กรุงเทพฯ--1 ก.ย.--ซีพี ออลล์
จังหวัดกาญจนบุรี ถือว่าเป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศไทย มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่ดึงดูด ให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติมาเยี่ยมชมความสวยงาม และยังเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษที่มีศักยภาพด้าน การท่องเที่ยวในระดับสูง ในแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเดินทางมากาญจนบุรีกว่า 10 ล้านคน และในแต่ละวันจะมีปริมาณขยะมูลฝอยกว่า 800 ตันต่อวัน ซึ่งขยะกว่าร้อยละ 23 เป็นขยะพลาสติก ดังนั้นเพื่อเป็นการรักษาทัศนียภาพให้แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญต่าง ๆ ยังคงสะอาดสวยงาม หลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม อาทิ ซีพี ออลล์ ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่น ,กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สส.), สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) , มูลนิธิโลกสีเขียว และเครือข่ายเยาวชนพัฒนาศักยภาพ จึงได้ขยายผลเครือข่ายเยาวชนไทยลดใช้ถุงพลาสติก มุ่งปลูกฝังพฤติกรรม"ลด ใช้ซ้ำ ทำใหม่" ล่าสุดลงพื้นที่โรงเรียนวิสุทธรังษี จัดตั้ง 'ธนาคารถุงพลาสติก' สู่เยาวชนกว่า 4,000 คน โดยมีนายบุญญะพัฒน์ จันทรอุไร รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี เป็นประธานในพิธี พร้อมเดินรณรงค์ "คนกาญจน์จิตอาสารักษ์สิ่งแวดล้อมรับการท่องเที่ยว" ร่วมกับ ชมรมจิตอาสาพนักงาน ซีพี ออลล์ , การท่องเที่ยวและกีฬา จ.กาญจนบุรี ย่านตลาดโต้รุ่งใจกลางเมืองกาญจน์
นายบัญญัติ คำนูณวัฒน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บมจ.ซีพี ออลล์ กล่าวถึง แนวคิดของการสร้างเครือข่ายเยาวชนไทยลดใช้ถุงพลาสติก "คิดถุ๊ง คิดถุง" เป็นเสมือนการสร้างพื้นที่เรียนรู้กระบวนการ ลด ละ เลิกใช้ถุงพลาสติก ในโรงเรียนให้กับเยาวชน
ตามนโยบายส่งเสริมการศึกษา พัฒนาเยาวชน ของซีพี ออลล์ เพื่อสนับสนุนให้เยาวชน "คิดก่อนใช้" หรือ "ปฏิเสธการรับถุงพลาสติก" พร้อมกับขยายเป็นเครือข่ายไปสู่เพื่อนระหว่างโรงเรียนและท้องถิ่น เพื่อปลูกฝังให้เยาวชนเหล่านี้เติบโตเป็นพลเมืองคุณภาพ เป็นผู้ใหญ่ที่มีความรับผิดชอบต่อทรัพยากรธรรมชาติ หวงแหนท้องถิ่นและพร้อมที่จะลงมือปฏิบัติเพื่อสิ่งแวดล้อม
"โรงเรียนวิสุทธรังษี เป็นโรงเรียนประจำจังหวัดที่มีการพัฒนามากว่า 100 ปี มีความพร้อมในการสนับสนุนโครงการสร้างเครือข่ายเยาวชนไทยลดใช้ถุงพลาสติก ทั้งในระดับผู้บริหาร ครูอาจารย์ และนักเรียนที่มีศักยภาพความเป็นผู้นำพร้อมที่จะขับเคลื่อนโครงการให้เป็นรูปธรรมในสถานศึกษา ซึ่งที่ผ่านมามีโรงเรียนร่วมเป็นภาคีเครือข่ายเยาวชนไทยลดใช้ถุงพลาสติกแล้วกว่า 69 โรงเรียน และมีเยาวชนเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 55,000 คน " นายบัญญัติกล่าว
