กรุงเทพฯ--5 ก.ค.--โอกิลวี่ พับลิค รีเลชั่นส์
MPT ผู้ให้บริการสื่อสารในเมียนมาร์ขึ้นแท่นแบรนด์อันดับ 1 ในใจ ส่วนแบรนด์ระดับโลกได้รับการยอมรับด้านนวัตกรรมและความแตกต่าง
ดับลิวพีพีกลุ่มบริษัทสื่อสารการตลาดยักษ์ใหญ่ของโลก และมิลเวิร์ดบราวน์ ผู้นำด้านการวิจัยการตลาด เผยผลวิจัยตลาด "BrandZ" ฉบับแรกในหัวข้อ "มองเมียนมาร์" (Spotlight on Myanmar) เจาะลึกเศรษฐกิจเมียนมาร์ซึ่งเป็นหนึ่งในตลาดที่มีการเติบโตสูงสุดในโลกและสำรวจการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคกว่า 51 ล้านคนในประเทศ
ผลสำรวจตลาดพบว่า แบรนด์ระดับโลกและแบรนด์ในประเทศเมียนมาร์ ต่างแข่งขันกันอย่างรุนแรง โดย Apple เป็นที่ยอมรับในฐานะแบรนด์ระดับโลกที่โดดเด่นเรื่องความแตกต่างและมีเอกลักษณ์ ส่วนแบรนด์ในประเทศเมียนมาร์ที่ครองอันดับ 1 ในใจผู้บริโภค คือ MPT ซึ่งเป็นผู้ให้บริการระบบการสื่อสาร ขณะเดียวกัน เทเลนอร์ เป็นที่รู้จักมากในเด้านนวัตกรรมแม้ว่าจะเพิ่งเข้าไปเป็นผู้เล่นหน้าใหม่ในตลาดเมียนมาร์
การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเมียนมาร์ทำให้ธุรกิจต่างๆ ต้องเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่มาพร้อมกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและสามธารณูปโภค เมียนมาร์จะเป็นประเทศแรกในโลกที่จะใช้สมาร์ทโฟนเป็นอาวุธหลักในการพัฒนาประเทศอย่างก้าวกระโดด การเปลี่ยนแปลงสำคัญในเชิงการตลาดและแบรนด์ที่เห็นได้ชัด คือ อัตราการใช้โทรศัพท์มือถือ ที่มีการเติบโตจากเกือบ 0% ไปเป็นเกือบ 50% ในเวลาเพียง 2-3 ปีเท่านั้น เทคโนโลยีจะเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนความก้าวหน้าของประเทศ ในทุกด้านตั้งแต่ธุรกิจค้าปลีก ไปจนกระทั่งธุรกิจการเงินการธนาคาร และการสื่อสาร การพัฒนาสังคม
"มองเมียนมาร์" เป็นการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการในชีวิตประจำวัน เช่น กาแฟและ เครื่องดื่ม ฯลฯ และของที่ต้องอาศัยเวลาในการตัดสินใจ เช่น บริการการสื่อสารไร้สาย และเครื่องอุปกรณ์มือ ต่างๆ ผลวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่า การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพที่สุดมักเป็นการสื่อสารเรื่องประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับจากสินค้าหรือบริการของแบรนด์ต่างๆ สิ่งที่จะทำให้เกิดความแตกต่างคือ การที่แบรนด์ที่แข็งแรงสามารถวาดภาพให้เห็นถึงเป้าหมายสูงสุดของแบรนด์ ทำให้คนรักและอยากเป็นเจ้าของ และมีความท้าทายน่าสนใจ
ในการทำการสำรวจในเมียนมาร์ BrandZ ได้สัมภาษณ์ผู้บริโภค 1,660 คน และได้ตั้งคำถามที่ครอบคลุมแบรนด์ชั้นนำระดับโลก ระดับภูมิภาครวม 42 แบรนด์ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงในเมียนมาร์ทั้งในแง่ภาพลักษณ์และจุดยืนขององค์กรและกิจกรรมต่างๆ ที่แบรนด์จัดขึ้นในประเทศ ข้อมูลน่าสนใจ ได้แก่
• Apple เป็นแบรนด์ที่ชาวเมียนมาร์เห็นว่าแตกต่างไปจากคนอื่นมากที่สุด ตามด้วยโคคา-โคล่า และซัมซุง โดยดัชนี้ชี้วัดระบุว่า Apple ได้รับคะแนนถึง 232 ขณะที่แบรนด์อื่นจะได้คะแนนเฉลี่ยประมาณ 100 คะแนนเท่านั้น
