กรุงเทพฯ--27 ก.ค.--TQPR MEDIA
· การบริการด้านบำรุงรักษา ซ่อมบำรุง และการทำงานของเครื่องจักรนั้นจะมีส่วนแบ่งถึง 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในตลาดการบริการหลังการขาย
· นักบินใหม่จำนวนกว่า 560,000 คนนั้นจะต้องการการฝึกอบรมให้ขับเครื่องบินในฝูงบินโดยสารทั่วโลกในระยะเวลา 20 ปีข้างหน้า
· แอร์บัสเตรียมการอย่างสมบูรณ์ที่จะมอบการบริการที่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มยิ่งขึ้นแก่ลูกค้าทั่วโลก
ฟาร์นโบโรห์ แอร์โชว์ ประจำปี พ.ศ.2559 – เนื่องด้วยการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของตลาดการบริการหลังการขายในอุตสาหกรรมการบินเชิงพาณิชย์ แอร์บัสจึงได้เผยแพร่การคาดการณ์การบริการทั่วโลก (Global Services Forecast: GSF) เป็นครั้งแรก การคาดการณ์นี้ได้พยากรณ์ว่าในระยะเวลา 20 ปีข้างหน้า ตลาดการบริการหลังการขายของอุตสาหกรรมจะมีมูลค่าการใช้จ่ายรวมถึง 3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากจำนวนนี้ มูลค่ารวมจากกิจกรรมบำรุงรักษา ซ่อมบำรุง และการทำงานของเครื่องจักร (Maintenance, Repair & Overhaul: MRO) จะมีมูลค่ามากกว่า 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในปี พ.ศ. 2578 สำหรับในช่วงเวลาแต่ละปี แอร์บัสคาดว่า กิจกรรมบำรุงรักษา ซ่อมบำรุง และการทำงานของเครื่องจักรจะเติบโตขึ้นจากปีละ 5.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็น 1.32 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งถือเป็นการเติบโตร้อยละ 4.6 ต่อปี
กิจกรรมด้านการบริการหลังการขายนั้นเชื่อมโยงกับการเติบโตของจำนวนฝูงบินโดยสาร ซึ่งจะเพิ่มเป็นจำนวนมากกว่าสองเท่าจากจำนวนเครื่องบิน 19,500 ลำ สำหรับเครื่องบินที่มีขนาดมากกว่า 100 ที่นั่งในสิ้นปี พ.ศ. 2558 กลายเป็นเกือบ 40,000 ลำ ภายในปี พ.ศ.2578 ที่ตามมาคือความต้องการนักบิน ช่างเทคนิค นั้นย่อมต้องเพิ่มขึ้นอย่างแน่แท้ จากปัจจุบันนี้มีนักบินจำนวนประมาณ200,000 คน ที่ทำหน้าที่ปฏิบัติการเครื่องบินโดยสารอยู่ การคาดการณ์การบริการของแอร์บัส พยากรณ์ว่าจำนวนนักบินจะเพิ่มเป็น450,000 คนภายในปี พ.ศ.2578 นอกเหนือจากจำนวนนักบินที่เป็นที่ต้องการภายในปี พ.ศ.2578 แล้วนั้น ยังต้องนำมารวมกับความต้องการนักบินที่จะมาทดแทนผู้ที่เกษียณไปในระยะเวลา 20 ปีต่อจากนี้อีก ส่งผลให้ต้องมีการฝึกอบรมนักบินใหม่มากถึง 560,000คนในช่วงเวลานี้ ส่วนในด้านของบุคลากรด้านเทคนิคนั้น การคาดการณ์การบริการของแอร์บัสคาดว่ามีความต้องการช่างเทคนิคใหม่ประมาณ 540,000 คน เพื่อมาทำหน้าที่ต่างๆ ทั้งด้านโครงสร้างเครื่องบิน เครื่องยนต์และอะไหล่ต่างๆ
หากกล่าวโดยเจาะจงแล้ว ด้วยความต้องการที่เพิ่มมากด้านการบินและฝูงบินที่เติบโตอย่างรวดเร็วของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคนั้น ภูมิภาคนี้จะมีส่วนแบ่งใหญ่ที่สุดของตลาดทั้งด้านกิจการบำรุงรักษา ซ่อมบำรุง และการทำงานของเครื่องจักร รวยมถึงความต้องการต่อนักบินและช่างเทคนิคใหม่ที่ผ่านการฝึกอบรมและได้รับการรับรอง ในขณะที่ยุโรปและอเมริกาเหนือรวมกันแล้วจะมีส่วนประมาณ 1 ใน 3 ของตลาดบำรุงรักษา ซ่อมบำรุงและการทำงานของเครื่องจักร้
