บลจ.กรุงไทยขายตราสารหนี้ 3 เดือนชู 1.45% ต่อปี

ข่าวหุ้น-การเงิน Wednesday September 7, 2016 11:36 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--7 ก.ย.--บลจ.กรุงไทย นางชวินดา หาญรัตนกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทอยู่ในระหว่างการเปิดจำหน่ายกองทุนเปิดกรุงไทยตราสารหนี้ เอฟไอเอฟ 112 (KTFF112) ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 13 กันยายน 2559 อายุ 3 เดือน เน้นลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ ประเภทเงินฝากประจำ Bank of China ( Macau ) , PT BANK RAKYAT INDONESIA ( PERSERO ) Tbk , China Construction Bank , Ahli Bank QSC และตั๋วเงินคลังประเทศญี่ปุ่น ผลตอบแทนประมาณ 1.45% ต่อปี นอกจากนี้ยังอยู่ในระหว่างการเปิดจำหน่ายกองทุนเปิดกรุงไทยสมาร์ทอินเวส 3เดือน3 ( KTSIV3M3) เสนอขายถึงวันที่ 9 กันยายน 2559 อายุ 3 เดือน เน้นลงทุนในตราสารหนี้ของธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย , ธนาคารทิสโก้ และตราสารหนี้ภาคเอกชน ประกอบด้วย บริษัทอีซี่ บาย , บริษัทบัตรกรุงไทย และบริษัทหลักทรัพย์ เคที ซีมิโก้ ผลตอบแทนประมาณ 1.30% ต่อปี โดยทั้ง 2 กองทุนบุคคลธรรมดาไม่เสียภาษี สำหรับอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ในประเทศมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกช่วงอายุตามอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรุ่นที่มีการทำ Bond Switching ประกอบกับแรงขายปรับพอร์ตของนักลงทุนเพื่อลดความเสี่ยงก่อนการประกาศข้อมูลเศรษฐกิจหลายตัวที่จะมีผลต่อการตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ( Fed) ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการไหลเข้าออกของเงินลงทุนต่างชาติ ส่วนอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ปรับตัวลดลงทุกช่วงอายุตามแรงซื้อกลับ หลังจากอัตราผลตอบแทนได้มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าคาด หลังประธาน Fed แถลงว่าเตรียมปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกของปีและจะทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป ในขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาในระหว่างสัปดาห์ค่อนข้างผสมผสานทำให้อัตราผลตอบแทนในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ทยอยปรับตัวขึ้นเรื่อยๆ สะท้อนว่าตลาดปรับตัวรอรับการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ในอนาคตถึงแม้ว่าตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรจะออกมาต่ำกว่าคาด และทำให้โอกาสในการปรับขึ้นดอกเบี้ยในเดือนกันยายนลดลง โดยสรุปอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้อายุคงเหลือ 2 ปี ปรับตัวลดลง 5 bps. มาอยู่ที่ 0.79% ต่อปี อายุคงเหลือ 5 ปี ปรับตัวลดลง 4 bps. มาอยู่ที่ 1.19% ต่อปี และอายุคงเหลือ 10 ปี ปรับตัวลดลง 2 bps.มาอยู่ที่ 1.60% ต่อปี สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้จะเป็นแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed แนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาและเศรษฐกิจโลก แนวโน้มราคาน้ำมัน ผลกระทบของ Brexit ต่อตลาดการเงินทั่วโลกและสถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