SEC: รายงานผลการประชุมคณะกรรมการ ก.ล.ต. ครั้งที่ 1/2543

ข่าวทั่วไป Tuesday January 18, 2000 11:19 —ThaiPR.net

กรุงเทพ--18 ม.ค.--ก.ล.ต.
คณะกรรมการ ก.ล.ต. ในการประชุมครั้งที่ 1/2543 เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2543 มีมติในเรื่องดังต่อไปนี้
1. มาตรการเพื่อพัฒนาตลาดตราสารหนี้
คณะกรรมการ ก.ล.ต. มีมติเห็นชอบมาตรการ เพื่อพัฒนาตลาดรองตราสารหนี้ ดังนี้
1) เสนอแนะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กำหนดให้การประกอบธุรกิจนายหน้าระหว่างผู้ค้าตราสารหนี้ (inter
dealer broker หรือ IDB) เป็นธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทหนึ่ง
2) กำหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้ค้าตราสารหนี้ (dealer) และ IDB รายงานข้อมูลการซื้อขายตราสารหนี้แก่ศูนย์ซื้อขาย
ตราสารหนี้ไทย (Thai BDC)
3) กำหนดให้ dealer ต้องนำพนักงานที่ปฏิบัติการเกี่ยวกับการค้าตราสารหนี้มาขึ้นทะเบียนกับ Thai BDC
4) เสนอแนะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในการแก้ไขหลักเกณฑ์การให้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์
ประเภทการค้าหรือการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้
2. การปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหุ้นต่อประชาชน
คณะกรรมการ ก.ล.ต. มีมติเห็นชอบแนวทางการปรับปรุงหลักเกณฑ์เพิ่มเติมเกี่ยวกับการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นต่อ
ประชาชน ในเรื่องเกี่ยวกับระบบการควบคุมภายใน
3. การเลื่อนตำแหน่งและแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานมาตรการเพื่อพัฒนาตลาดรองตราสารหนี้
คณะกรรมการ ก.ล.ต. มีมติเห็นชอบมาตรการเพื่อพัฒนาตลาดรองตราสารหนี้ ตามที่คณะอนุกรรมการพิจารณาแนวทาง
กำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจ ในตลาดตราสารหนี้เสนอ ดังต่อไปนี้
1. เสนอแนะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กำหนดให้การประกอบธุรกิจนายหน้าระหว่างผู้ค้าตราสารหนี้ (inter
dealer broker หรือ IDB) เป็นธุรกิจหลักทรัพย์อีกประเภทหนึ่ง โดย IDB จะต้องเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งขึ้น
ใหม่ และไม่ถูกควบคุมโดยผู้ค้าตราสารหนี้ (dealer) รายใดรายหนึ่ง ไม่ว่าด้วยการถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป หรือมีอำนาจ
ควบคุมการบริหาร
IDB จะมีบทบาทเป็นผู้รวบรวมข้อมูลราคาเสนอซื้อเสนอขายที่เป็นปัจจุบัน (real-time bid and offer) เผยแพร่ต่อ
dealer และจับคู่การซื้อขายให้ ตลอดจนสามารถเชื่อมโยงข้อมูลการซื้อขายที่ผ่าน IDB กับ data vendor เพื่อเผยแพร่ข้อมูลต่อ
สาธารณชน
นอกจากการให้บริการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าสำหรับการค้าตราสารหนี้แล้ว IDB ยังอาจให้บริการทำนองเดียวกันสำหรับ
การค้าสัญญาซื้อคืน (repurchase agreement) อนุพันธ์ทางการเงิน และเงินตราต่างประเทศได้ด้วย
2. กำหนดหลักเกณฑ์ให้ dealer รายงานข้อมูลการซื้อขายตราสารหนี้แก่ศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทย (Thai BDC) และ
ต่อไปเมื่อมีการให้ใบอนุญาต IDB แล้ว ก็จะกำหนดให้ IDB รายงานข้อมูลการซื้อขายตราสารหนี้ที่ทำผ่านระบบ IDB แก่ Thai
BDC ด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้มีข้อมูลการซื้อขายที่สมบูรณ์ให้ผู้ลงทุนอื่นๆ นำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
3. กำหนดให้ dealer ต้องนำพนักงานที่ปฏิบัติการเกี่ยวกับการค้าตราสารหนี้มาขึ้นทะเบียนกับ Thai BDC เพื่อประโยชน์
ในการกำกับดูแล dealer ไปถึงระดับบุคลากร
4. เสนอแนะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในการแก้ไขหลักเกณฑ์การให้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภท
การค้าหรือการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยยกเลิกข้อกำหนดให้ผู้ขอใบ
อนุญาตต้องมีกำไรสุทธิจากการดำเนินงานติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี และเปลี่ยนจากการกำหนดเงินกองทุนสุทธิและสินทรัพย์รวมสุทธิ
