กรุงเทพฯ--19 พ.ย.--ธนาคารโลก
Mr.Ian Porter มีกำหนดจะเข้าทำหน้าที่ผู้อำนวยการธนาคารโลกประจำประเทศไทยในวันที่ 1 สิงหาคม นี้ โดยจะรับตำแหน่งต่อจาก Mr.Jayasankar Shivakumar ซึ่งจะเดินทางกลับ วอชิงตัน ดีซี หลังจากได้ทำหน้าที่ครบ 1 ปี ในประเทศไทย
ระหว่างที่ Mr.Shivakumar ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการประจำประเทศไทยนั้นประเทศไทยได้รับเงินกู้จากธนาคารโลกมากกว่า 2 พันล้านดอลลาร์-ซึ่งรวมถึงโครงการลงทุนทางสังคม โครงการเงินกู้ 3 โครงการและโครงการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือด้านเทคนิค 2 โครงการ-เพื่อช่วยเหลือประเทศในการฟื้นฟูเงินทุนสำรองและสนับสนุนทางการเงินแก่แผนกระตุ้นทางการเงินและโครงการทางสังคม อัตราการกู้เงินของไทยในระยะที่ผ่านมามีความรัดกุมและกลายเป็นหนึ่งในโครงการที่มีผลปฏิบัติงานดีที่สุดของธนาคารโลก นอกจากนี้ปริมาณการถ่ายทอดการจัดการด้านความรู้ ซึ่งรวมถึงงานวิเคราะห์ วิจัย และการช่วยเหลือด้านเทคนิคที่ธนาคารโลกมอบให้ก็ได้เพิ่มขึ้นอย่างสนใจ สำนักงานธนาคารโลกประจำประเทศเองยังได้ขยายความร่วมมือไปยังส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมมากยิ่งขึ้นด้วย
"ในรอบ 2-3 ปีที่ผ่านมา โครงการของธนาคารโลกในประเทศไทยได้เปลี่ยนไปอย่างสอดคล้องกับการฟื้นตัวจากวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศ" Mr.Shivakumar กล่าว "ความท้าทายในตอนนี้คือการเคลื่อนโครงการต่างๆ ไปข้างหน้าสู่แผนระยะเวลาขนาดกลาง โดยเน้นไปที่การสร้างความเข้มแข็งให้กับการป้องกันทางสังคมและการบริการทางสังคมแก่ผู้ยากจน เร่งให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจมีความต่อเนื่อง เสริมสร้างความสารถในการแข่งขัน ปรับปรุงกระบวนการธรรมรัฐและการดำเนินภาครัฐ รวมทั้งการปกป้องสิ่งแวดล้อม ซึ่งทั้งหมดนี้นั้น Mr.Porter มีพร้อมทั้งประสบการณ์และความรู้เชิงยุทธศาสตร์ในการที่จะก้าวข้ามความท้าทายดังกล่าวไปด้วยความสำเร็จ"
Mr.Porter ซึ่งมีสัญชาติออสเตรเลียนั้น ขณะนี้กำลังดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการธนาคารโลกประจำ กัมพูชา สปป.ลาว มาเลเซีย และมองโกเลีย โดยที่จะยังคงดูแลประเทศเหล่านี้อยู่หลังจากเข้ารับตำแหน่งในประเทศไทย Mr.Porter ซึ่งเข้าร่วมงานกับธนาคารโลกครั้งแรกในฐานะนักเศรษฐศาสตร์ โดยผ่านโครงการ Young Professionals Program ในปี 1976 นั้นเคยมีโอกาสทำงานเกี่ยวกับเมืองไทยในระยะเริ่มแรก เขากล่าวว่ามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะได้มีโอกาสดูแลงานของธนาคารโลกในประเทศไทย
"ผมรู้สึกตื่นเต้นที่จะได้กลับมาทำงานในประเทศไทยอีกครั้ง" Mr.Porter กล่าว "ผมรอคอยที่จะมีโอกาสสร้างความร่วมมือกับส่วนต่างๆ ทั้งจากภารัฐ ประชาสังคม และภาคเอกชนให้เข้มแข็งเพื่อที่จะงานร่วมกันในการบรรลุเป้าหมายที่ทุกคนตั้งไว้ นั้นคือการลดระดับความยากจนสนับสนุนการเติบโตที่มีคุณภาพและการพัฒนาอย่างสมดุล"
ก่อนหน้านี้ Mr.Porter ได้ดำรงตำแหน่ง Acting Director, Strategy and Operations ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก อีกทั้งได้ทำหน้าที่ผู้อำนวยการของ Bank's Strategy and Resource Management Group ซึ่งดูแลประเด็นเกี่ยวกับการเงินและยุทธศาสตร์ของสถาบัน นอกจากนี้ Mr.Porter ยังดำรงตำแหน่งหัวหน้าของ Policy Support Unit ของ Corporate Secretariat ประจำธนาคารโลกเป็นระยะเวลา 4 ปี โดยทำงานอย่างใกล้ชิดกับตัวแทนจาก 181 ประเทศ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของคณะกรรมการผู้อำนวยการบริหารธนาคารโลก ทั้งนี้ก่อนหน้านั้น Mr.Porter ยังได้ดูแลการปฏิบัติงานของธนาคารโลกในแอฟริกาและเอเซียรวมทั้งในประเทศไทย
IAN C. PORTER, ผู้อำนวยการธนาคารโลกประจำ
ประเทศไทย กัมพูชา สปป.ลาว มาเลเซีย และมองโกเลียการศึกษา
M.A. in Development Economics, Sussex University, 1976
B.A. in Philosophy, Politics and Economics, Oxford University, 1973
ประสบการณ์การทำงานในธนาคารโลก Feb. 2001 Director, Strategy and Operations, ภูมิภาคเอเชียตะวันออก2000-01 Director, Strategy and Resource Management1996-00 Manager, Policy Support, Corporate Secretariat1992-96 Division Chief, Population and Human Resources, ภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก1987-92 Resident Representative ประจำประเทศทานซาเนีย1986-87 Principal Economist ประจำประเทศทานซาเนีย, โมซัมบิค และมาลาวี 1981-86 Senior Country Economist ประจำประเทศจีน1977-81 Country Economist ประจำประเทศไทยและเวียดนาม1976-77 Economist, Young Professionals Program
ประสบการณ์การทำงาน1974-75 Trade and Industry Economist, Office of the President and Cabinet, ประเทศมาลาวี1973-74 Trade and Prices Statistician, National Statistical Office ประเทศมาลาวี
เกียรติคุณ1973-75 Overseas Development Institute Fellowship1970-73 Scholarship at Wadham College, Oxford University
ผลงานการเขียนหนังสือ
Main or co-author of Would Bank publications:1988 China: Growth and Development in Gansu Province1985 China: Long-Term Development Issues and Options1984 China: The Health Sector1983 China: Recent Economic Trends and Policy Developments1982 China: Rural Finance - A sector Study1980 Thailand: Coping with Structural Change in a Dynamic Economy1978 Thailand: Towards a Development Strategy of Full Participation End.
-TM-