• ระบบเครือข่ายการสื่อสารไร้สายของเทเลนอร์ ได้รับการยอมรับว่าเป็นแบรนด์ที่สร้างสรรค์เปี่ยมนวัตกรรมมากที่สุด โดยได้รับคะแนนสูงถึง 125 คะแนน ขณะที่คู่แข่งอย่าง MPT และ Ooredoo ตามมาเป็นอันดับ 2 และ 3
• MPT เป็นแบรนด์ที่ผู้บริโภครักมากที่สุด โดยได้รับคะแนนถึง 129 คะแนน ซึ่งสูงกว่าซัมซุง 9 คะแนน และสูงกว่าเทเลนอร์และหัวเหว่ย 11 คะแนน
• ซัมซุง มีตำแหน่งทางการตลาดที่แข็งแรงที่สุด ด้วยคะแนน 129 คะแนน ตามมาด้วย Apple 125 คะแนน และ MPT 118 คะแนน
• หัวเหว่ยได้รับคะแนนสูงสุดในด้านอิทธิพลของแบรนด์ หรือความสามารถของแบรนด์ที่จะทำยอดขายหรือกวาดส่วนแบ่งตลาด หรือการที่ลูกค้ามีแนวโน้มที่จะตัดสินใจเลือกแบรนด์นี้ โดยได้คะแนนถึง 436 คะแนน ซึ่งสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของแบรนด์ระดับโลกที่อยู่ในระดับ 81 คะแนน ถือได้ว่าหัวเหว่ยประสบความสำเร็จในเมียนมาร์มากกว่าในประเทศจีนซึ่งเป็นประเทศบ้านเกิด
เดวิด รอธ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ The Store ประจำภูมิภาคยุโรป ตะวันออกกลาง และเอเชีย กล่าวว่า "แบรนด์ระดับอินเตอร์มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จอีกมากในเมียนมาร์ ถ้าสามารถทำความเข้าใจและข้ามความแตกต่างด้านวัฒนธรรมในเมียนมาร์ได้ โดยเฉพาะในบริเวณตะเข็บชายแดน ทีมงานของเราได้ศึกษาความเปลี่ยนแปลงและพบว่าอาจเทียบได้กับความเปลี่ยนแปลงที่เคยเกิดขึ้นในอินเดียเมื่อ 30 ปีก่อน หรือในพื้นที่ห่างไกลบางแห่งในอินเดียวันนี้ หรือจะเทียบได้กับอินโดนีเซียที่มีประชากรที่อาศัยอยู่บนเกาะต่างๆ มาก และมีความแตกต่างด้านภูมิประเทศและภูมิอากาศมาก"
การสำรวจดังกล่าวยังระบุว่ามีแนวโน้มที่น่าจับตามอง และน่าจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิธีที่แบรนด์หรือเอเจนซี่ควรใช้เพื่อเจาะตลาดเมียนมาร์นับตั้งแต่วันนี้ไปจนอีก 5 ปีข้างหน้า ได้แก่
• การพัฒนาระบบสาธารณูปโภคอย่างรวดเร็ว เมียนมาร์ใช้เวลาเพียง 3 ปีเพื่อสร้างโครงข่ายการสื่อสารไร้สายทั่วประเทศ นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาระบบการขนสางและระบบไฟฟ้าที่รวดเร็วกว่าหลายๆ ประเทศ
• ระบบ e-tailing แม้ว่าระบบพื้นฐานที่สนับสนุนการค้าปลีกจะยังคงล้าหลังอยู่ในปัจจุบัน แต่การพัฒนาอย่างรวดเร็วของระบบอีคอมเมิร์ซในหลายๆ ประเทศที่พัฒนาแล้ว จะเป็นตัวบ่งชี้ได้ว่า เมียนมาร์เองก็จะมีการพัฒนาระบบอีคอมเมิร์ซได้อย่างรวดเร็วไม่แพ้กัน
• เมียนมาร์เป็นตลาดแรกของโลกที่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เท่านั้นเป็นสื่อกลาง เพราะผู้บริโภคต่างก็ใช้โทรศัพท์มือถือในการค้นหาข้อมูลและรับบริการเพื่อความบันเทิงต่างๆ มากขึ้น แม้ทีวีจะยังเป็นสื่อที่สำคัญ แต่แบรนด์ต่างๆ ก็ควรมองว่าเมียนมาร์ไม่ใช่แค่ตลาดที่ใช้โทรศัพท์มือถือเป็นเครื่องมือสำคัญเท่านั้น แต่เป็นตลาดที่ใช้โทรศัพท์มือถือเป็นสื่อเพียงช่องทางเดียวในการสื่อสารและทำกิจกรรมต่างๆ
• เน้นประโยชน์ใช้สอย อย่าเน้นฟังก์ชั่นของสินค้า เนื่องจากผู้บริโภคในเมียนมาร์ ไม่ค่อยคุ้นเคยกับการมีทางเลือกมากมายให้ตัดสินใจ ดังนั้นการค้นหาข้อมูลและการตัดสินใจของผู้บริโภคจึงมีรูปแบบที่ต่างไปจากตลาดอื่น แบรนด์ต่างๆ ต้องสื่อสารโดยการเน้นถึงประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับจากสินค้าและบริการของตน และช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเปรียบเทียบคุณสมบัติของสินค้าและราคาได้สะดวกที่สุด
