กรุงเทพฯ--11 ส.ค.--นิด้าโพล
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง "คุณชอบทีมใดในฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษ 2016 – 2017 และฟุตบอลไทยลีก 2016" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 23 – 28 กรกฎาคม 2559 จากประชาชนทั่วประเทศ กระจายทุกระดับการศึกษาและอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 4,117 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการติดตามฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษ 2016 – 2017 และฟุตบอลไทยลีก 2016 (Toyota Thai League) และทีมที่ชื่นชอบ อาศัยการสุ่มตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" ด้วยความน่าจะเป็นแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งภูมิภาคออกเป็น 5 ภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภาค สุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ (Systematic Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 0.8
จากผลการสำรวจ การติดตามฟุตบอลพรีเมียร์ลีก อังกฤษ (Barclays Premier League) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 77.39 ระบุว่า ไม่ได้ติดตาม ฟุตบอลพรีเมียร์ลีก อังกฤษ ขณะที่ ร้อยละ 22.61 ระบุว่า ติดตาม ซึ่งในจำนวนประชาชนที่ติดตาม ส่วนใหญ่ ร้อยละ 72.61 ระบุว่า ติดตามเป็นครั้งคราว ขณะที่ ร้อยละ 27.39 ระบุว่า ติดตามสม่ำเสมอ
จากการเปรียบเทียบผลการสำรวจในปี 2558 พบว่า มีสัดส่วนผู้ติดตามฟุตบอลพรีเมียร์ลีก อังกฤษสม่ำเสมอลดลง จากร้อยละ 34.69 เป็นร้อยละ 27.39
สำหรับ ทีมที่ชื่นชอบมากที่สุดในการแข่งขันฟุตบอลพรีเมียร์ลีก อังกฤษ ในฤดูกาล 2016 – 2017 ที่กำลังจะเริ่มขึ้น พบว่า ประชาชนที่ติดตาม ส่วนใหญ่ ร้อยละ 31.26 ระบุว่าชื่นชอบทีม Manchester United มากที่สุด รองลงมา ร้อยละ 24.60 ระบุว่าชื่นชอบทีม Liverpool ร้อยละ 10.20 ระบุว่าชื่นชอบทีม Arsenal ร้อยละ 7.30 ระบุว่าชื่นชอบทีม Chelsea ร้อยละ 7.20 ระบุว่าชื่นชอบทีม Leicester City ร้อยละ 3.33 ระบุว่าชื่นชอบทีม Manchester City ร้อยละ 0.96 ระบุว่าชื่นชอบทีม อื่น ๆ เช่น Tottenham Hotspur, AFC Bournemouth, Burnley, Everton, Hull City, Sunderland, West Ham United เป็นต้น และร้อยละ 15.15 ระบุว่า เฉย ๆ / ไม่มีทีมใดชอบเป็นพิเศษ
จากการเปรียบเทียบผล 3 ปี พบว่า ทีมฟุตบอลในพรีเมียร์ลีก อังกฤษที่คนไทยชื่นชอบลำดับ 1 ถึง 4 ไม่มีการเปลี่ยนแปลง คือ Manchester United, Liverpool, Arsenal และ Chelsea ในขณะที่ทีมแชมป์ฟุตบอลพรีเมียร์ลีก อังกฤษฤดูกาลล่าสุดอย่าง Leicester City ได้รับความนิยมจากคนไทยสูงขึ้นจากไม่มีอันดับใดเลยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ขยับขึ้นเป็นอันดับที่ 5 โดยได้รับความชื่นชอบจากคนไทยในระดับที่ใกล้เคียงกับ Chelsea และสามารถแซงหน้าทีม Manchester City ได้ ในขณะเดียวกัน ยังพบว่า มีสัดส่วนผู้ที่ไม่มีทีมใดที่ชื่นชอบเป็นพิเศษ/เฉย ๆ เพิ่มขึ้น โดย ในปี 2557 มีสัดส่วน ร้อยละ 4.38 และในปี 2558 มีสัดส่วน ร้อยละ 9.15
เมื่อถามถึง การติดตามฟุตบอลไทยลีก 2016 (Toyota Thai League) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 71.65 ระบุว่า ไม่ได้ติดตามฟุตบอลไทยลีก ขณะที่ ร้อยละ 28.35 ระบุว่า ติดตาม ซึ่งในจำนวนประชาชนที่ติดตาม ส่วนใหญ่ ร้อยละ 76.66 ระบุว่า ติดตามเป็นครั้งคราว ขณะที่ ร้อยละ 21.34 ระบุว่า ติดตามสม่ำเสมอ
สำหรับ ทีมที่ประชาชนชื่นชอบมากที่สุดในการแข่งขันฟุตบอลไทยลีก (Toyota Thai League) พบว่า ประชาชนที่ติดตามส่วนใหญ่ ร้อยละ 27.90 ระบุว่าชื่นชอบทีม เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด รองลงมา ร้อยละ 25.41 ระบุว่าชื่นชอบทีม บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ร้อยละ 4.89 ระบุว่าชื่นชอบทีม ชลบุรี เอฟซี ร้อยละ 3.61 ระบุว่าชื่นชอบทีม บางกอกกล๊าส ร้อยละ 2.23 ระบุว่าชื่นชอบทีม สุพรรณบุรี เอฟซี ร้อยละ 1.97 ระบุว่าชื่นชอบทีม นครราชสีมา มาสด้า เอฟซี ร้อยละ 1.29 ระบุว่าชื่นชอบทีม ราชบุรี มิตรผล และศรีสะเกษ เอฟซี ในสัดส่วนที่เท่ากัน ร้อยละ 5.40 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ สุโขทัย เอฟซี, เชียงราย ยูไนเต็ด, แบงค็อก ยูไนเต็ด, บีอีซี เทโรศาสน, อาร์มี่ ยูไนเต็ด, ราชนาวี เอฟซี, ชัยนาท ฮอร์นบิล เอฟซี, ซุปเปอร์ พาวเวอร์ สมุทรปราการ, พัทยา ยูไนเต็ด และร้อยละ 26.01 ระบุว่า ไม่มีทีมใดที่ชื่นชอบเป็นพิเศษ/เฉย ๆ
