สรุปการจัดเสวนา "มืออาชีพวงการสื่อระบุธุรกิจอินเทอร์เน็ตเรดิโอมีแววรุ่ง" โดยคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ม.ธรรมศาสตร์

ข่าวทั่วไป Wednesday November 14, 2001 16:37 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--14 พ.ย.--คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ม.ธรรมศาสตร์
กรุงเทพฯ 15 พ.ย. การเสวนาในหัวข้อ วิทยุอินเทอร์เน็ต รุ่ง หรือร่วง จัดโดยนักศึกษาหลักสูตรบริหารสื่อสารมวลชน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในโอกาสเปิดโครงการทดลองวิทยุบนอินเทอร์เน็ตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดมเรดิโอ ดอท เน็ต ระดมสมองนักธุรกิจสื่อวิทยุและอินเทอร์เน็ตมองอนาคตสื่อใหม่สถานีวิทยุบนอินเทอร์เน็ต ให้มุมมองในทิศทางเดียวกันถึงแนวโน้มการเติบโตของสื่อวิทยุบนอินเทอร์เน็ตมีความเป็นไปได้แม้จะลำบากในระยะแรกแต่หากพัฒนาในรูปแบบรายการใหม่จะมีโอกาสประสบความสำเร็จ
นางสาลินี ปันยารชุน นัดจัดรายการวิทยุชื่อดัง กล่าวว่า อินเทอร์เน็ตเรดิโอยังไม่เหมือนกับวิทยุจริงทั้ง 100 % เพราะเป็นสื่อใหม่ที่จะต้องใช้เวลาในการพิสูจน์อีกมาก ทำให้การลงทุนยังไม่ชัดเจน การจะบอกว่ารุ่งหรือร่วงไม่บอกไม่ได้ ข้อดีอย่างหนึ่งคือการทำให้คนสามารถเข้าถึงมากสื่อมากขึ้น อินเทอร์เน็ตเรดิโอจึงเป็นช่องทางเสริมที่เปิดโอกาสให้นักจัดรายการรุ่นใหม่เข้าสู่วงการ โดยสามารถเริ่มจากการจัดรายการเอง โดยไม่จำเป็นต้องมีสถานีวิทยุ อินเทอร์เน็ตเรดิโอจึงเป็นการจุดประกายสร้างบุคลากรรุ่นใหม่หรือสถานีวิทยุเฉพาะกลุ่ม (Personal Station) เป็นช่องทางที่เป็นทางเลือกเพิ่มในการรับฟังให้กับคนฟังมากขึ้น
สำหรับนักจัดรายการวิทยุในฐานะผู้ที่อยู่ในวงการเราควรจะติดตามวิวัฒนาการของเทคโนโลยี คอยจับตาดูเพราะสิ่งนี้อาจจะเป็นสิ่งชี้ชัดอนาคตของธุรกิจเพลง การมิวิทยุอินเทอร์เน็ต ทำให้เราได้ฟังเพลงที่เราชอบรวดเร็วมากขึ้น โดยไม่มีข้อจำกัดเฉพาะจะต้องฟังกับวิทยุ ขณะเดียวกันคนไทยที่อยู่ต่างประเทศจะสามารถฟังเพลงจากสถานีวิทยุได้ด้วย ในวงการวิทยุเมืองไทยปัจจุบันมีรูปแบบรายการครบทุกรูปแบบ มีการแข่งขันทางธุรกิจที่รุนแรงหาก แนวโน้มการผ่อนคลายการผูกขาดในธุรกิจสื่อตามรัฐธรรมนูญมาตรา 40 จะมีส่วนเอื้อประโยชน์กับคนทำงานสื่อวิทยุได้อีกทางหนึ่ง
ด้านตัวแทนจากธุรกิจอินเทอร์เน็ต นายจำเริญ กรเกษตร รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทอินเทอร์เน็ตประเทศไทย กล่าวว่า วิทยุอินเทอร์เน็ตสามารถเติบโตได้หากมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาเสริมเป็นการใช้ระบบฐานข้อมูลในการวิเคราะห์กลุ่มผู้ฟังเพื่อออกแบบรายการให้ตรงกับความต้องการของผู้ฟัง หัวใจสำคัญของวิทยุบนอินเทอร์เน็ต คือ ความสามารถในการเก็บเนื้อหารายการเพื่อฟังย้อนหลัง หากผู้ดำเนินการหาพันธมิตรที่เหมาะสมเข้ามาช่วยบริหารจะมีโอกาสร้างรายได้และพัฒนาไปสู่การทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต่อไป
