กรุงเทพฯ--9 มี.ค.--ลูเซ่น เทคโนโลยี่ส์
มร. เบน เวอร์วาเยน รองประธานกรรมการของลูเซ่น เทคโนโลยี่ส์ คาดการณ์ว่า วันหนึ่ง โลกของเราจะไม่มีปัญหาติดขัดในระบบการสื่อสาร มีช่องสัญญาณจำนวนมากพอที่จะรองรับบริการภาพยนตร์ 24 ชั่วโมง และโทรทัศน์ระบบอินเตอร์แอคทีฟ และมีสถานีฐานไร้สายขนาดเล็กจำนวนมาก ที่เชื่อมสัญญาณด้วยเครือข่ายเคเบิ้ลใยแก้วนำแสงช่วยให้ผู้บริโภคและองค์กรธุรกิจได้เข้าถึงเครือข่ายสื่อสารได้ทุกเวลาที่ต้องการ
มร. เวอร์วาเยน อยู่ในระหว่างเดินทางมาเยือนประเทศไทย 2 วัน และกล่าวแสดงความคิดเห็นต่อผู้สื่อข่าวที่แปซิฟิค ซิตี้คลับ กรุงเทพฯ ซึ่งพอสรุปได้โดยสังเขป ดังนี้
"การปฏิวัติการสื่อสารที่เกิดขึ้นจะเป็นเรื่องใหญ่กว่าเรื่องของประเทศใดประเทศหนึ่ง บริษัทใดบริษัทหนึ่ง หรือเทคโนโลยีประเภทใดประเภทหนึ่ง แม้ว่า เทคโนโลยีจะเป็นตัวผลักดันให้เกิดการปฏิวัติก็ตาม ตัวอย่างเช่น ไมโครชิพ ที่มีความหนาแน่นและความเร็วเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าทุกๆ 18-24 เดือน ใยแก้วนำแสงเพิ่มกำลังการรับ-ส่งสัญญาณได้เท่าตัวทุกปี ขีดความสามารถของสื่อสารไร้สายเพิ่มขึ้นเป็นพันเท่าในทุกๆ 5 ปี และซอฟท์แวร์ระบบสื่อสารเกิดขึ้นในทุกตลาดเสรี"
"การปฏิวัติการสื่อสารกำลังก่อให้เกิดเศรษฐกิจในยุคดิจิตอล ซึ่งเราสามารถเห็นเป็นรูปร่างบ้างแล้วในวันนี้" มร. เวอร์วาเยน กล่าว "ผมภูมิใจที่จะประกาศว่า ลูเซ่น เทคโนโลยี่ส์ เป็นศูนย์กลางของการปฏิวัติการสื่อสารในสหัสวรรษใหม่และเราพร้อมที่จะนำเทคโนโลยี่ส์ใหม่ๆ มาสู่ประเทศไทย และประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค ที่เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว"
ระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศจะอาศัยความรู้เป็นพื้นฐาน ซึ่งไม่ใช่ "เพียงแค่" มีข้อมูล แต่เป็นเรื่องการนำข้อมูลไปใช้ ขณะที่การกีดกันทางการค้าและอุปสรรคระหว่างประเทศจะลดน้อยลง การแข่งขันจะเริ่มกลายเป็นการแข่งขันระดับโลกมากขึ้นเรื่อยๆ "ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของการรวบรวมข้อมูลเพื่อสร้างความก้าวหน้า และนวัตกรรมและการสร้างสรรค์จะเป็นสองปัจจัยสำคัญที่จะนำมาซึ่งความสำเร็จ โดยไม่คำนึงถึงพรมแดน"
เมื่อระบบสื่อสารโทรคมนาคมมีช่องสัญญาณกว้างมหาศาลและต้นทุนต่ำมาก รูปแบบการทำธุรกิจเปลี่ยนไป เครือข่ายจะพร้อมบริการตลอดเวลา และข้อมูลจะเผยแพร่ผ่านระบบอิเล็คทรอนิคส์มากกว่าการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเครือข่ายจะกลายเป็นตัวกลางที่สำคัญในการติดต่อระหว่างบุคคลและข้อมูล "ตัวอย่างเช่น เครือข่ายสามารถจะเสาะหาบุคคลที่อีกบุคคลหนึ่งต้องการจะสื่อสารด้วย และโดยระบบเครือข่ายจะสามารถแปลภาษาให้ได้ทันที" มร. เวอร์วาเยน กล่าว
มร. เวอร์วาเยน กล่าวว่า "ค่าบริการจะไม่แพงอีกต่อไปและสินค้าจะถูกผลิตเพื่อความต้องการโดยเฉพาะเนื่องจากมีผู้เขียนซอฟท์แวร์อิสระจำนวนมาก นอกจากนี้ บริการต่างๆ ยังจะช่วยให้คนเข้าถึงบริการส่วนบุคคลและบริการสำหรับลูกค้าได้ ตัวอย่างเช่น เครือข่ายสามารถติดตามและรายงานราคาหุ้นและผู้ใช้สามารถปรับเปลี่ยนบริการให้เหมาะสมกับความต้องการของตนเองได้เช่น การซื้อ-ขายหุ้นโดยอัตโนมัติ เป็นต้น"