• ต้องเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม เนื่องจากเมียนมาร์ประกอบด้วยชนหลายเผ่าพันธุ์หลากวัฒนธรรม กว่า 88% ของประชากรที่อาศัยอยู่ในเมืองจะนับถือศาสนาพุทธ และมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์มาก ภูมิอากาศ วัฒนธรรมก็แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่สำคัญที่แบรนด์ในตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคต้องใส่ใจ
แอนดี้ แอนเน็ต กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทูเดย์ โอกิลวี่ พับลิค รีเลชั่นส์ จำกัด เปิดเผยว่า "สำหรับชาวเมียนมาร์แล้ว ไม่ใช่ว่าสินค้าทุกอย่างจากต่างประเทศจะดีไปหมด แต่ผู้บริโภคค่อนข้างมีความภูมิใจในความเป็นชาติของตนเอง และมีโอกาสที่จะพัฒนาแบรนด์ในประเทศที่แข็งแกร่งมากๆ มาสู้กับแบรนด์จากต่างประเทศ ในด้านการตลาดและการสื่อสารการตลาด การพัฒนาด้านสื่อดิจิทัลและโซเชียลมีเดียยังไปได้อีกมาก และรวดเร็ว การทำอีคอมเมิร์ซแบบสมบูรณ์กำลังจะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้ รัฐบาลได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างมากกับการพัฒนาระบบดิจิทัลที่รองรับการทำธุรกรรมการเงิน นอกจากนี้ ธนาคารต่างๆ มีการพัฒนาบริการที่น่าสนใจโดยเฉพาะโมบายมันนี่ ซึ่งจะพลิกโฉมการทำอีคอมเมิร์ซ์ต่อไป"
เจสัน คอพแลนด์ ผู้จัดการ กันทาร์ อินไซท์ เมียนมาร์ ซึ่งเป็นผู้ดูแลธุรกิจมิลเวิร์ดบราวน์และทีเอ็นเอสในเมียนมาร์ กล่าวว่า "เมียนมาร์กำลังวิ่งไปข้างหน้าเร็วมาก แบรนด์ต่างๆ จำต้องเร่งสร้างความประทับใจให้แก่ผู้บริโภคให้ได้เร็วที่สุด เพราะหลังจากที่ปิดประเทศมานาน ทำให้ผู้บริโภคกระตือรือร้นสนใจโลกภายนอกมาก เราเห็นว่าเมื่อมีแบรนด์ต่างๆ นำเสนอสินค้าหลากหลายประเภท ชนชั้นกลางจึงชอบทดลองสินค้าใหม่ๆ สนใจใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เมื่อมีโอกาส แบรนด์จำเป็นต้องเข้าใจว่าผู้บริโภคในเมียนมาร์มีหลากหลายกลุ่ม และมีความสำคัญต่อความสามารถในการแข่งขันในตลาดของแต่ละแบรนด์"
ข้อมูลเกี่ยวกับ BrandZTM
BrandZTM Spotlight on Myanmar เป็นหนึ่งในการจัดอันดับของ BrandZ ที่ครอบคลุม การสำรวจแบรนด์ระดับโลกที่มีค่าสูงสุด 100 อันดับ (BrandZ Top 100 Most Valuable Global Brands) แบรนด์จากจีนที่มีมูลค่าสูงสุด 100 อันดับ (Brand Z Top 100 Most Valuable Chinese Brands) แบรนด์จากอินโดนีเซียที่มีมูลค่าสูงสุด 50 อันดับ (BrandZ Top 50 Most Valuable Indonesian Brands) แบรนด์จากละตินอเมริกาที่มีมูลค่าสูงสุด 50 อันดับ (BrandZ Top 50 Most Valuable Latin American Brands) และแบรนด์จากอินเดียมีมูลค่าสูงสุด 50 อันดับ (BrandZ Top 50 Most Valuable Indian Brands)
วิธีการจัดทำการสำรวจ
การประเมินค่าของแบรนด์ 100 อันดับจัดทำขึ้นโดยมิลเวิร์ดบราวน์ ด้วยวิธีเดียวกันกับการจัดอันดับแบรนด์ระดับโลกที่มีมูลค่ามากที่สุด 100 อันดับ (BrandZ Top 100 Most Valuable Global Brands) ที่ได้จัดทำมาอย่างต่อเนี่องนานถึง 10 ปีในปี 2558 ที่ผ่านมา