จากแนวโน้มจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยที่คาดว่าจะเพิ่มเป็น 3 ล้านคนในสิ้นปีนี้ เป็นแนวโน้มที่ดีที่อินเทอร์เน็ตจะเป็นช่องทางในการให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและเป็นช่องทางเผยแพร่ความรู้ และทำธุรกิจ ในยุคปัจจุบันถือว่าอยู่ในช่วงแรกของการพัฒนาธุรกิจอินเทอร์เน็ต เป็นช่วงเวลาที่สามารถสร้างโอกาส การมีความคิดสร้างสรรออกแบบรายการที่มีความแตกต่างก็จะสามารถยึดพื้นที่ในการทำธุรกิจได้ก่อน แต่ทั้งนี้ผู้ที่เข้ามาในธุรกิจอินเทอร์เน็ตจะต้องมีความรู้และข้อมูลในการประกอบกิจการพอสมควร
นายสุรชาติ ตั้งตระกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัทสกายไฮท์เน็ตเวิร์ค ผู้บริหารสื่อวิทยุในเครืออาร์เอสโปรโมชั่น กล่าวว่า การฟังวิทยุอินเทอร์เน็ต จำเป็นต้องมีองค์ประกอบและปัจจัยหลายส่วน บางครั้งจึงดูเหมือนจะเป็นความยุ่งยาก การคิดพัฒนารูปแบบรายการวิทยุบนอินเทอร์เน็ตที่เหมาะสมจึงต้องใช้เวลา ถ้ารูปแบบที่พัฒนาขึ้นแปลกใหม่ไม่เหมือนใคร หาที่อื่นฟังไม่ได้ ก็จะเป็นทางออกที่น่าสนใจ การฟังวิทยุอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยยังมีจำนวนน้อย แต่จะมีประโยชน์มากกับคนฟังที่อยู่ในต่างประเทศ มองในแง่หนึ่งจะเป็นช่องทางในทางธุรกิจได้เช่นกัน เราต้องทำในสิ่งที่คนอื่นไม่มีปัจจัยการเติบโตของวิทยุอินเทอร์เน็ต คือ รูปแบบการจัดที่รองรับกลุ่มผู้ฟังทางวิทยุ วิทยุอินเทอร์เน็ตเป็นเพียงช่องทางเสริมเป็นทางเลือกในการฟัง ธุรกิจหลักของผู้ผลิตรายการวิทยุ ยังคงเน้นที่สื่อวิทยุแน่นอน ดังนั้นการวางเป้าหมายในอนาคต คือ การมองว่าสื่อที่เราจะเสนอต่อการเสนอต่อใคร ความชัดเจนของรูปแบบรายการจุดเด่นของสื่อวิทยุ วิทยุอินเทอรเทอรเน็ตจึงเป็นสื่อที่ต้องใช้เวลาโอกาสที่จะประสบความสำเร็จจะมีขึ้นแน่นอน ขึ้นอยู่กับใครจะใช้ความคิดสร้างสรรมาทำให้เกิดขึ้นธุรกิจขึ้นจริง
นายปรเมศร์ มินศิริ รองประธานบริการ บริษัทเอ็มเว็บ ได้รวมแสดงความคิดเห็นว่า การทำธุรกิจวิทยุอินเทอร์เน็ตถ้าต้องการทำให้ประสบความสำเร็จต้องทำให้แตกต่าง ในอนาคตอาจมีผู้คิดโมเดลธุรกิจและรูปแบบรายการที่เหมาะสมก็จะมีโอาสที่จะประสบความสำเร็จ อย่างไรก็ดีมีข้อควรระวังคือ การทำงานบนอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อที่เริ่มต้นจากการให้บริการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หากในอนาคตผู้ให้บริการต้องการเก็บค่าบริการ โอกาสที่ผู้บริโภคจะปฏิเสธบริการยังคงมีอยู่ การทำวิทยุอินเทอร์เน็ตนอกจากมีรายการที่ดีต้องมีเนื้อหาและข้อมูลที่แตกต่างให้บริการควบคู่กับไป หาเว็บไซต์ที่ให้บริการมีเนื้อหาที่ดี และมีกลุ่มเป้ามหายที่ต้องการก็จะมีส่วนช่วยสนับสนุนได้มาก--จบ--
-อน-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