มร. เวอร์วาเยน ยังได้คาดการณ์เกี่ยวกับอินเตอร์เน็ตไว้ว่า อินเตอร์เน็ต จะเกี่ยวข้องกับช่องสัญญาณแถบกว้าง "ไฮ-ไอคิวเน็ต (Hi-IQNet) ตัวอย่างเช่น "ไฮ-ไอคิวเน็ต" จะช่วยให้ตัวแทนจำหน่ายซอฟท์แวร์สามารถที่จะคัดลอกข้อมูลบางส่วนตามต้องการได้เมื่อข้อมูลที่เข้าไปค้นหาบ่อยๆ ถูกเก็บไว้แล้ว นอกจากนี้ มีการเชื่อมต่อระบบโดยตรง ทำให้การสื่อสารระหว่างบุคคลกับเครือข่ายนับเป็นเรื่องธรรมดาและยังมีการใช้เสียงสั่งงานได้อีกด้วย"
การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่าในอนาคตอันใกล้นี้ คนจะใช้ชีวิตแตกต่างจากเดิม เพราะ "ระยะทางไม่ใช่อุปสรรคอีกต่อไป" มร. เวอร์วาเยน กล่าว "คนกลางจะหายไป ผู้บริโภคจะมีบทบาทและมีทางเลือกไม่จำกัด และสินค้าจะผลิตเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภค เพื่อรองรับ "ระบบตลาดเดียวทั่วโลก (markets of one)"
นอกจากนี้ ยังมีผลต่อการศึกษาทางไกล เมื่อครูคนหนึ่งสามารถสอนนักเรียนได้นับพันในเวลาเดียวกันได้ จะเป็นเรื่องจริงอย่างแน่นอน จะมีแพทย์ทางไกล (Tele-medicine) ซึ่งจะทำให้แพทย์ที่อยู่ห่างไกลหลายร้อยกิโลเมตรสามารถติดต่อสอบถามเพื่อวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยได้
มร. เวอร์วาเยน ย้ำว่า สำหรับประเทศไทยนั้น ลูเซ่น เชื่อมั่นในศักยภาพของไทย และจะลงทุนในระยะยาว "ประเทศไทยเป็นตลาดสำคัญของลูเซ่น เทคโนโลยี่ส์ และเป็นแหล่งที่น่าลงทุนและเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการทำธุรกิจ โดยมีตลาดแรงงานที่มีฝีมือ"
"ด้วยคุณลักษณะของประเทศไทยดังกล่าว จึงสอดคล้องกับแนวทางการดำเนินธุรกิจระดับโลกของลูเซ่นที่เน้นท้องถิ่นเป็นหลัก โดยลูเซ่นจะผนวกความสามารถระดับโลกเข้ากับความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในท้องถิ่นในประเทศนั้น เพื่อผลิตโซลูชั่นที่มีประโยชน์ต่อท้องถิ่น"
"นอกจากการดำเนินธุรกิจแล้ว ลูเซ่นยังมีโครงการสนับสนุนกิจกรรมสังคมไทยอีกด้วย เช่น การมอบทุนการศึกษาตลอดระยะเวลา 3 ปี เป็นจำนวนเงิน 600,000 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 23 ล้านบาท ให้แก่นักเรียน 240 โรงเรียนและครู 50 คน เพื่อให้เด็กนักเรียนได้มีโอกาสศึกษาต่อในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ"
ลูเซ่น เทคโนโลยี่ส์ ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมานาน มีหน่วยธุรกิจต่างๆ ประกอบด้วย โรงงานผลิต การขายและการให้บริการ โดยมีสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคอยู่ที่ฮ่องกง
ลูเซ่น เทคโนโลยี่ส์ มีสำนักงาน ใหญ่อยู่ที่เมอร์รี่ ฮิลล์ มลรัฐนิวเจอร์ซี บริษัทฯ ออกแบบ สร้าง และจำหน่าย ระบบเครือข่ายที่หลากหลายของระบบพื้นฐานและเฉพาะกิจ ระบบสื่อสาร และซอฟแวร์ ระบบเชื่อมโยงข้อมูล ระบบชุมสายโทรศัพท์สำหรับองค์กรธุรกิจและชิ้นส่วนไมโครอิเล็กทรอนิคส์ โดยมีเบลล์ ลาบอราทอรีส์ เป็นผู้ให้การสนับสนุนงานด้านวิจัยและพัฒนา หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมดูได้ในเว็บไซต์ http://www.lucent.com.
เผยแพร่โดย ลูเซ่น เทคโนโลยี่ส์ ไทยแลนด์ อิ๊งค์
ผ่าน บริษัท เพรสโก้ แชนด์วิค (ประเทศไทย) จำกัด
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ คุณปองปรัชญ์ สุโรจนะเมธากุล
โทร. 257 0300 โทรสาร 257 0312--จบ--