กรุงเทพฯ--21 ธ.ค.--คอมมูนิเคชั่น แอนด์ มอร์
ผลวิจัยล่าสุดในผู้หญิงวัยก่อนหมดประจำเดือนที่อ้วน พบข้าวโอ๊ตช่วยเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดีได้มากกว่า 10% และลดอัตราส่วนคอเลสเตอรอลรวมต่อ HDL-C ลงถึง 7.0% แนะกินเป็นประจำ จะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจได้
จากผลการวิจัยของ ดร. Marie-Claude Vohl และคณะ ศูนย์วิจัย CHUL ซึ่งเป็นสมาชิกของสภาวิจัยด้านสุขภาพแคนาดา ณ เมืองคิวเบก ประเทศแคนาดา ได้ตีพิมพ์ผลงานล่าสุดปี 2005 ในวารสาร Annals of Nutrition and Metabolism ระบุว่าโภชนาการที่ดีเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตในอันดับต้นๆ ของผู้หญิงในประเทศอุตสาหกรรมทั่วโลก โดยเฉพาะผู้หญิงอ้วน หรือมีน้ำหนักตัวเกิน โดยภาวะไขมันในเลือดสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการเกิดโรค
การศึกษาวิจัยดังกล่าว คณะผู้วิจัยได้ทำขึ้นเพื่อศึกษาถึงคุณค่าทางโภชนาการของอาหารที่มีไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำได้ว่า ส่งผลที่เป็นประโยชน์ต่อไขมันในเลือดอย่างไร โดยได้ทำการศึกษาในผู้หญิงที่มีน้ำหนักเกินที่อยู่ในวัยก่อนหมดประจำเดือน อายุระหว่าง 23-53 ปี จำนวน 34 คน ให้บริโภคไฟเบอร์ภายในช่วงเวลาต่างๆกันไป โดยผู้ร่วมโครงการจะถูกสุ่มจัดให้อยู่ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ระหว่างกลุ่มที่ต้องควบคุม (ไม่มีอาหารเสริม) หรือกลุ่มที่ได้รับการบำบัดรักษาด้วยยา ซึ่งจะได้รับ มัฟฟิ่นที่อุดมด้วยข้าวโอ๊ต 2 ชิ้นต่อวัน (ซึ่งมีปริมาณข้าวโอ๊ต 28 กรัม/วัน) เป็นเวลา 4 สัปดาห์
ผลการศึกษาพบว่าคือ กลุ่มที่ได้รับการเสริมอาหารด้วยข้าวโอ๊ตนั้น ช่วยเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลชนิดที่ดี (HDL)ในเลือดมากขึ้น เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ควบคุม ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยผู้หญิงที่รับประทานอาหารเสริมข้าวโอ๊ตจะมีระดับ HDL ในเลือดเพิ่มขึ้น 11.2% ในขณะที่อัตราส่วนคอเลสเตอรอลรวมต่อ HDL-C ลดลงถึง 7.0% ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยผลที่ได้นั้นใกล้เคียงกันเมื่อดูตามอายุและน้ำหนักของผู้เข้าร่วมโครงการ
สรุปคือ ผลที่ได้นี้แนะนำว่าอาหารที่อุดมไปด้วยข้าวโอ๊ตนั้น ให้คุณประโยชน์ในระบบการเผาผลาญอาหาร (ระบบเมตาโบลิซึ่ม) ของผู้หญิงที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไป การรวมเอาอาหารจำพวกข้าวโอ๊ตมาเป็นส่วนหนึ่งของโภชนาการของคุณอาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้หญิงด้วย--จบ--