รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนกรกฎาคม 2559

ข่าวหุ้น-การเงิน Wednesday August 31, 2016 13:09 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--31 ส.ค.--กลุ่มสารนิเทศการคลัง กระทรวงการคลัง "เศรษฐกิจไทยในเดือนกรกฎาคม 2559 สะท้อนการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยการบริโภคภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ที่ขยายตัว ส่วนหนึ่งมาจากรายได้เกษตรกรที่แท้จริงเพิ่มขึ้น ขณะที่การส่งออกสินค้ายังคงหดตัว สำหรับเศรษฐกิจด้านอุปทานปรับตัวดีขึ้นจากภาคเกษตรกรรมที่ขยายตัวเป็นบวก และภาคการท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ขยายตัวในเกณฑ์สูงได้อย่างต่อเนื่อง" นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนกรกฎาคม 2559 ว่า "เศรษฐกิจไทยในเดือนกรกฎาคม 2559 สะท้อนการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยการบริโภคภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ที่ขยายตัวส่วนหนึ่งมาจากรายได้เกษตรกรที่แท้จริงเพิ่มขึ้น ขณะที่การส่งออกสินค้ายังคงหดตัว สำหรับเศรษฐกิจด้านอุปทานปรับตัวดีขึ้นจากภาคเกษตรกรรมที่ขยายตัวเป็นบวก และภาคการท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ขยายตัวในเกณฑ์สูงได้อย่างต่อเนื่อง" โดยมีรายละเอียด สรุปได้ดังนี้ การบริโภคภาคเอกชนในเดือนกรกฎาคม 2559 ปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจาก ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 7.4 ต่อปี โดยเป็นการขยายตัวทั้งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล และเขตภูมิภาค สะท้อนกำลังซื้อของผู้บริโภคที่มีสัญญาณฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องตามแนวโน้มราคาผลผลิตสินค้าเกษตรที่เริ่มปรับตัวสูงขึ้น เช่นเดียวกับปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือนกรกฎาคม 2559 ขยายตัวที่ร้อยละ 9.6 ต่อปี ซึ่งสอดคล้องกับรายได้เกษตรกรที่แท้จริงในเดือนกรกฎาคม 2559 ที่ขยายตัวที่ร้อยละ 17.7 ต่อปี นอกจากนี้ สำหรับยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 0.9 ต่อปี ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 6.5 ต่อปี จากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากฐานการใช้จ่ายภายในประเทศที่ขยายตัวลดลง และการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าที่กลับมาหดตัว การลงทุนภาคเอกชนภาพรวมในเดือนกรกฎาคม 2559 ยังคงมีสัญญาณชะลอตัว โดยการลงทุนในหมวดก่อสร้าง สะท้อนจาก ภาษีการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์หดตัวร้อยละ -20.8 ต่อปี และปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศยังหดตัวร้อยละ -4.0 ต่อปี สำหรับการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณนำเข้าสินค้าทุนยังคงหดตัวอยู่ที่ร้อยละ -0.7 ต่อปี และเมื่อหักสินค้าพิเศษ (เครื่องบิน เรือ และรถไฟ) พบว่า หดตัวเช่นกันที่ร้อยละ -5.0 ต่อปี สถานการณ์ด้านการคลังในเดือนกรฎาคม 2559 พบว่า รายได้สุทธิของรัฐบาล (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ขยายตัวในระดับสูง โดยรัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ได้จำนวน 174.0 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 22.2 ต่อปี เนื่องจากการจัดเก็บรายได้ของส่วนราชการอื่นที่ขยายตัวได้ในระดับสูง โดยเฉพาะการนำส่งค่าภาคหลวงปิโตเลียม การประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 900 MHz (4G) และการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อประกอบกิจการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล งวดที่ 3 เป็นสำคัญ สำหรับการเบิกจ่ายงบประมาณรวมเบิกจ่ายได้จำนวน 184.2 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -17.0 ต่อปี จากการเบิกจ่ายจากงบประมาณปีปัจจุบันที่เบิกจ่ายได้จำนวน 176.1 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -15.6 ต่อปี