ขั้นต่ำ ในจำนวนแน่นอนมาเป็นการกำหนดให้ผู้ขอใบอนุญาตต้องสามารถดำรงเงินกองทุนและกันสำรองให้เป็นไปตามกฎหมายที่กำกับ
ดูแลสถาบันการเงินนั้น
การปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหุ้นต่อประชาชน
ตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ในการประชุมครั้งที่ 11/2542 เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2542 มีมติเห็นชอบร่างประกาศ
เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหุ้นต่อประชาชน โดยยกเลิกหลักเกณฑ์การพิจารณาในเชิงตัวเลข และเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การพิจารณา
เชิงคุณภาพ โดยเฉพาะในเรื่องเกี่ยวกับ good corporate governance และระบบการควบคุมภายในที่ดีของผู้ขออนุญาต นั้น
จากการหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องรวมทั้งตลาดหลักทรัพย์ฯ พบว่าหลักเกณฑ์ดังกล่าวบางเรื่องอาจเป็นอุปสรรคต่อการระดมทุน
ของบริษัทที่มีขนาดกลางและขนาดเล็ก (SME) ดังนั้น เพื่อลดภาระในด้านต้นทุนและระยะเวลาการเตรียมตัวก่อนยื่นคำขออนุญาตออก
และเสนอขายหุ้นต่อประชาชน คณะกรรมการ ก.ล.ต. จึงมีมติเห็นชอบในแนวทางการปรับปรุงหลักเกณฑ์เพิ่มเติมเกี่ยวกับการอนุญาต
ให้เสนอขายหุ้นต่อประชาชนให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ดังนี้
ร่างหลักเกณฑ์เดิม : มีระบบการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพ มีการจัดเก็บเอกสารที่ดี มีการตรวจสอบการปฏิบัติงาน
อย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 6 เดือนโดยหน่วยงานภายในบริษัท หรือว่าจ้างบุคคลภายนอกก็ได้ และรายงานผลต่อคณะกรรมการผ่าน
กรรมการอิสระหรือคณะกรรมการตรวจสอบ (ถ้ามี)
ร่างหลักเกณฑ์ใหม่ : พิจารณาเฉพาะการควบคุมภาย ในระดับผู้บริหาร (management control) และกำหนดให้ผู้
ยื่นคำขอต้องมีการปฏิบัติตามระบบดังกล่าวอย่างสม่ำเสมอรวมทั้งต้องมีความเห็นของกรรมการอิสระหรือคณะกรรมการตรวจสอบ
(ถ้ามี) ในเรื่องนี้ เนื่องจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และผู้บริหารจะต้องควบคุมการปฏิบัติงานภายใน (operational control) อย่าง
รัดกุม เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตนอยู่แล้ว รวมทั้งจะเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งหน่วยงานภายในหรือว่าจ้างบุคคล
ภายนอกมาตรวจสอบการปฏิบัติดังกล่าว
นอกจากนี้ เพื่อให้บริษัทที่ประสงค์จะออกและเสนอขายหุ้นต่อประชาชนมีระยะเวลาในการเตรียมตัว คณะกรรมการ
ก.ล.ต.จึงมีมติกำหนดให้ร่างประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหุ้นต่อประชาชน มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2543
เป็นต้นไป และกำหนดให้ภายหลังจากที่หลักเกณฑ์ในส่วนที่ปรับปรุงดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้วประมาณ 2 ปี ให้นำแนวทางการกำหนด
ให้บริษัทที่ขอออก และเสนอขายหลักทรัพย์ต้องมีระบบควบคุมภายในที่ดีมาพิจารณาทบทวนอีกครั้งหนึ่งด้วย
การเลื่อนตำแหน่งและแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูงของสำนักงาน
สำนักงานมีคำสั่งแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูงของสำนักงาน ดังนี้
1. นายประสงค์ วินัยแพทย์ เป็นรองเลขาธิการ
2. นายวสันต์ เทียนหอม เป็นผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส
3. นายชาลี จันทนยิ่งยง เป็นผู้ช่วยเลขาธิการ
4. นายรพี สุจริตกุล เป็นผู้ช่วยเลขาธิการ
5. นางทิพยสุดา ถาวรามร เป็นผู้อำนวยการฝ่ายกำกับธุรกิจหลักทรัพย์ และรักษาการผู้อำนวยการสำนักกำกับตลาด
6. นางสาวดวงมน ธีระวิคาวี เป็นรักษาการผู้อำนวยการฝ่ายกำกับธุรกิจจัดการลงทุน
7. นายกำพล ศรธนะรัตน์ เป็นผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ
8. นางณัฐญา นิยมานุสร เป็นผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการ
ทั้งนี้ ลำดับที่ 1-2 ตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2543 เป็นต้นไปและลำดับที่ 3-8 ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543 เป็นต้นไป--จบ--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