นน่าประทับใจมาก"
หลังจากได้พบปะพูดคุยกับตัวแทนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และเว็บไซต์ทางด้านไมโครอิเล็กทรอนิกส์อย่าง ayarafun.com การร่วมมือในครั้งนี้จึงได้กำเนิดขึ้น โดยเริ่มจากการศึกษาว่าจะต้องเขียนโปรแกรมอย่างไรเพื่อให้บอร์ดตอบสนองกับการเคลื่อนไหว รวมไปถึงการหารือกับนักแสดง เพื่อทำความเข้าใจกับความต้องการของศิลปิน
ทั้งสองหน่วยงานได้นำคำแนะนำของคุณวรารมย์ มาใช้ในการค้นหาความเป็นไปได้: นักพัฒนาซอฟต์แวร์ได้แนะนำแนวทางด้านความสามารถของเทคโนโลยี ในขณะที่ศิลปินให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการแสดงของพวกเขา
หลังจากที่ปรึกษาหารือกันเป็นเวลาสองอาทิตย์ ในที่สุดทั้งสองกลุ่มก็ได้ผลสรุป โดยตกลงจะสร้างสรรค์การแสดงแบบโต้ตอบกับผู้ชม โดยใช้อุปกรณ์ประกอบฉากที่บรรจุบอร์ดโปรแกรมที่สามารถควบคุมเสียงผ่านการเคลื่อนไหว
ทีมนักพัฒนาได้ใช้บอร์ด Intel Genuino 101 ในการสร้างโปรแกรมสำหรับโครงการนี้ โดยบอร์ดดังกล่าวสามารถตรวจจับความเร็วและการหมุนได้ถึง 6 ทิศทาง ทำให้โปรแกรมรับรู้ถึงทุกการเคลื่อนไหว ทางทีมพยายามหาหนทางที่จะนำบอร์ดโปรแกรมใส่ไว้ในอุปกรณ์ประกอบฉาก อาทิ ตุ๊กตา และลูกบอลยัดนุ่น ดังนั้นบอร์ดจำเป็นต้องเล็กและแข็งแรงพอที่จะซ่อนลงไปในนุ่นของตุ๊กตา ทางทีมพัฒนาจึงได้ออกแบบกล่องใส่บอร์ดพิเศษ ซึ่งถูกผลิตด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ซึ่งบอร์ดแต่ละชิ้นได้ถูกโปรแกรมให้ตอบสนองต่อการเคลื่อนไหวแต่ละรูปแบบ โดยเป็นการตอบสนองด้านการควบคุมเสียงทั้งหมด เช่น เมื่อชูหมอนให้สูงขึ้น จะทำให้ระดับเสียงสูงขึ้น โดยการส่งข้อมูลการบอร์ดผ่านระบบไร้สายไปยังจุดกระจายเสียง
ดร. ดร.กฤษฎ์ชัย สมสมาน ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อวิทยาศาสตร์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า "ศิลปะอาจจะไม่ใช่หัวข้อที่ผมเชี่ยวชาญ จึงทำให้โครงการนี้น่าสนใจมากสำหรับผม คนส่วนใหญ่อาจจะไม่คิดว่าจะสามารถนำศิลปะและเทคโนโลยีเข้ามาผสมผสานกันได้ แต่เมื่อคุณลองวิเคราะห์ดูแล้ว ทั้งสองอย่างนั้นล้วนต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ และความเชี่ยวชาญในการผลิตผลงาน เราได้นำเสนอมิติใหม่ให้กับการแสดงด้วยการใช้ความรู้ทางด้านเทคโนโลยี"
คุณประเสริฐศักดิ์ เดชอุดม ประธานกรรมการและผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ Ayarafun Factory กล่าวว่า "เทคโนโลยีที่เราใช้นั้นมีความเป็นเอกลักษณ์มาก เนื่องจากเป็นบอร์ดพัฒนาที่ขนาดค่อนข้างเล็กแต่สามารถตรวจจับความเคลื่อนไหวและการหมุนได้ เรื่องที่น่าแปลกใจก็คือการเขียนโปรแกรมและการใช้งานกลับง่ายมาก เราจึงสามารถเปลี่ยนหมอนยัดนุ่นธรรมดาให้กลายเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สอนน้องๆนักเรียนเกี่ยวกับระดับเสียงได้"
เริ่มต้น อินเทล ได้เป็นผู้ริเริ่มโครงการดังกล่าวเพื่อเชื่อมต่อวงการศิลปะเข้ากับนักพัฒนาทีขยายจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย คุณสติยา ลังการ์พินธุ์ ผู้อำนวยการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอกนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า "เป้าหมายของเราคือการสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมในประเทศไทย ซึ่งโครงการนี้ช่วยให้เราหลอมรวมศิลปะและเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ที่ไร้ขีดจำกัดสำหรับวงการศิลปะสร้างสรรค์ โดยกลุ่มนักพัฒนาในประเทศไทยเองก็มีความคิดสร้างสรรค์และนำเสนอผลงานที่แปลกใหม่อยู่เสมอ เราจึงต้องการให้ทั้งสองหน่วยงานร่วมกับสร้างผลงานที่น่าสนใจออกมา และให้แต่ละกลุ่มที่จะเรียนรู้จากกันและกัน ผลงานจากโครงการเล็กๆในครั้งนี้เป็นที่น่าพึงพอใจเป็นอย่างมาก เราตื่นเต้นที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างศิลปินและนักพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อค้นหาความเป็นไปได้ที่ไร้ขีดจำกัด"
การแสดงจัดขึ้นที่งาน 'International SOLO Festival' เมื่อวันที่ 7 – 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ที่ผ่านมา ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร