กรุงเทพฯ--30 พ.ค.--กรมอุตุนิยมวิทยา
ในปีนี้ฤดูฝนของประเทศไทยจะเริ่มตามปกติประมาณกลางเดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป สำหรับภาคใต้จะเข้าสู่ฤดูฝนก่อนภาคอื่นๆ
ประมาณปลายเดือนเมษายน เนื่องจากช่วงปลายเดือนเมษายน ร่องความกดอากาศต่ำที่พาดผ่านประเทสมาเลเซียจะเลื่อนขึ้นมาพาดผ่าน
ภาคใต้แต่ยังคงมีกำลังอ่อน ทำให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเป็นลมชื้นจะเริ่มพัดปกคลุมภาคใต้ ต่อจากนั้นร่องความกดอากาศต่ำจะมีกำลังแรงขึ้น
และเลื่อนขึ้นไปตามลำดับขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะพัดปกคลุมประเทศไทย ประมาณเดือนกรกฎาคมร่องความกดอากาศต่ำจะเลื่อนขึ้นไป
พาดผ่านประเทศจีนตอนใต้ ทำให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยมีกำลังอ่อนลงเป็นเหตุให้เกิดสภาวะฝนทิ้งช่วยบริเวณประเทศไทย
นาน 2-3 สัปดาห์ ซึ่งปริมาณฝนจะลดน้อยลงโดยทั่วไป แต่ในบางช่วงอาจมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมเฉพาะในภาคใต้ ซึ่งทำให้ภาคใต้
ยังคงมีฝนตกมากได้
ประมาณเดือนสิงหาคมประเทศไทยจะเริ่มมีปริมาณฝนเพิ่มขึ้น เนื่องจากร่องควมกดอากาศต่ำจะเลื่อนลงมาพาดผ่านตอนบนสุด
ของประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง ทำให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศมีกำลังแรงขึ้น และร่องนี้จะเลื่อนลงไปพาดผ่านตอนกลาง
ของประเทศในเดือนกันยายน และพาดผ่านภาคใต้ในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายนตามลำดับ ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ในช่วงเดือนสิงหาคมและ
กันยายน ประเทศไทยตอนบนจะมีปริมาณฝนมากกว่าเดือนอื่นๆ ส่วนช่วงเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม ภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะมีฝนมากกว่าช่วงอื่นๆ
สำหรับภาคใต้ฝั่งตะวันออกปริมาณฝนสูงสุดจะอยู่ในช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน ฤดูฝนของประเทศไทยตอนบนจะสิ้นสุดประมาณกลางเดือน
ตุลาคม ส่วนภาคใต้จะสิ้นสุดประมาณเดือนธันวาคม
พายุหมุนเขตร้อน ฤดูฝนปีนี้ คาดว่า จะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย 2-3 ลูก โดยจะเป็นพายุที่ก่อตัวในมหาสมุทร
แปซิฟิกและเคลื่อนผ่านประเทศฟิลิปปินส์ลงสู่ทะเลจีนใต้หรือที่ก่อตัวขึ้นในทะเลจีนใต้ และมีการเคลื่อนตัวมาทางทิศตะวันตกผ่านประเทศเวียดนาม
เข้าสู่ประเทศไทยตอนบน หรืออาจเคลื่อนตัวผ่านอ่าวไทยเข้าสู่ภาคใต้ของประเทศไทยได้ โดยมีแนวโน้มสูงสุดที่จะเคลื่อนผ่านประเทศไทยตอนบน
ในเดือนกันยายนและตุลาคม และผ่านภาคใต้ในเดือนพฤศจิกายน
ข้อควรระวัง บริเวณที่มีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนผ่านจะมีลักษณะของพายุลมแรง ฝนตกเป็นบริเวณกว้าง และจะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก
ในปลายพื้นที่ อาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งได้ สำหรับบริเวณชายฝั่ง จะมีพายุคลื่นซัดฝั่ง ทะเลมีคลื่นจัดถึงจัดมาก
ความสูงของคลื่น 2-5 เมตร จึงขอให้ประชาชนและชาวเรือระมัดระวังอันตรายจากภัยธรรมชาติดังกล่าว โดยขอให้ติดตามข่าวพยากรณ์อากาศ
จากกรมอุตุนิยมวิทยาในช่วงที่มีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนผ่านอย่างใกล้ชิดด้วย
การคาดหมายปริมาณฝน (มิลลิเมตร)ในฤดูฝน พ.ศ.2544
____________________________________________________________________________________________________
ภาค พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค.
____________________________________________________________________________________________________
เหนือ 150-200 160-210 150-200 190-240 190-240 90-140
ตะวันออกเฉียงเหนือ 160-210 190-240 180-230 230-280 210-260 90-140
กลาง 130-180 140-190 140-190 130-180 220-270 150-200
ตะวันออก 210-250 250-300 250-300 270-320 300-350 210-260
ใต้ฝั่งตะวันออก 100-150 80 -130 80 -130 90 -140 110-160 210-260 330-380 210-260
ใต้ฝั่งตะวันตก 280-330 310-360 310-360 360-410 400-450 340-390 150-200 50 -100
กรุงเทพมหานคร 210-260 130-180 130-180 160-210 280-330 220-270
การคาดหมายฝนปี 2544 เปรียบเทียบกับค่าปกติ
____________________________________________________________________________________________________
ภาค ต้นฤดูฝน กลางฤดูฝน ปลายฤดูฝน ต้นฤดูหนาว
(พ.ค. - มิ.ย.) (ก.ค. - ส.ค.) (ก.ย. - ต.ค.) (พ.ย. - ธ.ค.)
____________________________________________________________________________________________________
เหนือ สูงกว่าปกติเล็กน้อย ปกติ ต่ำกว่าปกติเล็กน้อย
ตะวันออกเฉียงเหนือ ปกติ ปกติ ต่ำกว่าปกติเล็กน้อย
กลาง สูงกว่าปกติเล็กน้อย ปกติ ต่ำกว่าปกติเล็กน้อย
ตะวันออก สูงกว่าปกติเล็กน้อย ปกติ ปกติ
ใต้ฝั่งตะวันออก ปกติ ปกติ ต่ำกว่าปกติเล็กน้อย ต่ำกว่าปกติเล็กน้อย
ใต้ฝั่งตะวันตก สูงกว่าปกติเล็กน้อย ปกติ ปกติ ต่ำกว่าปกติเล็กน้อย
กรุงเทพมหานคร สูงกว่าปกติเล็กน้อย ปกติ ต่ำกว่าปกติเล็กน้อย
สรุป ฤดูฝนปี 2544 นี้ จะเริ่มตามปกติประมาณกลางเดือนพฤษภาคม โดยในช่วงต้นฤ ส่วนใหญ่ของประเทศจะมีปริมาณฝนสูงกว่าปกติเล็กน้อย
ต่อจากนั้นจะมีฝนอยู่ในเกณฑ์ปกติถึงต่ำกว่าปกติเล็กน้อยและปริมาณฝนรวมของฤดูฝนในปีนี้จะน้อยกว่าปีที่แล้ว
หมายเหตุ - ฝนปกติ หมายถึง ปริมาณฝนเฉลี่ยในคาบ 30 ปี (พ.ศ.2504-2533)
- การคาดหมายสภาวะฝนนี้ คาดจากสถิติภูมิอากาศเป็นพื้นฐาน และเป็นการคาดหมายล่วงหน้าระยะยาวนาน
จึงอาจคลาดเคลื่อนได้--จบ--
-นห-