เนื่องจากการเบิกจ่ายรายจ่ายประจำ และรายจ่ายลงทุนที่หดตัวลง ขณะที่การเบิกจ่ายจากงบประมาณปีก่อนเบิกจ่ายได้จำนวน 8.1 พันล้านบาท ทำให้ดุลเงินงบประมาณขาดดุลจำนวน -32.1 พันล้านบาท ด้านอุปสงค์จากต่างประเทศผ่านการส่งออกสินค้าในเดือนกรกฎาคม 2559 หดตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ -4.4 ต่อปี เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวอย่างเปราะบาง โดยสินค้าส่งออกที่หดตัว เป็นผลจาก การหดตัวในหมวดเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร เช่น สินค้าในกลุ่มข้าว ยางพารา ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และในหมวดอุตสาหกรรม เช่น กลุ่มยานยนต์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ขณะที่เครื่องอิเล็กทรอนิกส์สามารถขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทานในเดือนกรกฎาคม 2559 ปรับตัวดีขึ้นจากภาคเกษตรที่กลับมาขยายตัวเป็นบวกและภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง สะท้อนจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรที่กลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 2.3 ต่อปี และขยายตัวร้อยละ 3.7 ต่อเดือนหลังหักผลทางฤดูกาล โดยได้รับปัจจัยบวกจากการขยายตัวของหมวดพืชผลสำคัญ หมวดปศุสัตว์ และหมวดประมง เป็นสำคัญ นอกจากนี้ ดัชนีราคาสินค้าเกษตรขยายตัวได้ดีเช่นกันโดยขยายตัวต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 มาอยู่ที่ร้อยละ 16.2 ต่อปี สำหรับจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยขยายตัวร้อยละ 10.8 ต่อปี และขยายตัวร้อยละ 6.2 ต่อเดือนหลังหักผลทางฤดูกาล โดยเป็นนักท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดีจาก จีน กลุ่มประเทศ CLMV อินเดีย เกาหลีใต้ และสหรัฐอเมริกา เป็นหลัก สำหรับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนกรกฎาคม 2559 หดตัวร้อยละ -5.1 ต่อปี จากการผลิตในหมวดยานยนต์ ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก เครื่องแต่งกาย และเคมีภัณฑ์ เป็นสำคัญ สอดคล้องกับการส่งออกในหมวดเดียวกันที่หดตัว นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) อยู่ที่ระดับ 84.7 และปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 85.3 จากความกังวลต่อต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น โดยเฉพาะราคาวัตถุดิบ และความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน รวมถึงความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออก เสถียรภาพเศรษฐกิจไทยทั้งในประเทศและต่างประเทศอยู่ในเกณฑ์แข็งแกร่ง สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่อยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.1 และ 0.8 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับอัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำเช่นกันที่ร้อยละ 1.0 ของกำลังแรงงานรวม ขณะที่สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2559 อยู่ที่ระดับร้อยละ 42.8 ถือว่ายังอยู่ภายใต้กรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60.0 สำหรับเสถียรภาพภายนอกประเทศยังอยู่ในระดับมั่นคงและสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกสะท้อนจากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2559 อยู่ที่ 180.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 3.3 เท่าเมื่อเทียบกับหนี้ต่างประเทศระยะสั้น เอกสารแนบ รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนกรกฎาคม 2559 "เศรษฐกิจไทยในเดือนกรกฎาคม 2559 สะท้อนการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยการบริโภคภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ที่ขยายตัว ส่วนหนึ่งมาจากรายได้เกษตรกรที่แท้จริงเพิ่มขึ้น ขณะที่การส่งออกสินค้ายังคงหดตัว สำหรับเศรษฐกิจด้านอุปทานปรับตัวดีขึ้นจากภาคเกษตรกรรมที่ขยายตัวเป็นบวก และภาคการท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ขยายตัวในเกณฑ์สูงได้อย่างต่อเนื่อง" 