เอเอ็มดีประกาศสถาปัตยกรรมไมโครโปรเซสเซอร์รุ่นที่แปด

ข่าวทั่วไป Wednesday November 7, 2001 13:55 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--7 พ.ย.--พีซี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ คอนซัลติ้ง
-ให้คำนิยามใหม่กับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ด้วยแนวคิดใหม่ทั้งการออกแบบและประสิทธิภาพ-
AMD เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมไมโครโพรเซสเซอร์ รุ่นต่อไป ซึ่งใช้ชื่อในการพัฒนาหรือโค้ดเนมว่า "Hammer" โดย AMD ได้พัฒนาสถาปัตยกรรม "Hammer" เพื่อใช้เป็นพื้นฐานสำหรับการผลิตโพรเซสเซอร์ในอนาคต
"สถาปัตยกรรม 'Hammer' ได้รับการออกแบบโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ AMD สามารถขยายขอบเขตของผลิตภัณฑ์จากตลาดเครื่องคอมพิวเตอร์แบบโพรเซสเซอร์ 2 ตัว ไปสู่ตลาดระดับองค์กรซึ่งใช้เครื่องที่มีโพรเซสเซอร์ 4 และ 8 ตัว ทั้งยังสามารถจัดหาโซลูชั่นที่ครอบคลุมการทำงานทุกระดับสำหรับตลาดคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปและโน้ตบุ๊คประสิทธิภาพสูง" เฟรด เวเบอร์ รองประธานและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิค ส่วนธุรกิจผลิตภัณฑ์ด้านการประมวลผลของ AMD กล่าว "เทคโนโลยีการประมวลผลแบบ 64 บิตของ AMD จะมุ่งเป้าไปที่ลูกค้าที่มีความเชี่ยวชาญด้านไอทีเป็นกลุ่มแรก โดยเทคโนโลยีดังกล่าวจะช่วยให้ผู้จัดการฝ่ายไอทีสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างเต็มที่ กล่าวคือ องค์กรจะสามารถอัพเกรดไปสู่ซอฟต์แวร์ 64 บิตเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม โดยยังคงสามารถใช้ประโยชน์จากแอพ-พลิเคชั่น 32 บิตซึ่งได้ลงทุนไปก่อนหน้านั้น"
"สถาปัตยกรรม 'Hammer' ประกอบด้วยนวัตกรรมในด้านต่างๆ รวมถึงหน่วยความจำประสิทธิภาพสูงซึ่งมีแบนด์วิธในการรับ-ส่งข้อมูลที่มากขึ้น และผนวกรวมเข้ากับระบบของโพรเซสเซอร์อย่างกลมกลืน นอกจากนั้น ยังมีคอนโทรลเลอร์ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมอินพุท/เอาท์พุทและการทำงานแบบมัลติโพรเซสซิ่ง รวมทั้งบัสระบบที่มีความยืดหยุ่นสูง และใช้เทคโนโลยี HyperTransport ƒ ซึ่งสามารถรองรับคอนฟิเกอเรชั่นของระบบทั้งแบบโพรเซสเซอร์ตัวเดียวและหลายตัว" เวเบอร์กล่าวเสริม "ทั้งหมดนี้คือนวัตกรรมที่ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษ เพื่อลดการติดขัดเฉพาะจุดในเส้นทางการรับ-ส่งข้อมูล และเพิ่มอัตราความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูล ซึ่งผลที่ตามมาก็คือประสิทธิภาพการทำงานและความสามารถในการผลิตที่สูงขึ้น"
ประโยชน์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งสำหรับผู้จัดการฝ่ายไอทีก็คือ สถาปัตยกรรม "Hammer" สามารถรันซอฟต์แวร์ทั้งแบบ 32 บิตและ 64 บิตได้อย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนในการถือครองสินทรัพย์
สถาปัตยกรรม "Hammer" คือผลงานการพัฒนาของ AMD ซึ่งมุ่งเน้นการเสริมสร้างประสิทธิภาพที่โดดเด่นของระบบสำหรับคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปและแบบพกพา รวมถึงเครื่องเวิร์กสเตชันและเซิร์ฟเวอร์ ด้วยตระหนักถึงความต้องการของผู้ใช้ตามบ้านและองค์กรธุรกิจที่อยากให้มีระบบการวัดประสิทธิภาพที่แม่นยำ เมื่อไม่นานมานี้ AMD จึงได้ริเริ่มโครงการ True Performance Initiative ซึ่งมุ่งที่จะผลักดันและสนับสนุนให้วงการอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์พัฒนาระบบการวัดประสิทธิภาพของโพรเซสเซอร์ที่แม่นยำและเชื่อถือได้สำหรับผู้ใช้พีซี โดยในความเป็นจริงแล้ว ประสิทธิภาพของโพรเซสเซอร์คือผลลัพธ์จากการนำเอาจำนวนคำสั่ง (งาน) ที่ทำเสร็จต่อหนึ่งสัญญาณนาฬิกา คูณกับความเร็วสัญญาณนาฬิกาซึ่งมีหน่วยเป็นเมกะเฮิรตซ์ ไม่ใช่การพิจารณาจากเมกะเฮิรตซ์เพียงอย่างเดียว ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ใช้สถาปัตยกรรม "Hammer" จะสนับสนุนโครงการริเริ่มดังกล่าวของ AMD
ความพยายามอย่างไม่หยุดยั้งในการค้นคว้าและพัฒนาของ AMD มีจุดมุ่งหมายสำคัญที่จะขจัดการติดขัดในการรับ-ส่งข้อมูลสำหรับทั้งระบบและโพรเซสเซอร์ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้งานสูงสุด นวัตกรรมที่ผ่านมาของ AMD เช่น สถาปัตยกรรม QuantiSpeed ƒ เทคโนโลยี Smart MP บัสระบบที่เปี่ยมด้วยสมรรถนะ รวมทั้งแคชบนชิปที่ทำงานด้วยความเร็วเดียวกับซีพียู ทั้งหมดนี้ล้วนได้รับการพัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องโดย AMD สถาปัตยกรรม "Hammer" ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมรุ่นต่อไป รวมถึงส่วนแกนหลัก (Core) ของไมโครโพรเซสเซอร์รุ่นที่แปด และองค์ประกอบอื่นๆ ที่สำคัญของระบบ ก็จะยังคงเน้นจุดยืนนี้เช่นเดียวกัน
เกี่ยวกับสถาปัตยกรรม "Hammer"
บรรดาองค์กรที่เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมต่างเข้าใจถึงความจำเป็นในการคาดการณ์และวางแผนเพื่อรองรับความต้องการระบบการประมวลผลในอนาคต โดยที่ยังคงสามารถรับมือกับปัญหาท้าทายที่ประสบในปัจจุบัน สถาปัตยกรรม "Hammer" ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษเพื่อให้องค์กรสามารถปรับเปลี่ยนจากซอฟต์แวร์ที่ใช้โค้ด 32 บิตไปสู่ 64 บิตอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยที่ยังสามารถทำงานกับโค้ดทั้งสองแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งนั่นคือข้อแตกต่างที่สำคัญจากสถาปัตยกรรมไมโครโพรเซสเซอร์ 64 บิตอื่นๆ ด้วยเหตุนี้ ผู้จัดการฝ่ายไอทีจึงสามารถย้ายไปสู่แอพพลิเคชั่น 64 บิตเฉพาะในส่วนที่จำเป็น โดยยังคงสามารถรันโค้ด 32 บิตได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เมื่อองค์กรธุรกิจต่างๆ เริ่มหันมาใช้แอพพลิเคชั่น 64 บิตเพื่อตอบสนองความต้องการในการใช้โปรแกรมที่เน้นการทำงานของหน่วยความจำ ความจำเป็นในการประมวลผลโค้ดคำสั่งทั้งแบบ 32 บิตและ 64 บิตอย่างรวดเร็วและสมบูรณ์แบบก็กลายเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง
เกี่ยวกับเทคโนโลยี x86-64 ของ AMD