การจัดอันดับ BrandZ เป็นการจัดอันดับหนึ่งเดียวในโลกที่พิจารณาทัศนคติความรู้สึกของคนที่มีต่อแบรนด์ที่ตนซื้อ นอกเหนือไปจากการวิเคราะห์ข้อมูลด้านการเงิน การตลาด รายงานของนักวิเคราะห์ และระดับความเสี่ยง ทัศนคติของผู้บริโภคที่ม่ต่อแบรนด์ ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินค่าของแบรนด์ เพราะแบรนด์มีองค์ประกอบทั้งในด้านผลประกบการ การนำเสนอสินค้าหรือบริการ ตำแหน่งทางการตลาดที่ชัดเจน และความเป็นผู้นำของแบรนด์
ข้อมูลเกี่ยวกับมิลเวิร์ดบราวน์
มิลเวิร์ดบราวน์เป็นเอเจนซี่ชั้นนำระดับโลกด้านการทำสำรวจและวิจัยด้านประสิทธิภาพของงานโฆษณา การสื่อสารเชิงกลยุทธ์ สื่อ และคุณค่าของบรนด์ มิลเวิร์ดบราวน์ช่วยให้ลูกค้าสร้างแบรนด์ที่โดดเด่นด้วยการทำวิจัยทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ โดยมีบริการเฉพาะด้าน ได้แก่ มิลเวิร์ดบราวน์ดิจิทัล (ซึ่งเป็นผู้นำในด้านการสำรวจและวัดประสิทธิผลของงานสื่อสารบนดิจิทัล) ไฟร์ฟลายมิลเวิร์ดบราวน์ (เครือข่ายการวิจัยทั่วโลกที่เน้นการสำรวจเชิงคุณภาพ) การวิจัยที่เกี่ยวกับสมอง (โดยใช้วิชาประสาทวิทยาในการเพิ่มประสิทธิภาพของการทำวิจัยในแบบดั้งเดิม) มิลเวิร์ดบราวน์เวอร์เมียร์ (ที่ปรึกษาเชิงกลยุทธ์ที่ช่วยให้องค์กรสร้างผลตอบแทนทางการเงินที่ดีที่สุดจากการลงทุนในแบรนด์และกิจกรรมการตลาด) มิลเวิร์ดบราวน์มีการดำเนินธุรกิจใน 55 ประเทศทั่วโลก และเป็นบริษัทภายใต้กันทาร์ซึ่งเป็นธุรกิจด้านการบริหารการลงทุนด้านข้อมูลของกลุ่มดับลิวพีพี ผู้สนใจสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.millwardbrown.com
ข้อมูลเกี่ยวกับดับลิวพีพี
ดับลิวพีพีเป็นกลุ่มบริษัทที่ให้บริการด้านการสื่อสารที่ใหญ่ที่สุดในโลกโดยมียอดบิลลิ่งรวม 73,000 ล้านเหรียญสหรัฐและมีรายได้ 19,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ดับลิวพีพีให้บริการด้านงานโฆษณาและการตลาด ผ่านบริษัทในเครือที่ทดำเนินธุรกิจหลากหลาย อาทิ โฆษณา และการบริหารการลงทุนในสื่อ การบริหารการลงทุนในข้อมูล ประชาสัมพันธ์และรัฐกิจสัมพันธ์ การสร้างแบรนด์และเอกลักษณ์ของแบรนด์ การสื่อสารสำหรับธุรกิจเฮลท์แคร์ การสื่อสารทางตรง ผ่านสื่อดิจิทัล โปรโมชั่นและการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า และการบริการด้านการสื่อสารพิเศษอื่นๆ โดยมีพนักงานทั้งหมดกว่า 194,000 คน (รวมทั้งพนักงานของบริษัทร่วม หรือบริษัทอื่นๆ ที่ดับลิวพีพีเข้าไปลงทุน) มีสำนักงานกว่า 3,000 แห่งใน 112 ประเทศทั่วโลก สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.wpp.com
ดับลิวพีพีได้รับรางวัล Holding Company of the Year จากการประกวดรางวัลโฆษณายอดเยี่ยม 2016 Cannes Lions International Festival of Creativity ติดต่อกันมาถึง 6 ปีซ้อน และได้รับการคัดเลือกให้เป็น World's Most Effective Holding Company 0kd'ki 2016 Effie Effective Index ที่จัดอันดับบริษัทสื่อสารการตลาดที่สามารถนำเสนอผลงานที่ทรงประสิทธิภาพที่สุด ในปีพ.ศ. 2559 ดับลิวพีพีได้รับการยกย่องจาก Warc 100 ให้เป็น world's Top Holding Company ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2