1. การบริโภคภาคเอกชนในเดือนกรกฎาคม 2559 ปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจาก ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือนกรกฎาคม 2559 ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 7.4 ต่อปี โดยเป็นการขยายตัวทั้งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลขยายตัวร้อยละ 11.7 และเขตภูมิภาคขยายตัวร้อยละ 6.1 สะท้อนกำลังซื้อของผู้บริโภคที่มีสัญญาณฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องตามแนวโน้มราคาผลผลิตสินค้าเกษตร ที่เริ่มปรับตัวสูงขึ้น เช่นเดียวกับปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือนกรกฎาคม 2559 ขยายตัวที่ร้อยละ 9.6 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า หดตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ -1.5 ต่อเดือน สอดคล้องกับรายได้เกษตรกรที่แท้จริงในเดือนกรกฎาคม 2559 กลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 17.7 ต่อปี สำหรับยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ในเดือนกรกฎาคม 2559 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 0.9 ต่อปี จากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากฐานการใช้จ่ายภายในประเทศที่ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 2.6 ต่อปี และการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้ากลับมาหดตัวที่ร้อยละ -1.7 ต่อปี สำหรับ นอกจากนี้ ปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคในเดือนกรกฎาคม 2559 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.0 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า หดตัวร้อยละ -2.9 ต่อเดือน อย่างไรก็ดี การบริโภคภาคเอกชนมีปัจจัยบวกจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 7 เดือน มาอยู่ที่ระดับ 61.4 และเป็นการปรับตัวดีขึ้นเป็นครั้งแรกของปี 2559 เนื่องจากสถานการณ์ภัยแล้งที่คลี่คลายลง ประกอบกับราคาพืชผลทางการเกษตรหลายรายการปรับตัวดีขึ้น ส่งผลต่อกำลังซื้อของภาคเกษตรกรและภาคครัวเรือนในต่างจังหวัดที่เริ่มมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับการคาดหวังของประชาชนที่คาดว่ารัฐบาลจะเน้นการใช้จ่ายเพื่อการลงทุนและการกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน 2558 2558 2559 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 มิ.ย. ก.ค. YTD ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ (%yoy) 1.0 1.0 1.7 -0.7 2.1 0.1 3.7 6.5 0.9 1.8 %qoq_SA / %mom_SA 1.1 -0.6 -1.1 2.6 -0.7 3.1 7.0 -6.5 ปริมาณนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค (%yoy) 2.2 10.8 2.0 1.5 -4.4 3.6 3.4 3.4 3.0 3.5 %qoq_SA / %mom_SA 0.0 -3.8 0.0 -1.1 7.8 -3.1 1.1 -2.9 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่ง (%yoy) -19.1 -12.5 -27.3 -24.9 -11.7 -26.6 4.9 19.6 9.6 -9.2 %qoq_SA / %mom_SA -0.4 -16.0 -4.4 9.3 -15.7 19.2 0.3 -1.5 ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ (%yoy) -0.2 10.9 -2.9 -10.6 2.3 -3.3 7.9 5.2 7.4 2.7 %qoq_SA / %mom_SA 9.2 -10.4 -3.2 8.0 3.1 0.6 0.7 -12.8 - รายได้เกษตรกรที่แท้จริง (สศค.) -9.2 -4.1 -15.5 -14.9 -5.9 -11.2 1.8 -0.6 17.7 -6.8 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค 64.7 68.4 64.9 61.8 63.6 63.4 61.1 60.6 61.4 62.1 2. การลงทุนภาคเอกชนในภาพรวมยังคงมีสัญญาณชะลอตัว โดยการลงทุนในหมวดก่อสร้างสะท้อนจากภาษีการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือนกรกฎาคม 2559 หดตัวร้อยละ -20.8 ต่อปี สำหรับปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือนกรกฎาคม 2559 หดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -4.0 ต่อปี ทางด้านดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือนกรกฎาคม 2559 หดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -3.9 