กรุงเทพฯ--1 ส.ค.--กองประชาสัมพันธ์ มทร.ธัญบุรี
pottery art ชุดน้ำชาลายไม้ ผลงานศิลปนิพนธ์ของ นางสาวภาพพิมพ์ พวงทอง สาขาวิชาเครื่องปั้นดินเผา ภาควิชาศิลปะการออกแบบและเทคโนโลยี คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี
เจ้าของผลงาน เล่าว่า ทุกวันนี้ผู้นิยมดื่มชากันมากขึ้นเพราะเชื่อกันว่าจะเป็นผลดีและมีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย ผู้ศึกษาศิลปนิพนธ์จึงมีความสนใจที่จะสร้างสรรค์ชุดน้ำชา โดยนำเอารูปแบบ รูปทรง ของลายไม้มาใช้เป็นแนวทางการสร้างชิ้นงาน เป็นการเลียนแบบธรรมชาติ และเป็นอนุรักษ์ธรรมชาติทางอ้อมแบบหนึ่ง เนื่องจากต้นไม้ ถูกทำลายเป็นจำนวนมาก บวกกับมนุษย์ในยุคนี้กำลังนิยมการใช้วัสดุที่เป็นไม้แทนวัสดุต่าง ๆ เนื่องจากไม้มีลวดลายที่สวยงาม และเป็นวัสดุที่หาง่าย จึงทำให้มีการตัดไม้ทำลายป่าเป็นจำนวนมาก จากเหตุผลข้างต้น เพื่อเป็นการลดการตัดต้นไม้จึงได้สร้างสรรค์ชุดน้ำชารูปทรงลายไม้ ให้เกิดเป็นงาน pottery art ขึ้นมาผลิตภัณฑ์ชุดน้ำชารูปทรงลายไม้ จำนวน 5 ชุด มีทั้งหมด 30 ชิ้น ประกอบด้วยกาน้ำชามีฝาปิด
จำนวน 4 ใบ กว้าง 15 เซนติเมตร สูง 20 เซนติเมตร กาน้ำชามีฝาปิด จำนวน 1 ใบ กว้าง 15 เซนติเมตร สูง 15เซนติเมตรถาดใส่แก้วน้ำชา จำนวน 5 ใบ กว้าง 15 เซนติเมตร สูง 10 เซนติเมตร แก้วน้ำชา จำนวน 20 ใบ กว้าง 4เซนติเมตร สูง 5 เซนติเมตร วิธีในการดำเนินงาน 1. เริ่มจากการเขียนแบบและสเก็ตภาพ
2. การทดลองสี ในผลงานการออกแบบสร้างสรรค์ชุดน้ำชารูปทรงลายไม้ ต้องการให้มีสีสันที่เป็นธรรมชาติ บ่งบอกถึงความเป็นลายไม้ สร้างสรรค์โดยใช้ดินสโตนแวร์ เผาดิบที่อุณหภูมิ 800 องศาเซลเซียส ตกแต่งด้วยการเคลือบใสภายในตัวชิ้นงาน เผาเคลือบที่อุณหภูมิ 1230 องศาเซลเซียส การทดลองเฉดสี โดยใช้ทฤษฎี Line Blend 3. ขั้นตอนการผลิต หลังจากที่ออกแบบเสร็จแล้ว ทำการขึ้นรูปโดยการขึ้นรูปอิสระ ทำให้เนื้อดิน เกิดเป็น texture คล้ายลายไม้ จากนั่นขึ้นรูปโดยการรีดดินให้เป็นแผ่น แล้วนำมาประกอบให้เป็นตัวกาน้ำชา ประกอบกรวยกาและหูจับ ขึ้นรูปถาดใส่แก้ว โดยการขึ้นรูปอิสระแบบแผ่น และแก้ว จำนวน 4 ใบ จากนั้นทำการตกแต่งชิ้นงาน นำชิ้นงานที่มาเผาดิบที่อุณหภูมิ 800 º C เตาไฟฟ้า เมื่อเผาเสร็จนำมาทา สีออกไซด์ จากนั้นเช็ดสีออกไซด์ออกตามความสวยงาม นำมาชุบเคลือบใส ภายในตัวชิ้นงาน และขั้นตอนสุดท้ายนำมาเผาเคลือบ ที่อุณหภูมิ 1,230 º C
ชุดน้ำชารูปทรงลายไม้ เป็นไอเดียที่ได้รับแรงบันดาลจากธรรมชาติ ปรบมือให้กับความสามารถของเด็กไทย ถือเป็นผลงานที่รักษาสิ่งแวดล้อมได้ดีเลยทีเดียว ชลธิชา ศรีอุบล กองประชาสัมพันธ์ มทร.ธัญบุรี 0-2549-4994