กรุงเทพฯ--7 ก.ค.--คาร์ลบายร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์
บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป แมนูแฟคเจอริ่ง ประเทศไทย ตั้งเป้าให้สามารถขจัดปริมาณกำจัดขยะด้วยวิธีฝังกลบ ให้เป็นศูนย์ และปัจจุบันสามารถทำได้ตามเป้าหมาย อันจะทำให้พนักงานในสายการผลิตของ บีเอ็มดับเบิลยู มีอุปนิสัยที่จะปฏิบัติงานด้วยความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมต่อไปในอนาคต
บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป แมนูแฟคเจอริ่ง ประเทศไทย ตั้งเป้าหมายที่จะขจัดปริมาณขยะด้วยวิธีฝังกลบ ให้เป็นศูนย์ และในวันนี้ บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป แมนูแฟคเจอริ่ง ประเทศไทย สามารถบรรลุเป้าหมายดังกล่าว จนสามารถกล่าวได้ว่า จากสายการผลิตของโรงงานจะไม่มีขยะที่ต้องนำไปฝังกลบอีกต่อไป
จากการที่ไม่ต้องนำของเสียหรือขยะไปฝังกลบ บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป แมนูแฟคเจอริ่ง ประเทศไทย เลือกวิธีการในอีกรูปแบบหนึ่งเพื่อรับผิดชอบต่อของเสียหรือขยะที่เกิดขึ้น โดยนำของเสียที่เป็นอันตรายไปผสมใหม่เพื่อใช้ร่วมกับเชื้อเพลิงเพื่อการเผาไหม้ ส่วนของเสียจากโรงอาหาร นำไปเป็นอาหารสัตว์ของชาวบ้านในพื้นที่ และของเสียชนิดอื่นๆ ที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ก็จะนำไปเข้าสู่กระบวนการผลิตให้เป็นเชื้อเพลิงจากขยะRefuse Derived Fuel (RDF)
ผลจากการลดปริมาณขยะของ บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป แมนูแฟคเจอริ่ง ประเทศไทย สร้างผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่ให้แก่ชุมชนโดยรอบ ด้วยการลดมลภาวะในอากาศโดยรวม และสนับสนุนให้ประเทศไทย เป็นประเทศที่มีสีเขียว และความสะอาดเพิ่มมากขึ้น
มร. เจฟฟรีย์ กอดิอาโน ประธานกรรมการบริหาร บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป แมนูแฟคเจอริ่ง ประเทศไทย กล่าวว่า "ผมมีความภูมิใจอย่างมาก ที่ความพยายามของพนักงานในโรงงานในประเทศไทย สามารถร่วมกันลดปริมาณของเสียที่เกิดจากสายการผลิตของเราได้ ด้วยการผลิตที่ปราศจากของเสียหรือขยะ ทำให้เราสามารถมุ่งมั่นในการผลิตยานยนต์คุณภาพชั้นเยี่ยม ขณะที่ลดของเสียที่เกิดจากการผลิตไปพร้อมกัน"
ปัจจุบัน โรงงาน บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป แมนูแฟคเจอริ่ง ประเทศไทย ใช้แคมเปญกระตุ้นด้วยการโฆษณา 3R เพื่อโปรโมทการทำงานแบบ การลดreducing, นำกลับมาใช้ใหม่ reusing และ รีไซเคิล recycling ร่วมกัน
สนับสนุนการสร้าง "ระบบสร้างคุณค่าเพิ่มในการผลิต" "Value-added Production System" หรือ VPS ของบีเอ็มดับเบิลยู รวมทั้งสนับสนุนให้มีการปรับปรุงกระบวนการผลิต และแนะนำพนักงานโดยระบุให้ได้ว่าวัสดุนั้นคืออะไร เพื่อหลีกเลี่ยงการกำจัดขยะ ซึ่งโรงงาน บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป แมนูแฟคเจอริ่ง ประเทศไทย ใช้ความพยายามในการขจัดปริมาณขยะด้วยวิธีฝังกลบ ให้เป็นศูนย์ จากหลักการของระบบสร้างคุณค่าเพิ่มในการผลิต ด้วยการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ขยะเป็นศูนย์
ด้วยหลักการที่คล้ายคลึงกันกับ "ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม" "Corporate Social Responsibility" หรือ CSR ที่มีความคาดหวังหลักเพื่อดำเนินการภายใต้หลักจริยธรรม และการจัดการที่ดี โดยมีส่วนในการรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
โครงการ ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมนี้ ช่วยให้ลดจำนวนถุงมือใช้แล้วจากสายการผลิต ที่ปัจจุบัน ได้จัดการทำความสะอาดและบริจาคให้แก่เกษตรกรในท้องถิ่น
ขณะที่ดำเนินการลดจำนวนของเสียที่จับต้องได้ ดำเนินต่อไป โรงงาน บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป แมนูแฟคเจอริ่ง ประเทศไทย ก็ลงมือลดความสิ้นเปลืองทั้งการใช้น้ำ และพลังงาน ขณะเดียวกัน พนักงานของโรงงานร่วมสนับสนุนชุมชนในท้องถิ่นในโครงการเพื่อสังคมซึ่งมีชื่อว่า "แคร์ ฟอร์ วอเตอร์" "Care for Water" โดย บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป แมนูแฟคเจอริ่ง ประเทศไทย จัดงบประมาณในการสนับสนุนการทำกิจกรรมดังกล่าวมากกว่า500,000 บาท เพื่อถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับระบบการกรองน้ำพร้อมมอบโซลูชั่นดังกล่าวให้แก่คนไทยในพื้นที่ขาดแคลน ได้เข้าถึงการแหล่งน้ำสะอาด โดยแผนงานจะสนับสนุนหมู่บ้านในขอนแก่น และ กำแพงเพชร ด้วยระบบการกรองน้ำสะอาด 200 ชุด ที่จะช่วยให้ชาวบ้านผ่านพ้นวิกฤติภัยแล้ง ขณะเดียวกันก็สามารถจัดหาน้ำสะอาดสำหรับชุมชนได้เช่นกัน