ต่อปี โดยมีปัจจัยหลักจากการลดลงของดัชนีในหมวดซีเมนต์ (อาทิเช่น ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์-ผสม ปูนฉาบสำเร็จรูป) เนื่องจากมีปริมาณส่วนเกินในตลาดสูง หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ตามราคาวัตถุดิบและราคาเหล็กในตลาดโลกที่ลดลง เป็นสำคัญ ขณะที่การลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณนำเข้าสินค้าทุนยังคงหดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -0.7 ต่อปี ขณะที่เมื่อหักสินค้าพิเศษ (เครื่องบิน เรือ และรถไฟ) พบว่า หดตัวร้อยละ -5.0 ต่อปี เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน 2558 2558 2559 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 มิ.ย. ก.ค. YTD เครื่องชี้การลงทุนก่อสร้าง ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ (%yoy) 8.7 7.3 2.9 -0.5 22.2 6.6 12.9 -7.7 -20.8 5.3 %qoq_SA / %mom_SA -1.7 -3.0 2.3 24.1 -13.1 3.3 -20.8 -11.8 ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ (%yoy) -0.4 -2.5 -0.2 -0.7 2.1 3.1 -1.6 -3.5 -4.0 0.1 %qoq_SA / %mom_SA 0.3 1.8 -1.4 1.3 1.4 -3.0 -1.2 -2.5 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง -4.9 -3.7 -4.4 -5.7 -6.6 -5.1 -2.2 -2.6 -3.9 -3.7 เครื่องชี้การลงทุนในเครื่องจักร ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ (%yoy) -2.6 -11.3 -17.3 -0.3 17.2 4.0 13.6 4.0 -6.1 6.3 %qoq_SA / %mom_SA -1.7 -5.8 14.4 8.4 -9.9 2.3 -5.2 -5.5 ปริมาณนำเข้าสินค้าทุน (%yoy) -2.2 0.9 2.0 -10.8 0.2 -1.0 -11.6 -15.4 -0.7 -5.6 %qoq_SA / %mom_SA 0.3 1.2 -6.1 5.0 -0.6 -9.6 -1.5 3.5 ปริมาณนำเข้าสินค้าทุนหักครื่องบิน เรือ และรถไฟ (%yoy) -1.4 0.1 -3.6 -2.3 0.1 0.0 -5.1 -5.4 -5.0 -2.9 %qoq_SA / %mom_SA -1.0 0.1 0.8 2.0 -1.1 -5.9 1.9 -4.1 3. การจัดเก็บรายได้สุทธิของรัฐบาล (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ขยายตัวในระดับสูง โดยพบว่า รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ได้จำนวน 174.0 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 22.2 ต่อปี เนื่องจากการจัดเก็บรายได้ของส่วนราชการอื่นที่ขยายตัวได้ในระดับสูง จากการนำส่งค่าภาคหลวงปิโตรเลียม การนำส่งรายได้จากการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 900 MHz (4G) และการนำส่งรายได้จากการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อประกอบกิจการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล งวดที่ 3 เป็นสำคัญ สำหรับการเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือนกรกฎาคม 2559 เบิกจ่ายได้จำนวน 184.2 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -17.0 ต่อปี โดยการเบิกจ่ายจากงบประมาณปีปัจจุบันเบิกจ่ายได้จำนวน 176.1 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -15.6 ต่อปี เนื่องจากการเบิกจ่ายรายจ่ายประจำ และรายจ่ายลงทุนที่หดตัวลงที่ร้อยละ -17.3 และ -2.0 ต่อปี ตามลำดับ โดยเป็นผลจากการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณในช่วงต้นปีงบประมาณ สำหรับดุลเงินงบประมาณในเดือนกรฎาคม 2559 ขาดดุลจำนวน -32.1 พันล้านบาท เครื่องชี้ภาคการคลัง (พันล้านบาท) FY2558 FY2558 FY 2559 Q1/ FY58 Q2/ FY58 Q3/ FY58 Q4/ FY58 Q1/ FY59 Q2/ FY59 Q3/ FY59 มิ.ย. ก.