SIPA Tech Meetup #5 : From Infrastructure to Application

ข่าวเทคโนโลยี Monday August 29, 2016 13:14 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--29 ส.ค.--ไอที เบเคอรี่ การจัดสัมมนา SIPA Technology Meetup 2016 : The Power of Collaboration เป็นการจัดงาน SIPA Technology Meetup ครั้งที่ 5 ของปีนี้ เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2559 ที่สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ภายใต้กิจกรรมการศึกษาและจัดสัมมนาเชิงวิชาการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรม ของสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) โดยมีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมงานอย่างล้นหลาม คุณปิยะฉัตร สำเร็จกาญจนกิจ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาระบบข้อมูลและนวัตกรรม สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวเปิดงานสัมมนา SIPA Technology Meetup 2016 ว่าวัตถุประสงค์ต้องการให้งานสัมมนาเป็นบรรยากาศเป็นกันเอง มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น ตอบข้อซักถาม และแชร์เทคโนโลยีใหม่ๆ ร่วมกันให้กับทุกคนที่อยู่ในแวดวงการพัฒนาซอฟต์แวร์ในเรื่องของ Full Stack Development ว่าจะทำอย่างไรที่จะทำให้การบริหารจัดการส่วนประกอบทั้ง 3 ส่วนไม่ว่าจะเป็น Infrastructure, Hardware และ Software สามารถทำงานร่วมกันและตอบสนอง Service ใดๆ ที่ถูกเรียกเข้ามาได้อย่างมีประสิทธิภาพ Ng Hak Beng, Engineer จาก SUSE Inc. บรรยายในหัวข้อ SUSE in the Enterprise ได้กล่าวว่า SUSE เป็นบริษัทโอเพ่นซอร์ส สัญชาติเยอรมัน ในภาษาเยอรมันอ่านออกเสียงว่า "ซูเซ" ย่อมาจากคำว่า "Software Und System-Entwicklung" ซึ่งมีความหมายเดียวกับ Software and Systems Development SUSEระดับEnterprise เรียกว่า SUSE Linux Enterprise ที่มีความเสถียรในเรื่องของ 1. Live Kernel Patching (SLES-Live Patching) เมื่อทำการ Patch Kernel ไม่ต้องทำการ Reboot 2. Snapshot/Rollback of OS ( SLES-Full System Snapshot and Rollback ) กรณีที่ Admin ทำการ Update, Patch หรือ อื่นๆ แล้วเกิดการเสียหาย สามารถทำการ Rollback File System ค่าเดิมก่อนการดำเนินการใดๆ ได้ SUSE ระดับ Enterprise สามารถ Support 1. IBM System Z 2. IBM Power 3. SAP Application (SAP HANA) และมี Software ในเรื่องของการจัดการ ดังนี้ SUSE Manager, SUSE Enterprise Storage และ SUSE OpenStack Cloud คุณโดม เจริญยศ, CEO, DomeCloud.io บรรยายในหัวข้อ Docker As A Service in DomePress ได้มาแชร์ประสบการณ์เรื่องการ Scale Web ของ TV Pool โดยใช้ WordPress ในการสร้าง Web เมื่อจะต้องนำ File มาแชร์เป็น Volume ให้กับตัว Docker ให้เห็น File ร่วมกันเป็นผืนเดียว ทางคุณโดมเลือกใช้ Ceph File System (ไม่ได้ใช้ Object บน Ceph), ใช้ Server รัน Ceph แล้วก็บริการ Ceph FS โดยให้ Docker Host มา Mount ขึ้นเป็นผืนเดียวกัน จากนั้นทำการ Deploy Docker Container, Fileใดต้องแชร์ก็จะMount Volume ที่ Host เห็นใส่เข้าไป เมื่อ Docker Host 3 ตัวมี File System ที่เป็นDistributed ซึ่ง Mount เข้ามาเห็นแล้วทุกอย่างต่อไปจะเป็นหน้าที่ ของ Docker จัดการต่อไป หลังจากนั้นเริ่มการ Deploy Services (nginx, MySQL, HHVM, MongoDB, Lua) ที่ต้องการใช้งานเข้าไปที่ Docker Container, หัวใจหลักที่ทำระบบ WordPress คือ ใช้ nginx (ใช้ nginx จำนวน 2 ชุด) เป็นตัวหลักในการทำทุกอย่าง เช่น ใช้ในการทำคิว, รับภาระในการ Protect Wordpress ข้างหลัง, เชื่อม Database ด้วย Lua, เขียน Log ด้วยLua เป็นต้น ซึ่งทำให้ Web ของ TV Pool สามารถรองรับการเข้าถึงจำนวนมากได้เป็นอย่างดี คุณจตุรภุช ตรีเพ็ชร, Co-founder, Ruk-com Co.,Ltd.และคุณมนตรี อุดมริยาห์ Specialist, Anasx Limited ร่วมกันบรรยายในหัวข้อ OpenATTIC Open Storage Framework ได้กล่าวว่า OpenATTIC เกิดขึ้นมาอยู่บน Software Defined Storage และออกมาเพื่อ 1. ช่วยในเรื่อง Deploy & Manage Storage 2. เข้าสู่ OpenSource GPL V2 3. Focus เรื่อง Storage Management 4. Support ทั้ง NAS / SAN Function 5. Base on Linux ที่ไม่จำกัดค่าย OpenATTIC เป็นเต้งหนึ่งของ Open Source Storage framework ไม่ว่าจะเป็น Technology Disk แบบไหนก็สามารถบริหารจัดการให้กับระบบที่เชื่อมต่อได้ทั้งหมด ทั้งยังมีความสามารถทำงานร่วมกับ legacy Ceph ISCI Gateway and DRBD โดยที่ Admin ไม่ต้องใช้เวลาในการติดตั้งและดูแลให้ยุ่งยากต่อไป สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ องค์การมหาชน (SIPA) โดยคุณอนุชิต ชโลธร นักเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้กล่าวสรุปว่า ทางบริษัท SUSE พูดในเรื่องบริการระดับ Enterprise ซึ่งจะช่วยในเรื่องของ Live Kernel Patching และ snapshot/Rollback ส่วนทางคุณโดม เน้นในเรื่องของการ Scaling ในด้าน Application และ Cluster และ คุณจตุรภัทร พูดถึงการใช้ OpenATTIC ในการ Deploy และ Manage Storage โดยไม่ต้องใช้เวลาในการติดตั้งและดูแลให้ยุ่งยาก สุดท้ายขอฝากเรื่องการตอบแบบสอบถาม ถ้าหากต้องการรู้ หรือเพิ่มเติมในเรื่องใดๆ ให้ตอบลงในข้อเสนอแนะเพื่อแจ้งให้ทาง SIPA ทราบ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างในการจัดสัมมนาในครั้งต่อ ๆ ไป ท่านที่สนใจงาน SIPA Technology Meetup สามารถติดตามได้ที่ www.sipatechmeetup.com หรือ www.facebook.com/sipatechmeetup

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