กรุงเทพฯ--14 ต.ค.--ฮาร์วีย์ ลอว์ กรุ๊ป
นายเดเมทริโอส เธโอฟีลาคโต เอกอัครราชทูตไซปรัส ได้เดินทางมาเยือนประเทศไทยเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เพื่อนำเสนอโครงการการถือสัญชาติยุโรปผ่านการลงทุน หรือรู้จักในชื่อ CIP แก่กลุ่มนักลงทุนภาคเอกชนได้บรรลุเป้าหมาย ชี้เป็นโครงการที่ให้ความสะดวกแก่คนไทยเรื่องการโยกย้ายถิ่นฐานเพื่อการลงทุน
นายเดเมทริโอส เธโอฟีลาคโต เอกอัครราชทูตไซปรัส กล่าวว่า "ประเทศเราคาดหวังที่จะระดมเงินทุนจากนักลงทุนไทยมาสู่ภาคส่วนต่างๆ ซึ่งประกอบไปด้วย ภาคทรัพย์สิน พลังงาน น้ำมันและก๊าซ โครงสร้างพื้นฐาน และการท่องเที่ยว" ไซปรัสประสบความสำเร็จในการดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศหลังจากการสร้างแรงจูงใจเหล่านี้มาอย่างต่อเนื่อง
"ไซปรัสมีเศรษฐกิจฐานบริการและตลาดเสรีที่ทันสมัย หากคุณพิจารณาที่จะทำธุรกิจในตลาดยุโรป ไซปรัสถือเป็นจุดหมายที่สำคัญในการจัดตั้งธุรกิจของคุณ"
ด้าน นายบาสเตียน เทรลแคท หุ้นส่วนผู้จัดการบริษัท เอชแอลจี (ประเทศไทย) จำกัด หรือ ฮาร์วีย์ ลอว์ กรุ๊ป ผู้บุกเบิกการโยกย้ายถิ่นฐานเพื่อการลงทุนแห่งเอเชีย เผยอีกว่า "ประเทศไซปรัสมีอัตราภาษีที่ต่ำสุดเมื่อเทียบกับทุกประเทศในยุโรป ด้วยอัตราแค่ 12.5% ของกำไรสุทธิ ในขณะที่ไม่มีการเก็บภาษีเมื่อรับเงินปันผล นอกจากนี้การจ่ายเงินปันผลให้แก่คู่ค้าและผู้ถือหุ้นที่อาศัยอยู่นอกประเทศยังปลอดภาษีอีกด้วย"
"ในเชิงของธุรกิจ หลายภาคส่วนได้เติบโตอย่างก้าวกระโดด และเมื่อเร็วๆมานี้มีการอนุญาตให้สำรวจน้ำมันและก๊าซในพื้นที่ ส่งผลให้จำนวนของนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าตัว และตัวเลขการซื้อทรัพย์สินโดยนักลงทุนต่างชาติก็เป็นไปในทิศทางเดียวกัน"
นายบาสเตียน ยังเสริมอีกว่า "จากวิกฤตการเงินในปี 2013 สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการที่ไซปรัสได้เรียกคืนความเชื่อมั่นในกลุ่มด้านการลงทุนทางการเงินกลับมาได้ กล่าวคือทางไซปรัสสามารถชำระเงินที่ยืมมาจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศได้เร็วกว่ากำหนด ปัจจุบันประชาชนของไซปรัสมีรายได้ต่อหัวที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศใดๆในสหภาพยุโรป
สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ไซปรัสประสบผลสำเร็จอย่างรวดเร็วในการฟื้นฟูเศรษฐกิจเกิดขึ้นจากโครงการถือสัญชาติและการขอถิ่นที่อยู่ถาวรในเกาะไซปรัส นักลงทุนต่างชาติจะมีสิทธิ์สมัครเข้าร่วมโครงการขอถิ่นที่อยู่ถาวรในประเทศไซปรัสได้ด้วยการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่มีมูลค่าขั้นต่ำ 11.5 ล้านบาท หรือลงทุน 77.6 ล้านบาทเพื่อขอเป็นพลเมือง ด้วยเหตุนี้เองที่โครงการนี้จึงเปรียบเสมือนแม่เหล็กดึงดูดคนไทยรายได้สูงที่จะได้รับประโยชน์จากการลงทุนในไซปรัส
ในปัจจุบัน ประเทศไซปรัสถือได้ว่าเป็นช่องทางที่รวดเร็วที่สุดสำหรับชาวต่างชาติที่ต้องการถือหนังสือเดินทางสหภาพยุโรปภายในระยะเวลา 2-3 เดือน ครอบครัวของคุณก็สามารถปักหลักใช้ชีวิต เรียนและทำงานในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปได้โดยไม่มีข้อจำกัดใดๆ
จริงๆแล้ว บุตรของพวกคุณสามารถเข้าเรียนมหาวิทยาลัยในกรุงปารีส (หรือแม้กรุงลอนดอน หากสหราชอาณาจักรยังไม่ถอนตัวจากสหภาพยุโรป) ในขณะเดียวกันคุณอาจกำลังทำธุรกิจในประเทศเยอรมนีสักสองสามวัน แล้วเดินทางผ่านลักเซมเบิร์กหรือสวิตเซอร์แลนด์เพื่อไปร่วมประชุมเรื่องการเงินกับนายธนาคาร ก่อนจะกลับบ้านในบาร์เซโลนาหรือลีมาซอล เมืองหลวงเศรษฐกิจของไซปรัส การถือสัญชาติไซปรัสผ่านการลงทุนถือเป็นการลงทุนที่แปลกใหม่ในยุโรป (กับมอลตา) และยังคงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดในการเคลื่อนย้ายธุรกิจ
ในด้านของเสรีภาพ ชาวไซปรัสไม่เพียงแต่มีอิสระในการเดินทางในยุโรป พวกเขายังได้รับสิทธิประโยชน์ในระดับโลกเพราะผู้ที่ถือหนังสือเดินไซปรัสสามารถเดินทางไปยัง 158 ประเทศทั่วโลกได้โดยไม่ต้องขอวีซ่า เช่นจุดหมายปลายทางยอดนิยมต่างๆ (สหรัฐอเมริกา แคนาดา วีซ่าออนไลน์ของออสเตรเลีย) และการถือสัญชาติจะมีผลตลอดชีวิตและจะตกทอดจากรุ่นสู่รุ่นบุตรหลานของท่านจะยังคงมีสัญชาติไซปรัสเช่นเดียวกัน ส่วนอสังหาริมทรัพย์นั้นสามารถปล่อยให้เช่าหรือขายได้หลังจากระยะเวลา 3 ปีขึ้นไป และไม่มีความจำเป็นที่ต้องไปเดินทางไปประเทศไซปรัสก่อน ระหว่างหรือหลังกระบวนการเสร็จสมบูรณ์ นอกจากนั้น การซื้ออสังหาริมทรัพย์ก่อนสิ้นปี 2016 ถือเป็นช่วงเวลาทอง เพราะผู้ซื้อจะได้รับการลดค่าธรรมเนียมการโอนและการลดภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมถึงไม่มีการเพิ่มภาษีการขายของทรัพย์สินที่มีอายุมากกว่า 3 ปี
นายบาสเตียนกล่าวต่อว่า "สำหรับผู้ที่กำลังพิจารณาตัวเลือกที่เหมาะสมกว่านี้ ทางประเทศแคริบเบียนตะวันออกในเครือจักรภพบางประเทศก็มีทางเลือกที่น่าสนใจเสนอให้ ยิ่งกว่านั้น ฮาร์วีย์ ลอว์ กรุ๊ปยังมีการให้บริการแบบครบวงจรแก่ลูกค้าทางไกล" บาสเตียนกล่าวเสริมว่า "ในฐานะที่เราเป็นบริษัทกฎหมายที่จดทะเบียนในประเทศไทย เราตรวจสอบและเลือกการลงทุนที่ปลอดภัยสำหรับลูกค้าโดยเฉพาะ เราเตรียมความพร้อมในการประสานงานกับเจ้าหน้าที่และสำนักงานท้องถิ่น รวมถึงส่งมอบหนังสือเดินทางให้ถึงมือผู้รับเพื่อรักษาระดับความปลอดภัยของข้อมูลลูกค้าอย่างสูงสุด
ประเทศเซนต์คิตส์และเนวิส แอนติกาและบาร์บูดา เครือรัฐโดมินิกาและประเทศเกรเนดามุ่งเน้นการทำอุตสาหกรรมบนฐานโครงการโยกย้ายถิ่นฐานเพื่อการลงทุนเกือบ 100% เป็นเวลาหลายทศวรรษที่โครงการเหล่านี้เสาะหาแหล่งรายได้มาทดแทนอ้อยและภาคอุตสาหกรรมการเกษตร ซึ่งโครงการเหล่านี้กำลังจะเติบโตขึ้นอีกครั้ง การลดลงของอุตสาหกรรมการเกษตรที่เกิดขึ้นไม่เพียงแต่เป็นผลจากความไม่มั่นคงทางการเมืองและเศรษฐกิจทั่ว โลกในปัจจุบัน แต่ยังเกิดจากดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นของการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในประเทศแถบทะเลแคริบเบียน
ในปี 2012 ประเทศเซนต์คิตส์และเนวิสได้รับการอนุมัติโครงการก่อสร้างโรงแรม 5 ดาวในทะเลแคริบเบียนเป็นครั้งแรกภายใต้แบรนด์ Park Hyatt เงินลงทุนขั้นต่ำในการก่อสร้างตอนนั้นเริ่มต้นที่ 400,000 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ตอนนี้มีมูลค่าการขายถึง 450,000 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อมาในปี 2014 ประเทศเครือรัฐโดมินิกาเริ่มเดินหน้าโครงการ ก่อสร้างโรงแรม Kempinski ด้วยมูลค่าเริ่มต้นที่ 220,000 ดอลลาร์สหรัฐ หลังจากนั้นไม่นานนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในประเทศเริ่มที่จะพึ่งพิงโครงการ CIP เพื่อที่จะปรับปรุงโรงแรมและสิ่งอำนวยความสะดวกในด้านการท่องเที่ยวเดิมที่มีอยู่เพื่อเพิ่มระดับการให้บริการในประเทศและได้เสนอโฉนดที่ดิน(แทนหุ้น)ในการสร้าง คอนโดมิเนียม อีกทั้งนายอลิค ลอเรนซ์เจ้าของโครงการซิลเวอร์บีชที่เข้าร่วมโครงการ CIP ในเครือรัฐโดมินิกาเสนอทั้งหุ้นและโฉนดที่ดินเพื่อสร้างวิลล่าและรีสอร์ทระดับ 5 ดาวในอนาคตอันใกล้ โดยทั่วไปการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์จะต้องรอเป็นระยะเวลา 4-5 ปี ในขณะที่การถือสัญชาติจะยังคงอยู่ไปตลอดชีวิตและไม่ว่าจะผ่านไปกี่ยุคสมัยก็ตาม หลังจากระยะเวลาเก็บรักษาอสังหาริมทรัพย์หมดลง นักลงทุนมีสิทธิที่จะขายอสังหาริมทรัพย์ต่อ และเมื่อใกล้ขายออก พวกเขาสามารถโฆษณาทรัพย์สินส่วนนั้นในตลาด หรือขายต่อให้ผู้อื่น ซึ่งผู้ร่วมโครงการ CIP รายใหม่ท่านหนึ่งได้กล่าวไว้
นายบาสเตียน ยังยืนยันอีกว่า "การหาผู้เข้าร่วมโครงการจะง่ายยิ่งขึ้นเพราะผลิตภัณฑ์อสังหาริมทรัพย์ในประเทศแถบทะเลแคริบเบียนเป็นที่ถูกมองหาเพิ่มขึ้นหลังการเจริญเติบโตของจำนวนนักท่องเที่ยวและระดับความต้องการผลิตภัณฑ์ในโครงการ CIP ที่สูงขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องระลึกไว้ว่าที่ผ่านมาในอดีต