ค. FYTD รายได้สุทธิของรัฐบาล (หลังหักการจัดสรรให้ อปท.) 2,213.4 507.5 469.9 652.5 585.5 585.9 492.6 717.2 238.2 174.0 1,969.7 (%y-o-y) 6.7 0.8 7.5 7.2 11.0 15.5 4.8 9.9 -7.3 22.2 11.1 รายจ่ายรัฐบาลรวม 2,601.4 844.1 617.6 569.6 570.1 890.9 680.0 677.8 264.8 184.2 2,432.8 (%y-o-y) 5.8 1.6 11.7 10.7 1.6 5.5 10.1 19.0 31.5 -17.0 8.0 รายจ่ายปีปัจจุบัน 2,378.1 766.4 557.7 529.4 524.6 807.7 604.2 638.8 250.8 176.1 2,226.8 (%y-o-y) 5.9 0.7 15.6 11.1 -0.3 5.4 8.3 20.7 34.4 -15.6 8.0 รายจ่ายประจำ 2,106.6 725.1 481.0 452.3 448.1 739.6 509.0 537.2 211.4 153.9 1,939.8 (%y-o-y) 7.4 12.5 7.3 8.1 -0.7 2.0 5.8 18.8 34.9 -17.3 5.2 รายจ่ายลงทุน 271.6 41.3 76.7 77.1 76.4 68.1 95.1 101.5 39.4 22.2 286.9 (%y-o-y) -4.4 -64.6 123.2 32.4 2.1 64.9 24.0 31.7 31.9 -2.0 31.7 รายจ่ายปีก่อน 223.3 77.7 59.9 40.1 45.5 83.2 75.8 39.0 14.0 8.1 206.1 ดุลเงินงบประมาณ -394.4 -347.3 -138.9 89.4 2.3 -306.9 -203.9 70.7 75.7 -32.1 -472.1 4. ด้านอุปสงค์จากต่างประเทศผ่านการส่งออกสินค้ายังคงหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนกรกฎาคม 2559 มีมูลค่า 17.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ -4.4 ต่อปี โดยสินค้าส่งออกที่หดตัวลดลงมาจากสินค้าในหมวดเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรจากการส่งออกสินค้าในกลุ่มข้าว ยางพารา ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และน้ำตาล และสินค้าส่งออกในหมวดอุตสาหกรรมที่หดตัวลงตามการลดลงของการส่งออกยานยนต์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก และเคมีภัณฑ์ ทั้งนี้ การส่งออกที่ยังคงหดตัวต่อเนื่อง เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวอย่างเปราะบาง ราคาน้ำมันที่ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ และผลผลิตภาคเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากความแปรปรวนของสภาพอากาศเป็นสำคัญ สำหรับมูลค่าการนำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐเดือนกรกฎาคม 2559 มีมูลค่า 16.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -7.2 ต่อปี ทั้งนี้ มูลค่าส่งออกสินค้าที่สูงกว่าการนำเข้าสินค้าส่งผลให้ดุลการค้าระหว่างประเทศในเดือนกรกฎาคม 2559 เกินดุล 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเทศคู่ค้าหลัก 16 ประเทศ 2558 2558 2559 (สัดส่วนการส่งออกปี 57 >> 58 ) Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 มิ.ย. ก.ค. YTD ส่งออกไปทั้งโลก (%yoy) -5.8 -4.7 -5.0 -5.3 -8.1 0.9 -4.1 -0.1 -4.4 -2.0 1.สหรัฐฯ (10.5% >> 11.2%) 0.7 5.6 2.6 0.2 -4.9 -3.2 0.6 4.7 n.a. -1.3 2.จีน (11.0% >> 11.1%) -5.4 -14.4 1.2 -1.0 -6.3 -6.4 -10.3 -11.9 n.a. -8.4 3.ญี่ปุ่น (9.6% >> 9.4%) -7.7 -9.2 -3.9 -8.2 -9.6 5.7 -7.5 -3.8 n.a. -0.9 4.สหภาพยุโรป (9.2% >> 9.3%) -5.7 -3.9 -8.4 -4.4 -5.9 -0.5 -1.0 0.9 n.a. -0.8 5.มาเลเซีย (5.6% >> 4.8%) -20.2 -14.7 -18.3 -18.7 -28.5 -4.1 -12.9 -12.8 n.a. -8.5 6.ฮ่องกง (5.6% >> 5.5%) -6.2 -11.5 -9.0 -2.0 -1.9 0.6 -8.2 2.2 n.a. -3.7 7.ตะวันออกกลาง (5.1% >> 4.8%) -10.0 -6.4 -23.7 -6.4 -3.0 -9.5 -2.5 -0.9 n.a. -6.4 8.ทวีปออสเตรเลีย (4.8% >> 5.3%) 5.3 10.1 7.6 8.4 -3.5 5.5 12.4 56.0 n.a. 8.9 9.สิงคโปร์ (4.6% >> 4.1%) -16.2 -5.4 0.3 -26.1 -31.0 22.5 -35.7 -49.7 n.a. -10.9 10.อินโดนีเซีย (4.2% >> 3.7%) -17.6 -15.4 -20.6 -21.0 -12.7 8.9 -7.3 -16.6 n.a. 0.8 11.แอฟริกา (3.7% >> 3.2%) -20.2 -14.5 -15.9 -22.1 -27.9 -11.7 -9.8 1.4 n.a. -10.8 12.เวียดนาม (3.5% >> 4.2%) 13.0 17.7 16.7 8.3 10.9 3.1 -0.1 -6.8 n.a. 1.4 13.ฟิลิปปินส์ (2.6% >> 2.8%) 2.1 7.4 -3.4 -6.4 10.8 15.4 13.5 21.5 n.a. 14.5 14.อินเดีย (2.5% >> 2.5%) -5.7 6.1 -4.8 -11.5 -11.8 -9.1 -2.4 -0.1 n.a. -5.8 15.เกาหลีใต้ (2.0% >> 1.9%) -9.2 0.6 -16.4 -10.7 -8.6 -9.7 -8.3 -4.3 n.a. -9.0 16.ไต้หวัน (1.8% >> 1.6%) -12.0 4.7 -11.5 -15.3 -23.1 -18.1 -1.1 1.2 n.a. -9.9 PS.อาเซียน-9 (26.1% >> 25.7%) -7.2 -2.5 -5.9 -10.6 -9.3 3.9 -10.4 -16.9 n.a. -3.5 PS.อาเซียน-5 (17.0% >> 15.3%) -15.1 -9.5 -11.8 -19.5 -19.1 9.1 -38.0 -23.0 n.a. -3.3 PS.