"ปัจจุบันลูกค้าของเราได้ปฏิบัติการบินด้วยเครื่องบินที่ดีที่สุดอยู่แล้ว ทั้งในแง่ของความทันสมัย ประสิทธิภาพเชิงเศรษฐศาสตร์ พิสัย และความสบายของผู้โดยสาร" นายลอเรนท์ มาติเนซ รองประธานอาวุโสของแอร์บัส ด้านหน่วยธุรกิจการบริการ กล่าว "นอกเหนือไปจากนั้น ด้วยปริมาณที่เติบโตขึ้นของอุตสาหกรรมเครื่องบินพาณิชย์ ด้วยความเชี่ยวชาญในฐานะผู้ผลิตเครื่องบิน บริการ เซอร์วิสเซส บาย แอร์บัส นั้นจะส่งมอบการบริการคุณภาพที่เพิ่มมูลค่าให้แก่ลูกค้าทั่วโลก ด้วยคุณภาพที่เท่าเทียมกับเครื่องบินที่เราส่งมอบให้"
เซอร์วิสเซส บาย แอร์บัส (Services By Airbus) นั่นคือหน่วยธุรกิจของแอร์บัส ซึ่งมีหน้าที่ตอบสนองความต้องการหลังการขายของลูกค้าของแอร์บัส โดยดำเนินการอยู่ในส่วนหลัก 4 ส่วนได้แก่ การบำรุงรักษา การพัฒนา การฝึกอบรม และการปฏิบัติการบิน สำหรับการสนับสนุนความต้องการด้านการบำรุงรักษาและปฏิบัติการของลูกค้านั้น แอร์บัสมีบริษัทในเครือโดยเฉพาะสำหรับการให้บริการวัสดุทั่วโลก คือแซทแอร์ กรุ๊ป (Satair Group) ที่จะทำให้สายการบินมั่นใจในด้านการดำเนินการและมีอะไหล่ทั่วโลกสำหรับการบำรุงรักษา ซ่อมบำรุง และการทำงานของเครื่องจักร นอกเหนือจากนั้น บริการ ไฟลท์ อาวร์ และ โททัล ซัพพอร์ท แพ็คเกจ (Flight Hour & Total Support Package หรือ FHS & TSP) จะเสนอการแก้ปัญหาที่ยืดหยุ่นและละเอียดสำหรับการมีบริการซ่อมบำรุงเป็น'รายชั่วโมง'
ด้วยบริการ อัพเกรด เซอร์วิสเซส ของแอร์บัส เครื่องบินของลูกค้านั้นจะคงความทันสมัยอยู่ตลอดเวลาด้วยการพัฒนาด้านอากาศพลศาสตร์ล่าสุด (เช่น ปลายปีกแบบชาร์คเล็ท) เอวิออนิกส์และการสื่อสารข้อมูลที่ทันสมัย การปรับแต่งเครื่องบินและน้ำหนักวิ่งขึ้นสำหรับภารกิจของเครื่องบินอย่างละเอียด ทางเลือกของการเชื่อมต่อสื่อสารของผู้โดยสารและห้องโดยสารที่ทันสมัยที่สุดและมีอุปกรณ์ติดตั้งอย่างที่สุด
นอกเหนือจากนั้น ด้วยเทคนิคด้านการฝึกอบรมและอุปกรณ์ล่าสุดของแอร์บัส ที่สนับสนุนโดยศูนย์ฝึกอบรม 11 แห่งที่ตั้งอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ ตามแผนยุทธศาสตร์ และยังจะมีการตั้งเพิ่มขึ้นอีก สิ่งนี้จะทำให้มั่นใจว่าจะมีนักบิน ลูกเรือ และพนักงานด้านซ่อมบำรุงที่ผ่านการอบรมและได้การรับรอง เพื่อจะสนับสนุนการมาถึงของเครื่องบินใหม่หลายพันลำที่จะเข้าประจำการในฝูงบินของสายการบินต่างๆ=
สุดท้ายแต่ไม่ท้ายที่สุด ในด้านการปฏิบัติการบิน บริษัทในเครือแห่งใหม่ของแอร์บัส นาฟบลู (NAVBLUE) ซึ่งได้เปิดตัวในงานฟาร์นโบโรห์ แอร์โชว์ ประจำปี พ.ศ.2559 หลังจากการเข้าถือสิทธิครอบครองนาฟเท็คของแอร์บัส บริษัทแห่งนี้จะมอบข้อมูลด้านการบินแบบนำร่องให้แก่สายการบินแต่ละแห่งโดยเฉพาะ รวมถึงการแก้ปัญหาการจัดการจราจรทางอากาศ ซึ่งไม่เพียงแต่ฝูงบินแอร์บัสของสายการบินเท่านั้น ยังจะรวมถึงเครื่องบินที่ผลิตโดยผู้ผลิตรายอื่นได้อีกด้วย
แอร์บัส เป็นส่วนหนึ่งของ แอร์บัส กรุ๊ป และเป็นผู้ผลิตเครื่องบินพาณิชย์ชั้นนำของโลก ด้วยเครื่องบินโดยสารที่ทันสมัย ครอบคลุม และมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีความจุตั้งแต่ 100 ไปจนถึงกว่า 600 ที่นั่ง แอร์บัสได้ขายเครื่องบินไปแล้วกว่า 16,500 ลำ แก่ลูกค้าประมาณ 400ราย นอกเหนือจากนั้น แอร์บัสยังได้มอบการบริการลูกค้าและการฝึกอบรมด้วยมาตรฐานที่สูงที่สุดผ่านเครือข่ายทั่วโลกที่กำลังขยายตัว โดยแอร์บัสมีการจ้างงานมากกว่า 55,000 คน และในปี พ.ศ. 2558 มีรายได้รวมมูลค่า 4.59 หมื่นล้านยูโร