e-Commerce กับงานสัมมนาเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค

ข่าวเทคโนโลยี Tuesday August 21, 2001 13:45 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--21 ส.ค.--อย.
กระแส e-Commerce พุ่งแรง อย.ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ และคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จัดสัมมนาทิศทาง e-Commerce กับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพผ่านอินเทอร์เน็ต เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการวางมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคด้าน อี-คอมเมอร์ส อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
เมื่อวันที่ 14 ส.ค. 44 เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุมหลวงวิเชียรแพทยาคม ตึกสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา น.พ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา พร้อมด้วย ดร.สมนึก คีรีโต ที่ปรึกษาศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ และรศ.ดร.สุนิพนธ์ ภุมมางกูร คณบดีคณะเภสัชเศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกันแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและขยายขอบเขตไปทั่วโลก และได้มีการนำมาใช้ในการส่งเสริมการประกอบธุรกิจ หรือที่เรียกว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) ผ่านทางอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น เช่นการโฆษณาและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพผ่านทางอินเทอร์เน็ตระหว่างผู้ประกอบธุรกิจและผู้บริโภคโดยตรง หรือ ระหว่างผู้ประกอบธุรกิจด้วยกัน แต่อย่างไรก็ตาม อย.ได้พบการโฆษณาซึ่งให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ และเกินความจริง ตลอดจนมีการขายยาอันตราย วัตถุเสพติด ผ่านอินเอทร์เน็ตโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ดังนั้น การคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบการ เป็นสิ่งที่ต้องรีบดำเนินการและต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันและลดผลกระทบการลงที่จะเกิดต่อประชาชนผู้บริโภค รวมถึงการส่งเสริมให้มีการโฆษณาและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพผ่านอินเทอร์เน็ตอย่างถูกต้อง ตลอดจนส่งเสริมการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศให้เติบโตขึ้น สร้างความน่าเชื่อถือแก่ผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าวจึงได้ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ โดยศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดการประชุมสัมมนา เรื่อง "ทิศทาง e-Commerce กัยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ" ในวันอังคารที่ 28 สิงหาคม 2544 ตั้งแต่เวลา 8.30-16.15 น. ณ ห้องประชุมชั้น 7 อาคาร 80 ปี คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอมุมมมองการส่งเสริม e-Commerce ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ และเพื่อระดมความคิดเห็นของนักวิชาการ ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบวิชาชีพ องค์กรวิชาชีพ องค์กรคุ้มครองผู้บริโภค และผู้สนใจทั่วไปที่มีต่อ "กรอบแนวทางการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพทางอินเทอร์เน็ต" ซึ่งมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านร่วมแสดงความคิดเห็นและอภิปราย อาทิเช่น ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ รศ.จิราพร ลิ้มปานานนท์ จากคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ รศ.สุษม ศุภนิตย์ และคุณสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสมาพันธ์ผู้บริโภค เป็นต้น
การประชุมสัมมนาทิศทาง e-Commerce กับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ จะเป็นเวทีเปิดกว้างให้กับประชาชน ผู้ประกอบการ นักวิชาการ และผู้สนใจทุกท่าน ที่ต้องการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งในส่วนโอกาสและผลกระทบ เทคนิควิชาการ กฎหมาย แนวโน้มการคุ้มครองผู้บริโภคการปฏิบัติสำหรับผู้บริโภคที่ซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพหรือรับข้อมูลผลิตภัณฑ์สุขภาพทางอินเทอร์เน็ต ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมสัมมนาได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด หากต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติม สอบถามได้ที่ ศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หลายเลขโทรศัพท์ 0-2642-5101-10 ต่อ 807,809,810 หรือเปิดเวปไซต์ที่ www.ecommerce.or.th
ตารางสรุปการเปรียบเทียบปรับผู้ประกอบการที่ฝ่าฝืนการโฆษณาตามพระราชบัญญัติ
ที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
ปีงบประมาณ 2542-2544
ลำดับ พระราชบัญญัติ ปี 2542 ปี 2543 ปี 2544
ค่าปรับ/(ราย) ค่าปรับ/(ราย) ค่าปรับ-(ราย)
1 ยา 824,500 828,500 1,137,000
(72) (74) (99)
2 อาหาร 662,200 792,000 423,000
(136) (153) (81)
3 เครื่องมือแพทย์ 119,000 128,000 77,000
(21) (23) (13)
4 เครื่องสำอาง - - 12,000
(2)
5 วัตถุออกฤทธิ์ฯ 18,400 2,000 7,000
(4) (1) (3)
หมายเหตุ - สถิติดังกล่าวข้างต้นไม่ได้รวมการกระทำฝ่าฝืนการโฆษณาทางอินเทอร์เน็ต
- เฉพาะการดำเนินการเปรียบเทียบปรับโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
- สถิติปีงบประมาณ 2544 นับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2543-มิถุนายน 2544
สรุปการดำเนินการต่อผู้กระทำการฝ่าฝืนการโฆษณาทางอินเทอร์เน็ต
1. เครื่องสำอาง (ปี 2542-2543)
ปี 2542 ปี 2543
- มีการระงับการโฆษณา รวม 31 รายการ 18 13
- ขอหลักฐานพิสูจน์ข้อความ รวม 17 รายการ 13 4
2. ยา (ปี 2542-2544)
- เป็นการระงับการโฆษณาทางอินเทอร์เน็ต
จำนวนราย จำนวนผลิตภัณฑ์
ปี 2542 2 9
ปี 2543 4 17+19 homepages
ปี 2544 (ถึง พฤษภาคม 2544) 4 13
3. อาหาร (ปี 2543)
- แจ้งระงับการโฆษณาอาหารทางอินเทอร์เน็ต 1 รายการ
4. เครื่องมือแพทย์ (ปี 2543)
- พบการโฆษณา 180 รายการ เป็นการโฆษณาจากต่างประเทศ 157 รายการ
ชิ้นโฆษณาที่เหลือดำเนินการตักเตือน--จบ--
-นห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