อินโดจีน-4 (9.1% >> 10.4%) 7.7 10.5 5.5 7.2 7.9 -4.0 -3.5 -6.8 n.a. -3.8 ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบมูลค่าการส่งออกสินค้าของไทยกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค จะพบว่าประเทศต่าง ๆ มีการหดตัวเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ หากเปรียบเทียบในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2559 พบว่า มูลค่าการส่งออกสินค้าของไทยที่มีการหดตัวอยู่ที่ร้อยละ -2.0 ต่อปี ซึ่งเป็นการหดตัวน้อยกว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าของประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค 5. เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทานปรับตัวดีขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2559 ปรับตัวดีขึ้นจากภาคเกษตรที่กลับมาขยายตัวเป็นบวกและภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง สะท้อนจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือนกรกฎาคม 2559 กลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 2.3 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก(m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 3.7 ต่อเดือน โดยได้รับปัจจัยบวกจากการขยายตัวของหมวดผลผลิตหลัก ได้แก่ หมวดพืชผลสำคัญ หมวดปศุสัตว์ และหมวดประมง ที่ขยายตัวร้อยละ 0.7 5.8 และ 2.7 ต่อปี ตามลำดับ และสอดคล้องกับดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือนกรกฎาคม 2559 ที่ขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 16.2 ต่อปี ซึ่งเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 10.1 ต่อเดือน โดยเป็นการขยายตัวได้ดีในหมวดผลผลิตหลัก ได้แก่ หมวดพืชผลสำคัญ หมวดปศุสัตว์ และหมวดประมง เป็นสำคัญ ตามอุปสงค์ทั้งในประเทศ และต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น สำหรับจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือนกรกฎาคม 2559 มีจำนวน 2.95 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 10.8 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 6.2 ต่อเดือน โดยเป็นนักท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดีจาก จีน กลุ่มประเทศ CLMV อินเดีย เกาหลีใต้ และสหรัฐอเมริกา ที่ขยายตัวร้อยละ 11.5 22.9 16.4 10.5 และ 15.2 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนกรกฎาคม 2559 หดตัวอยู่ที่ร้อยละ 5.1 ต่อปี จากการผลิตในหมวดยานยนต์ ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก เครื่องแต่งกาย และเคมีภัณฑ์ เป็นสำคัญ สอดคล้องกับการส่งออกในหมวดเดียวกันที่หดตัว นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) ในเดือนกรกฎาคม 2559 ปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 2 มาอยู่ที่ระดับ 84.7 โดยมีปัจจัยหลักจากความกังวลต่อต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น โดยเฉพาะราคาวัตถุดิบ รวมทั้งผู้บริโภคยังมีความระมัดระวังการใช้จ่าย นอกจากนี้ ผู้ประกอบการมีความกังวลเพิ่มขึ้นของความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออก เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทาน 2558 2558 2559 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 มิ.ย. ก.ค. YTD ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรม (%yoy) -4.3 2.4 -11.6 -11.6 -0.1 -6.0 -1.6 -2.4 2.3 -3.4 %qoq_SA / %mom_SA 2.5 -10.2 1.0 6.8 -3.3 -4.8 -1.0 3.7 ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ร้อยละ) 85.8 89.2 85.2 82.7 86.0 86.0 85.6 85.3 84.7 85.6 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม 0.3 0.4 -0.3 0.9 0.3 -0.9 1.5 0.8 -5.1 -0.5 %qoq_SA / %mom_SA 0.5 -2.3 1.5 0.5 0.1 0.7 -0.9 -3.7 นักท่องเที่ยวต่างชาติ (%yoy) 20.4 22.8 36.9 24.9 3.7 15.5 8.2 7.2 10.8 11.9 %qoq_SA / %mom_SA 3.0 8.2 -1.7 -5.7 15.4 1.2 -1.2 6.2 6. เสถียรภาพเศรษฐกิจในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี และเสถียรภาพต่างประเทศอยู่ในระดับที่มั่นคง สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนกรกฎาคม 2559 อยู่ที่ร้อยละ 0.1 ต่อปี ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า โดยมีปัจจัยหลักจากการชะลอลงจากการที่ราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า รวมถึงราคาเนื้อสัตว์ ผัก และผลไม้ ที่มีการปรับตัวลดลงเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ดี ราคาอาหารสำเร็จรูปยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้น ทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังอยู่ในแดนบวก ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.8 ทรงตัวเทียบเท่ากับเดือนก่อนหน้า สำหรับอัตราการว่างงานในเดือนกรกฎาคม 2559 อยู่ที่ร้อยละ 1.0 ของกำลังแรงงานรวม หรือคิดเป็นผู้ว่างงาน 3.9 แสนคน ขณะที่สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2559 อยู่ที่ระดับร้อยละ 42.8 ถือว่ายังอยู่ภายใต้กรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60.0 สำหรับเสถียรภาพภายนอกประเทศยังอยู่ในระดับมั่นคงและสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ สะท้อนจากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2559 อยู่ที่ 180.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 3.3 เท่าเมื่อเทียบกับหนี้ต่างประเทศระยะสั้น เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ 2558 2558 2559 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 พ.ค. มิ.ย. ก.ค. YTD ภายในประเทศ เงินเฟ้อทั่วไป (%yoy) -0.9 -0.5 -1.1 -1.1 -0.9 -0.5 0.3 0.5 0.4 0.1 -0.1 เงินเฟ้อพื้นฐาน (%yoy) 1.1 1.5 1.0 0.9 0.8 0.7 0.8 0.8 0.8 0.8 0.7 อัตราการว่างงาน (yoy%) 0.9 1.0 0.9 0.9 0.8 0.9 1.1 1.2 1.0 1.0 1.0 หนี้สาธารณะ/GDP 44.4 43.3 42.7 43.1 44.4 44.1 42.8 43.4 42.8 n.a. 42.8 ภายนอกประเทศ ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้าน $) 31.6 8.4 6.1 6.9 10.2 16.6 8.4 2.2 3.0 n.a. 25.0 ทุนสำรองทางการ (พันล้าน $) 156.5 156.3 160.3 155.5 156.5 175.1 175.5 175.5 178.7 180.2 180.2 ฐานะสุทธิ Forward (พันล้าน $) 11.7 19.6 18.4 13.3 11.7 13.9 15.7 15.6 15.7 16.9 16.9 ทุนสำรองทางการ/หนี้ ตปท.ระยะสั้น (เท่า) 3.0 3.0 2.9 2.9 3.1 3.2 3.3 3.4 3.3 n.a. 3.3 สำหรับมาตรการการเงินการคลังที่กระทรวงการคลังได้ผลักดันตามนโยบายรัฐบาลโดยได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนกันยายน 2558 เป็นต้นมานั้น ถือว่ามีบทบาทสำคัญในการช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมาและปี 2559 ต่อไป โดยมีความคืบหน้าของมาตรการต่างๆ ถึง ณ วันที่ 22 สิงหาคม 2559 สรุปได้ดังนี้ 1. โครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ โดยการสนับสนุนเงินทุนให้แก่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองจำนวน 79,556 กองทุน ผ่านสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) กองทุนละไม่เกิน 500,000 บาท ภายในวงเงิน 35,000 ล้านบาท เพื่อใช้ในการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ในชุมชน เช่น ยุ้งฉางชุมชน โรงตากพืชผลทางการเกษตร โรงสีชุมชน การจัดหาแหล่งเก็บน้ำชุมชน และเครื่องจักรสำหรับแปรรูปสินค้าเกษตร เป็นต้น และเพื่อการดำเนินงานเพื่อเพิ่มศักยภาพในการประกอบอาชีพและความเป็นอยู่ของชุมชน ให้ดีขึ้น เป็นสำคัญ โดยสถานะปัจจุบันคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติได้ออกหลักเกณฑ์ในการดำเนินโครงการแล้ว และได้อนุมัติโครงการและงบประมาณแล้วจำนวน 63,456 กองทุน เป็นเงินงบประมาณจำนวน 31,664 ล้านบาท และมีการโอนเงินแล้ว 24,941 ล้านบาท และมีการเบิกจ่ายแล้ว 13,575 ล้านบาท 2. โครงการยกระดับศักยภาพหมู่บ้านเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนเงินทุนให้แก่หมู่บ้าน หมู่บ้านละไม่เกิน 200,000 บาท กรอบวงเงินรวมไม่เกิน 15,000 ล้านบาท โดยคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหลักการโครงการเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2559 และให้กระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินโครงการ โดยสถานะปัจจุบันได้อนุมัติโครงการแล้วทั้งสิ้น 85,443 โครงการ โอนเงินให้หมู่บ้านแล้วจำนวน 14,907 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 14,887 ล้านบาท 3. มาตรการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาภัยแล้ง และมาตรการเพิ่มขีดความสามารถภาคเกษตร ได้แก่ 3.1 โครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายฉุกเฉินและจำเป็นของเกษตรกรที่ประสบภัยแล้ง วงเงินสินเชื่อ 6,000 ล้านบาท ระยะเวลากู้ 1 ปี ดอกเบี้ยร้อยละ 0 ในช่วง 6 เดือนแรก และเดือนที่ 7 – 12 ดอกเบี้ยร้อยละ 4 และ จากข้อมูล ณ วันที่ 17 สิงหาคม 2559 พบว่า เบิกจ่ายเงินกู้แล้ว 1,922 ล้านบาท ให้กับเกษตรกรจำนวน 162,573 ราย 3.2 โครงการสินเชื่อ 1 ตำบล 1 SME เกษตร เพื่อสร้างความยั่งยืนของภาคเกษตรไทย วงเงินสินเชื่อ 72,000 ล้านบาท ระยะเวลากู้ 10 ปี ดอกเบี้ยร้อยละ 4 ใน 7 ปีแรก และปีที่ 8 - 10 คิดอัตราดอกเบี้ยปกติ และจากข้อมูล ณ วันที่ 17 สิงหาคม 2559 พบว่า เบิกจ่ายเงินกู้แล้ว 10,343 ล้านบาท ให้กับ SMEs ภาคการเกษตรจำนวน 8,039 ราย 4. มาตรการการเงินการคลังเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในระยะเร่งด่วน เพื่อสนับสนุนธุรกิจ SMEs ให้สามารถแข่งขันได้ 4.1 โครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS 5 (ปรับปรุงใหม่) (ค้ำประกันไม่เกินร้อยละ 30 ต่อพอร์ต วงเงินค้ำประกัน 100,000 ล้านบาท) บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) มีการค้ำประกันสินเชื่อแล้วจำนวน 87,586 ล้านบาท ให้กับ SMEs จำนวน 22,916 ราย 4.2 มาตรการสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมผ่านการร่วมลงทุน (Venture Capital วงเงินร่วมทุน 6,000 ล้านบาท) โดยธนาคารออมสิน ได้อนุมัติร่วมลงทุนกับ SMEs ไปแล้วจำนวน 3 ราย วงเงิน 70 ล้านบาท ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Bank) อนุมัติหลักการเพื่อร่วมลงทุนแล้ว 8 ราย วงเงิน 95.5 ล้านบาท ได้มีการอนุมัติเบิกเงินลงทุนแล้ว 3 ราย วงเงิน 46 ล้านบาท 4.3 โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Policy Loan) วงเงินสินเชื่อ 15,000 ล้านบาท โดยธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Bank) ได้อนุมัติสินเชื่อแล้วจำนวน 11,784 ล้านบาท ให้กับ SMEs แล้วจำนวน 3,928 ราย และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ได้มีการค้ำประกันสินเชื่อแล้วจำนวน 11,030 ล้านบาท ให้กับ SMEs แล้ว 3,869 ราย 5. มาตรการการเงินการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยเข้าถึงการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง 5.1 มาตรการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยแก่ผู้มีรายได้น้อยและปานกลาง ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ได้เปิดรับคำขอตั้งแต่วันที่ 19 ตุลาคม 2558 และจากข้อมูลล่าสุดได้มีการอนุมัติสินเชื่อแล้ว 16,094 ราย วงเงินอนุมัติ 22,329 ล้านบาท 5.2 โครงการบ้านประชารัฐ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อยครอบคลุมทั้งผู้มีรายได้ประจำ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือน ทหาร ตำรวจ และบุคลากรทางการศึกษา และผู้มีรายได้ไม่แน่นอนหรืออาชีพอิสระ ที่ไม่เคยมีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์มาก่อน ให้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ทั้งนี้ ให้รวมถึงการกู้ซ่อมแซม และ/หรือต่อเติมที่อยู่อาศัยผ่านการสนับสนุนสินเชื่อที่อยู่อาศัยเงื่อนไขผ่อนปรนจากสถาบันการเงินของรัฐ โดยข้อมูล ณ วันที่ 22 สิงหาคม 2559 ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ได้อนุมัติสินเชื่อ Post Finance แล้วจำนวน 5,629 ราย วงเงิน 4,847 ล้านบาท และธนาคารออมสิน อนุมัติสินเชื่อ Pre Finance แล้ว 38 ราย วงเงิน 1,235 ล้านบาท และอนุมัติสินเชื่อ Post Finance แล้ว 45,576 ราย วงเงิน 54,272 ล้านบาท

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