พื้นฐานการพัฒนาระบบประมวลผล 64 บิตของ AMD คือการใช้ชุดคำสั่ง x86 ซึ่งเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ได้รับการเชื่อถือและสนับสนุนอย่างกว้างขวางในวงการอุตสาหกรรม โดยเทคโนโลยี x86-64 ของ AMD ได้รับการออกแบบเพื่อรองรับแอพพลิเคชั่นที่ใช้หน่วยความจำปกติและหน่วยความจำเสมือนเป็นจำนวนมาก เช่น ระบบเซิร์ฟเวอร์ประสิทธิภาพสูง ระบบการจัดการฐานข้อมูล และเครื่องมือ CAD เทคโนโลยี x86-64 สามารถผนวกรวมเข้ากับระบบการประมวลผลและการสนับสนุนที่มีอยู่ในปัจจุบันได้อย่างกลมกลืน ทั้งยังช่วยให้องค์กรสามารถติดตั้งระบบ 64 บิตที่เปี่ยมด้วยประสิทธิภาพ โดยที่ยังคงสามารถใช้ประโยชน์จากซอฟต์แวร์ 32 บิตซึ่งได้ลงทุนไปก่อนหน้านี้ด้วยเงินหลายพันล้านดอลลาร์
เกี่ยวกับเทคโนโลยี HyperTransport ƒ
เทคโนโลยี HyperTransport เป็นเทคโนโลยีการเชื่อมโยงเฉพาะสองจุด (Point-to-Point Link) ที่มีประสิทธิภาพและความเร็วสูงสำหรับวงจรรวม โดยเทคโนโลยี HyperTransport ใช้ในการเชื่อมต่อทั้งระบบ (Universal Connection) ซึ่งทำให้สามารถลดจำนวนบัสภายในระบบ นอกจากนั้น ยังใช้ในการเชื่อมโยงแอพพลิเคชั่นแบบฝัง (Embedded Application) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงระบบมัลติโพรเซสซิ่งที่สามารถเพิ่ม-ลดขนาดได้อย่างยืดหยุ่น เทคโนโลยีดังกล่าวได้รับการพัฒนาเพื่อให้ชิปในเครื่องคอมพิวเตอร์พีซี รวมทั้งอุปกรณ์เครือข่ายและการสื่อสาร สามารถติดต่อสื่อสารกันในอัตราความเร็วที่สูงกว่าเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันสูงสุดถึง 48 เท่า
เกี่ยวกับ AMD
AMD เป็นผู้ผลิตวงจรรวมสำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานบนเครือข่าย รวมทั้งอุปกรณ์สื่อสาร โดยมีฐานการผลิตในสหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น และเอเชีย บริษัทฯ ได้รับการจัดอันดับโดยนิตยสาร Fortune และบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Standard & Poor ให้เป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนำ 500 บริษัทของโลก ผลิตภัณฑ์ของเอเอ็มดีได้แก่ ไมโครโพรเซสเซอร์ อุปกรณ์หน่วยความจำแฟลช และชิ้นส่วนต่างๆ ของแผงวงจร สำหรับการใช้งานด้านการสื่อสารและเครือข่าย บริษัทฯ ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1969 มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองซันนี่เวล รัฐแคลิฟอร์เนีย และมีรายได้รวมทั้งสิ้น 4,600 ล้านดอลลาร์ ในปี ค.ศ. 2000 (NYSE: AMD)
AMD on the Web
หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับข่าวประชาสัมพันธ์นี้ โปรดเยี่ยมชมห้องข่าวบนเว็บของเราที่ http://www.amd.com/news/spotlight สำหรับข่าวประชาสัมพันธ์เพิ่มเติม สามารถดูได้จาก www.amd.com/news/news.html.
ประชาสัมพันธ์ข่าวโดย บริษัทพีซี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ คอนซัลติ้ง จำกัด สุชาย เฉลิมธนศักดิ์ โทรศัพท์ 0 2971 3711 โทรสาร 0 2521 9030 อีเมล์: suchai@pc-a.inet.co.th
ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ มร. วี แยพ ยิน ผู้จัดการการตลาดผลิตภัณฑ์ บริษัทเอเอ็มดี ฟาร์อีส จำกัด โทรศัพท์ (65) 337-7033 โทรสาร (65) 338-1611 อีเมล์: yepyin.wee@amd.com-- จบ--
-นห-

แท็ก เอเอ็มดี  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