ด้าน นายหงษ์ดี ศรีเสน ผู้อำนวยการ โรงเรียนวิสุทธรังษี เผยว่า โรงเรียนมีวิสัยทัศน์ในเรื่องการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน และมุ่งส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักการทำงานเพื่อส่วนรวม กล้าคิด กล้าแสดงออกอย่างมีเหตุผล และสามารถนำความรู้นั้นไปถ่ายทอดต่อได้ เรียกได้ว่าเป็นการพัฒนานักเรียนอย่างรอบด้าน ทั้งด้านหัวใจ , ด้านสมองและสองมือ ซึ่งหัวใจที่สำคัญของการพัฒนาสู่โรงเรียนปลอดถุงพลาสติก คือการนำ หลักการจัดการโรงเรียนทั้งระบบ หรือ (Whole School Approach) มาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาโรงเรียน ซึ่งประกอบด้วย 1.นโยบายบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน เป็นเสมือนเข็มทิศในการช่วยให้ทุกฝ่ายในโรงเรียนสามารถดำเนินการไปในทิศทางเดียวกัน 2. การจัดการกระบวนการเรียนรู้ มีการบูรณาการ ลดใช้ถุงพลาสติก ไปสู่การพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน และผู้นำนักเรียน เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้โดยตรง 3. การจัดการลด ใช้ซ้ำ ทำใหม่ ถุงพลาสติก ในโรงเรียน โดยจัดพื้นที่เรียนรู้ มี "ธนาคารถุงพลาสติก" เพื่อฝึกให้นักเรียนได้เรียนรู้ทางตรง จากการมีส่วนร่วมปฏิบัติและฝึกฝนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการลดใช้ถุงพลาสติกให้คุ้มค่าที่สุด 4. การมีส่วนร่วมสร้างเครือข่ายเยาวชนไทยลดใช้ถุงพลาสติกในจังหวัดกาญจนบุรี หัวใจสำคัญในการสร้างเครือข่าย คือ การมีส่วนร่วมภายในโรงเรียน ระหว่างโรงเรียนเรียนด้วยกัน และชุมชน ซึ่งก็ได้มีโรงเรียนหมู่บ้าน เด็ก มาร่วมเป็นเครือข่ายในครั้งนี้พร้อมเดินรณรงค์สู่ท้องถิ่นในกิจกรรม "คนกาญจน์จิตอาสารักษ์สิ่งแวดล้อมรับการท่องเที่ยว"
ขณะที่ นายบุญญะพัฒน์ จันทรอุไร รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี เปิดเผยว่า คนกาญจน์จิตอาสารักษ์สิ่งแวดล้อมรับการท่องเที่ยว ถือเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับเป้าหมายของจังหวัดรณรงค์ ลด ละ เลิกใช้ถุงพลาสติก เกิดจากความตั้งใจและจิตอาสาของพันธมิตรหลายภาคส่วนที่ร่วมมือร่วมใจและ มีน้ำใจหนึ่งใจเดียวกัน ร่วมกันทำความดี อันเป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสมัครสมานสามัคคีและยิ่งมีจิตอาสาเพื่อสังคมด้วยแล้ว ยิ่งเป็นที่น่าชื่นชม โครงนี้จะประสบความสำเร็จได้ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน จึงอยากเชิญชวนให้พ่อค้า แม่ค้า นักท่องเที่ยวและประชาชน ร่วมกันหันมาปฏิเสธการรับถุงพลาสติกถ้าไม่จำเป็น
นอกจากนี้จังหวัดกาญจนบุรีได้ มียุทธศาสตร์การจัดการขยะมูลฝอยอย่างเป็นแบบแผนระยะยาวถึงปี 2562 ดังนี้ 1.กำจัดขยะมูลฝอยตกค้างสะสม 2.สร้างรูปแบบการจัดการขยะมูลฝอย เน้นการลดและคัดแยกขยะมูลฝอยตั้งแต่ตนทาง กำจัดโดยเทคโนโลยีแบบผสมผสาน เน้นการแปรรูปเป็นพลังงาน หรือทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด 3.วางระเบียบ มาตรการ การบริหารจัดการขยะมูลฝอย 4.สร้างวินัยของคนในชาติมุ่งสูการจัดการที่ยั่งยืนเน้นให้ความรู?ประชาชน และบังคับใช้กฎหมาย โดยสอดคล้องกับRoadmap ที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)