กรุงเทพฯ--24 ส.ค.--มทร.ธัญบุรี
การออกแบบศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมหกจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ผลงานวิทยานิพนธ์ นักศึกษาสาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี "ดาว" นางสาวคุณากร คีตะโสภณ โดยมี อาจารย์เรวัฒน์ อามิน เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อส่งเสริมให้ คนในชุมชนเข้าใจในวัฒนธรรม
ดาว เล่าว่า วัฒนธรรม ในสังคมหนึ่งๆ ย่อมมีหลายวัฒนธรรม แต่ละวัฒนธรรมย่อมมีอัตลักษณ์ที่เด่นชัด แตกต่างกันไปเนื่องด้วยเชื้อชาติ ศาสนา ความเชื่อ หรือแต่ทัศนคตินั้นๆ เมื่อเกิดความต่างย่อมเกิดความไม่เข้าใจ ส่งผลให้เกิดคำถามขึ้นมากมาย เพราะเหตุใดปัญหาความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงเกิดขึ้นเป็นเวลาช้านาน เพราะเหตุใดจึงเกิดคำว่า แบ่งแยกดินแดน เพราะเหตุใดคนในชุมชนถึงทะเลาะกันเอง เพราะเหตุใดประเพณีบางอย่างถูกกลืนหายไป นี่เป็นเพียงคำถามบางส่วนที่ไม่สามารถหาคำตอบที่กระจ่างได้ ในพื้นที่จังหวัดยะลา นราธิวาส ปัตตานี สงขลา สตูล และตรัง เป็นจังหวัดภาคใต้ตอนล่างที่มีความเกี่ยวโยงกันในทางประวัติศาสตร์ ทำให้เกิด วัฒนธรรมต่างๆ ประกอบด้วย วัฒนธรรมไทยพุทธหรือวัฒนธรรมถิ่นภาคใต้ วัฒนธรรมไทยเชื้อสายจีน วัฒนธรรมไทยมุสลิมวัฒนธรรมไทยเชื้อสายมุสลิม-จีน วัฒนธรรมไทยใหม่หรือมอแกน และวัฒนธรรมซาไกหรือชาวป่า เป็นต้น
จากคำถามตอนต้นเกิดการหาคำตอบ ซึ่งสาเหตุมาจากความไม่เข้าใจในวัฒนธรรม ความเชื่อ ทัศนคติที่ผิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมตนเอง การไม่เคารพในวัฒนธรรมอื่น จึงเกิดปัญหาเหล่านั้นขึ้น ด้วยตนเองเป็นคนจังหวัดยะลา ตนเองจึงอยากนำความรู้ที่เรียนมา มาใช้ ตนเองจึงได้คิดโครงการเสนอแนะศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมในพื้นที่หกจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง เพื่อส่งเสริมให้คนในชุมชน หรือคนต่างชุมชนเข้าใจในวัฒนธรรม จากการเรียนรู้ผ่านงานสถาปัตยกรรมภายใน ออกแบบพื้นที่สาหรับคนในชุมชนหรือคนต่างชุมชน สามารถแลกเปลี่ยนทัศนคติร่วมกัน เมื่อเกิดความเข้าใจในวัฒนธรรมตนเองและวัฒนธรรมอื่นแล้ว ย่อมเกิดการอยู่ร่วมกันด้วยความเข้าใจกัน ให้เกียรติซึ่งกันและกันตามนโยบายของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งเป็นหน่วยงานภาครัฐภาคเอกชนที่มีพันธะกิจ ต้องการความสงบสุขกลับคืนสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ โดยมีนโยบายต้องการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ได้ตระหนักและเคารพคุณค่าของลักษณะเฉพาะทางศาสนา วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่ อีกทั้งต้องการปรับทัศนคติความคิด ความเชื่อของผู้ที่มีความเห็นต่าง โดยกระบวนการพูด และให้ความสำคัญกับพหุวัฒนธรรม เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข เมื่อเกิดความไม่กระจ่าง ความไม่เข้าใจในวัฒนธรรมตนเอง หรือวัฒนธรรมอื่นในชุมชนหรือสังคม ย่อมเกิดปัญหาต่างๆ ขึ้นอย่างแน่นอน
ศูนย์การเรียนรู้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงได้ เป็นพื้นที่บริการทั้งหมด 4901.5 ตารางเมตร ประกอบด้วย ส่วนต้อนรับ 172 ตารางเมตร ส่วนพักคอย 105 ตารางเมตร นิทรรศการชั่วคราว 368 ตารางเมตร นิทรรศการถาวร 3250ตารางเมตร ร้านขายของที่ระลึก 102 ตารางเมตร ร้านกาแฟ 47.5 ตารางเมตร โรงอาหาร 555 ตารางเมตร ห้องAuditorium 392 ตารางเมตร ผู้ใช้โครงการสามารถเข้าชม 10.00 – 16.00 น. รอบละ 20 คน ใช้เวลาในการเข้าชม 1.30 ชม. แนวคิดในการออกแบบแทนค่าด้วยคำว่า มุมกล้อง การเล่าเรื่อง ที่ว่าง มุมกล้องในการเล่าเรื่อง มุมกล้องในที่นี้ คือมุมมองที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ผ่านม่านตาของตนเอง ในการเล่าเรื่อง เป็นการถ่ายทอดเรื่องราว เนื้อหา ประวัติศาสตร์ ผ่านการมอง การได้ยิน การสัมผัส การอ่าน ที่ว่าง กล่าวคือ พื้นที่เรียนรู้ผ่านการแทนความหมายของความขัดแย้งเพื่อให้ผู้เรียนรู้สามารถซึบซับผ่านแต่ละที่ว่าง และได้เข้าใจมันด้วยตัวของเขาเอง สำหรับ 1 ชั่วโมง 30 นาที ในการเรียนรู้แบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก คือ 1. เรียนรู้ประวัติ สาเหตุความขัดแย้ง เรียนรู้แต่ละวัฒนธรรมแบบเลือก 2. เรียนรู้ความขัดแย้งในวัฒนธรรม โดยการเรียนรู้นี้จะบังคับการเดิน 3. แชร์ความคิดเห็นโดยการเขียน การอ่าน การฟัง ในการเดินภายในศูนย์การเรียนรู้ บังคับเรียนรู้ทั้งหมด 7 ห้อง ห้องเรียนรู้เกิดจากการแทนความหมาย การแทนค่าความรู้สึก ที่ต้องการให้ผู้เรียนรู้เกิดความรู้สึกต่างๆ ส่งผลให้ผู้เรียนรู้นึกคิดตามจนรู้สึก โดยทั้ง 7 ห้องมีดังต่อไปนี้ 1. ห้องการเรียนรู้ ดูถูก-ล้อเลียน เป็นการแทนค่าการเรียนรู้ผ่านน้ำระหว่าง ผู้เรียน A กับ B การดูถูกจากการถูกกระทำผ่านน้ำโดย B ส่วนการล้อเลียน ผู้เรียน B เรียนรู้ด้วยตัวเอง ในเรื่องกายภาพภายนอก
2. ห้องการเรียนรู้ ความไม่เข้าใจ-ความระแวง เป็นการแทนค่าการมองเห็นผ่านช่อง ผู้เรียน A มองผ่านช่องเห็นผู้เรียน B เกิดความไม่เข้าใจในกำรกระทำ ส่วนความระแวงถูกแทนค่าด้วยการเดินบนบันได ความไม่แน่นอนของลูกตั้งลูกนอนบันได ระดับความสูงบันไดจากพื้นห้อง 3. ห้องการเรียนรู้การเข้าใจผิด-การใส่ร้ายป้ายสี เป็นการแทนค่าการเรียนรู้ ผ่านการมองมิติภาพเฉกเช่นกำรมองภาพลวงตา แต่เป็นการมองด้วยระยะ แสงเงา สิ่งที่เห็นครั้งแรกผิดต่างจากการมองอีกครั้งหนึ่ง 4. ห้องการเรียนรู้การทะเลาะกัน การเรียนรู้นี้ต้องอาศัยการเกื้อกันของผู้เรียนรู้ AและBเพราะเป็นการทะเลาะ การแย่งพื้นที่ว่างระหว่างกัน การเดินของผู้เรียนหนึ่งส่งผลกระทบต่อผู้เรียนหนึ่ง ซึ่งถือเป็นการสร้างเหตุต่อการรู้สึกขัดใจ แต่ถ้ำผู้เรียนทั้งสองเกิดการเกื้อต่อกันการช่วยเหลือกันก็สามารถแบ่งปันพื้นที่ว่างร่วมกันได้ 5.ห้องการเรียนรู้กำรกลั่นแกล้ง เป็นการแทนค่าการกระทบกระทั่งต่อตนเองแทนค่าผลกระทบต่อตัวเองว่าถ้าโดนกลั่นแกล้งจะเป็นอย่างไร โดยถูกแทนค่าโดยการเดิน หากผู้เรียนเดินบนผ้าเพียงทางเดียวก็จะเปียก ไม่สามารถเดินต่อไปได้ แต่ถ้าผู้เรียนเรียนรู้โดยการเกื้อกันรอ ผู้เรียนรู้อีกทางหนึ่งและเดินพร้อมกัน ก็สามารถเดินผ่านไปได้ การเรียนรู้รู้เป็นการตัดสินใจของผู้เรียนรู้เองว่าจะกลั่นแกล้งตนเองหรือขอรับความช่วยเหลือ 6. ห้องการเรียนรู้การเหยียด-การประณาม แทนค่าด้วยการเดินที่ค่อยๆถูกบีบเสียงด่าทอที่ค่อยๆดัง และถูกมองไม่ดีจากผู้เรียนอีกกลุ่มหนึ่ง ทำให้รู้สึกถึงการถูกประณาม ผู้เรียนB ใช้สายตำที่มองไม่ดีผ่านกระจกด้วยการใช้สายตาอ่านข้อความที่ตึงเครียดเป็นการไม่ตั้งใจกระทำ 7. ห้องการเรียนรู้การหลงลืม-การแปรเปลี่ยนเป็นการแทนค่าการการแปรเปลี่ยนของพื้นที่ ผนังผ่านการกระทำของผู้เรียน ส่วนการหลงลืมแทนค่ำโดยออกแบบที่ว่างให้รกเดินลำบากทำให้ผู้เรียนหมกมุ่นกับพื้นที่นั้น แล้วก็มีเสียงดังชั่วขณะหนึ่ง ทำให้ผู้เรียนหยุดคิดไปช่วงจังหวะหนึ่งเฉกเช่นการหลงลืมวัฒนธรรมตัวเองไปช่วงจังหวะหนึ่ง
โดยดาวยังบอกอีกแล้ว ประโยชน์ในการศึกษา ทำให้ทราบถึงวัฒนธรรมของคนในพื้นที่หกจังหวัดภาคใต้อย่างเข้าใจ และสามารถถ่ายทอดผ่านงานสถาปัตยกรรมภายใน ทราบถึงพฤติกรรมของคนที่ใช้พื้นที่ในโครงการนี้ และสามารถตอบสนองการใช้งาน ความต้องการของคนที่ใช้พื้นที่ได้ และทราบถึงการออกแบบพิพิธภัณฑ์ที่ทำให้ผู้ใช้โครงการ หรือผู้เข้าชมโครงการนี้เข้าใจในเนื้อหาที่ถ่ายทอด และทำให้เกิดการเรียนรู้