จำนวนการลงทุนขั้นต่ำตามที่บังคับไว้มีแนวโน้มที่จะเพิ่มตามสัดส่วนการขอหนังสือเดินทาง หากพูดถึงนักลงทุนในโครงการ CIP ที่เคยซื้ออสังหาริมทรัพย์ขั้นต่ำในเกรเนดาด้วยจำนวนเงินที่ 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ กลุ่มคนเหล่านี้มีการลงทุนที่ค่อนข้างเหมาะเจาะ เพราะหลังจากที่เกรเนดาได้เข้าร่วมเชงเก้นในเดือนพฤษภาคมปีที่ผ่านมาส่งผลให้จำนวนเงินลงทุนขั้นต่ำพุ่งขึ้นไปที่ 350,000 ดอลลาร์สหรัฐ กล่าวคือสูงขึ้น 40% ในชั่วข้ามคืน เครือรัฐโดมินิกาอาจจะปรับตัวเลขการลงทุนตามเกรเนดาหลังจากการเข้าร่วมเชงเก้นตามหลังเกรเนดาหนึ่งเดือน
นักลงทุนโครงการ CIP เขตทะเลแคริบเบียนสามารถเดินทางเข้าสหราชอาณาจักรและทุกประเทศในเครือจักรภพ (ฮ่องกง, สิงคโปร์, ออสเตรเลีย ฯลฯ) และยุโรปได้นานสูงสุด 6 เดือนต่อปีเพื่อที่จะกระตุ้นการลงทุนในประเทศเหล่านั้น (เงินลงทุนขั้นต่ำในโครงการลงทุนในสหราชอาณาจักร เทียร์ 1 เริ่มต้นที่ 2 ล้านปอนด์ และที่ออสเตรเลีย เริ่มที่ 5 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย)
อีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กันคือกลุ่มประเทศแคริบเบียนล้วนมีระบบภาษีที่เอื้อต่อการลงทุนอย่างมากจนทำให้การลงทุนเกือบจะปลอดภาษี เห็นได้ชัดจากแบรนด์ของต่างประเทศหลายแบรนด์มีความตั้งใจที่จะลงทุนในหมู่เกาะเหล่านี้มากขึ้น ยกตัวอย่างโครงการที่ผ่านมาล่าสุดของฮิลตันที่ประกาศว่าจะเดินหน้าโครงการ "Embassy Suites" โรงแรมติดชายหาดซึ่งตั้งอยู่บนเกาะเซนต์คิตส์และเนวิส มีกำหนดเปิดในปี 2017
การประชุมสุดยอดกรุงเทพฯ ในอาเซียนจัดขึ้นโดย บีคอน อีเว้นท์ และฮาร์วีย์ ลอว์ กรุ๊ป และจะจัดขึ้นหลังการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกในฮ่องกง IIS ในวันที่ 7-8 พฤศจิกายน 2016 การประชุม IIS ในกรุงเทพฯจะจัดขึ้นสองวันด้วยกันโดยจะเป็นการประชุมและการแสดงนิทรรศการที่จะให้ข้อมูลข่าวสารล่าสุดที่ครอบคลุมเกี่ยวกับโครงการการลงทุนแบบย้ายถิ่นฐานที่มีอยู่ทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นโครงการจากสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป แคนาดา แคริบเบียนออสเตรเลียและหมู่เกาะแปซิฟิก ดูวิดีโอเพิ่มเติมได้ที่นี่
สำหรับผู้ที่ต้องการทราบข้อมูลการเข้าร่วมการประชุมสุดยอดด้านการโยกย้ายถิ่นฐานเพื่อการลงทุนแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 4 (Investment Immigration Summit-IIS4) จะจัดขึ้นในวันที่ 10 - 11 พฤศจิกายน 2016 ณ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมและสมัครเข้าร่วมประชุมได้ที่ http://investmentimmigrationsummit.com