เมื่อเปรียบเทียบผล 3 ปี จะเห็นได้ว่า ในปีนี้เป็นปีแรกจากผลสำรวจสามปีที่ผ่านมาที่เอสซีจี เมืองทอง ได้รับความชื่นชอบมากกว่า ทีม บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด โดย เอสซีจี เมืองทองได้รับความนิยมสูงขึ้นเท่าตัว คือจากร้อยละ 13.72 ในปี 2558 เป็นร้อยละ 27.90 ในขณะที่สัดส่วนผู้ที่ชื่นชอบทีมบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดลดลงจากร้อยละ 36.83 ในปี 2558 เป็นร้อยละ 25.41 ในปี 2559 ส่วนทีมที่ได้รับความนิยมอันดับ สาม สี่และห้า ในช่วงสามปียังคงเป็น ชลบุรี เอฟซี บางกอกกล๊าส เอฟซี และ สุพรรณบุรี เอฟซี ตามลำดับ
เมื่อเปรียบเทียบผล 3 ปี ของการติดตามฟุตบอลไทยลีกและฟุตบอลพรีเมียร์ลีก อังกฤษ พบว่าปี 2559 เป็นปีที่สองต่อจากปี 2558 ที่คนไทยให้ความสนใจลีกฟุตบอลไทยมากกว่า ฟุตบอลพรีเมียร์ลีก อังกฤษ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.89 มีภูมิลำเนาอยู่ กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.19 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 17.80 มีภูมิลำเนาอยู่ ภาคเหนือ ร้อยละ 32.94 มีภูมิลำเนาอยู่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 15.18 มีภูมิลำเนาอยู่ ภาคใต้ ร้อยละ 53.29 เป็นเพศ ชาย ร้อยละ 46.64 เป็นเพศหญิง ร้อยละ 0.07 เป็นเพศทางเลือก ตัวอย่างร้อยละ 9.42 มีอายุ ต่ำกว่า 25 ปี ร้อยละ 17.85 มีอายุ 25 – 35 ปี ร้อยละ 21.59 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 29.44 มีอายุ 46 – 59 ปี ร้อยละ 16.57 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และร้อยละ 5.13 ไม่ระบุอายุ
ตัวอย่างร้อยละ 89.65 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.81 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.87 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และ ร้อยละ 5.66 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 23.73 สถานภาพโสด ร้อยละ 68.62 สถานภาพสมรส ร้อยละ 1.53 สถานภาพหม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และ ร้อยละ 6.12 ไม่ระบุสถานภาพ ตัวอย่างร้อยละ 26.89 ระบุว่าจบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 27.45 ระบุว่าจบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.02 ระบุว่าจบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 25.46 ระบุว่าจบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 4.98 สูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 7.20 ไม่ระบุการศึกษา ตัวอย่างร้อยละ 10.88 ประกอบอาชีพ ข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 11.80 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 20.94 ประกอบอาชีพ เจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 14.19 ประกอบอาชีพ เกษตรกร/ประมง ร้อยละ 15.38 ประกอบอาชีพ รับจ้างทั่วไป ร้อยละ15.18 ประกอบอาชีพ พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 4.08 ประกอบอาชีพ นักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 0.05 เป็นพนักงานองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร และร้อยละ 7.50 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่าง ร้อยละ 17.39 ระบุว่าไม่มีรายได้ ร้อยละ 20.96 มีรายได้ไม่เกิน 10,000 ร้อยละ 22.15 มีรายได้ต่อเดือน 10,001 – 20,000 มีร้อยละ 10.66 รายได้ต่อเดือน 20,001 – 30,000 ร้อยละ 5.03 มีรายได้ต่อเดือน 30,001 – 40,000 ร้อยละ 7.22 มีรายได้ต่อเดือน มากกว่า 40,001 ขึ้นไป และร้อยละ 16.59 ไม่ระบุรายได้