ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล เพิ่มทุน “สตราทีจิค อินคัม ฟันด์” หมื่นล้านบาท เน้นกลยุทธ์ Income Return คาดสร้างผลตอบแทน 3.5% - 4.5% ต่อปี

ข่าวหุ้น-การเงิน Monday August 8, 2016 10:31 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--8 ส.ค.--Mt Multimedia บลจ.ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล ประกาศเพิ่มทุน "กองทุนเปิดซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล สตราทีจิค อินคัม ฟันด์" 10,000 ล้านบาท ภายหลังจากที่นักลงทุนให้ความเชื่อมั่นลงทุนต่อเนื่องนับตั้งแต่เปิดตัวกองทุนเมื่อกลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดยเน้นกลยุทธ์ Income Return สร้างผลตอบแทนให้ผู้ลงทุน คาดการณ์ผลตอบแทนประมาณ 3.5% - 4.5% ต่อปี นายจุมพล สายมาลา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทได้รับอนุมัติเพิ่มทุนจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ให้เพิ่มทุนกองทุนเปิดซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิลสตราทีจิค อินคัม ฟันด์ (CIMB-Principal Strategic Income Fund: CIMB-PRINCIPAL SIF) เป็น 10,000 ล้านบาท เนื่องจากกองทุนมีขนาดเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ที่จัดตั้งกองทุนในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม กองทุนเปิดซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล สตราทีจิค อินคัม ฟันด์ (CIMB-PRINCIPAL SIF) ในช่วงที่ผ่านมาสามารถสร้างผลตอบแทนได้เหมาะสม จุดเด่นของกองทุนนี้คือ เน้นกลยุทธ์การจัดสรรพอร์ตการลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทน ด้วยการผสมผสานการลงทุนใน "ตราสารหนี้คุณภาพ" ที่มีความมั่นคง กับ "กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์หรือทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์" คุณภาพดีและมีรายรับประจำสม่ำเสมอ การบริหารพอร์ตการลงทุนในเชิง Active Management ด้วยการประเมินปรับน้ำหนักสัดส่วนการลงทุนอยู่อย่างต่อเนื่องให้เหมาะสมตามสภาวะตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อแสวงหาอัตราผลตอบแทนที่ดี เพื่อให้ได้พอร์ตแบบ Income Return ทำให้กองทุนมีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่สม่ำเสมอในระยะยาว "แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาตลาดหุ้นไทยรวมถึงตลาดหุ้นในกลุ่มอีเมอร์จิ้งมาร์เก็ตมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากกระแสเงินลงทุนของนักลงทุนต่างชาติด้วยเหตุผลการคลายความกังวลต่อสถานการณ์ BREXIT ทำให้นักลงทุนสถาบันเลือกที่จะมาลงทุนในกลุ่มอีเมอร์จิ้งมาร์เก็ตแทน แต่ในอนาคตก็มีโอกาสที่เงินลงทุนเหล่านี้จะขายทำกำไรซึ่งอาจทำให้ตลาดหุ้นมีความผันผวนได้ ในขณะที่ความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกยังคงเป็นปัจจัยหลักที่บั่นทอนในด้านการลงทุนต่อเนื่องในปีนี้ ซึ่งทำให้ธนาคารกลางหลักๆ ของโลกกลับมาดำเนินนโยบายสอดคล้องไปในทางเดียวกันอีกครั้ง คือ การใช้นโยบายเชิงผ่อนคลายต่อเนื่องทั้งด้านการคงอัตราดอกเบี้ยต่ำและการขยายระยะเวลาและมีโอกาสการเพิ่มวงเงิน QE เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม QE โดยเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2559 ผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% และเพิ่มวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามนโยบายเชิงผ่อนคลายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศและรองรับผลกระทบจาก BREXIT" สำหรับในประเทศไทยเมื่อวันที่ 3 สิงหาคมที่ผ่านมา กนง.ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ระดับ 1.50% ต่อปี และคาดว่าจะทรงตัวอยู่ต่อไปอีกระยะหนึ่ง เรามองว่าภายใต้ภาวะความไม่แน่นอนของการลงทุนจะส่งผลทำให้ความต้องการลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลางถึงยาว และการลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์/REITs ของนักลงทุนสถาบันจะมีเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะผลตอบแทนที่มาจากกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นผลตอบแทนที่เป็นรายได้มากกว่าดอกเบี้ย และราคาไม่ผันผวนมากนัก โดยผลตอบแทนโดยรวมหรืออัตราเงินปันผลของ REITs สิงคโปร์อยู่ประมาณ 6.4% กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ไทยอยู่ที่ 6.1% "เรามองว่าเป็นโอกาสที่ดีสำหรับการสร้างผลตอบแทนของพอร์ตการลงทุนกองทุน CIMB-PRINCIPAL SIF ซึ่งมีสัดส่วนการลงทุนในกลุ่มกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และ REITs ในขณะที่การลงทุนส่วนตราสารหนี้จะเน้นกลยุทธ์ Enhanced Strategy ด้วยการเลือกลงทุนตราสารระยะกลาง – ระยะยาวเพื่อเพิ่มผลตอบแทน เราเชื่อว่ากองทุน CIMB-PRINCIPAL SIF จะสามารถสร้างผลตอบแทนที่เหมาะสมได้อย่างต่อเนื่องจากแบบจำลอง Model Portfolio ที่เราได้ทำการทดสอบไว้เราคาดว่าจะสามารถสร้างผลตอบแทนจะอยู่ที่ประมาณ 3.5% - 4.5% ต่อปี ซึ่งกองทุนนี้สามารถตอบโจทย์ผู้ลงทุนที่ต้องการแสวงหาโอกาสของการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการฝากเงินเพียงอย่างเดียวในระดับความเสี่ยงที่ไม่สูงนัก เราเชื่อว่ากองทุนนี้จะเป็นอีกหนึ่งกองทุนที่จะสามารถสร้างผลตอบแทน Income Return ที่เหมาะสมให้กับท่านนักลงทุน" นายจุมพลกล่าว สำหรับนักลงทุนที่สนใจ กองทุนเปิดซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล สตราทีจิค อินคัม ฟันด์ (CIMB-PRINCIPAL SIF) สามารถขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ทุกสาขา ทั่วประเทศ และผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล โทร.0-2686-9595 www.cimb-principal.co.th ที่มา: Model Portfolio จัดทำโดย บลจ.ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล อัตราผลตอบแทนเป็นการประมาณการ ไม่ได้เป็นการรับประกันผลตอบแทนแต่อย่างใด ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า(กองทุน) เงื่อนไขผลตอบและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลของกองทุนรวมโดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายการลงทุน ความเสี่ยงและผลการดำเนินงานของกองทุนรวมที่เปิดเผยไว้ในเวปไซต์ของบริษัท หรือสามารถขอข้อมูลได้จากฝ่ายการตลาดก่อนตัดสินใจลงทุน บริษัทจัดการอาจใช้สัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อเป็นเครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนของกองทุน (Hedging) ทั้งนี้ บริษัทผู้จัดการกองทุนอาจพิจารณาปรับเปลี่ยนอัตราส่วนในการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนของกองทุน ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุนในแต่ละช่วงเวลาของการลงทุน ทั้งนี้เนื่องจากกองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