กรุงเทพฯ--28 ต.ค.--จีอี ประเทศไทย
• ความสร้างสรรค์: บันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อพัฒนาการสร้างบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลของเครือข่ายเชื่อมต่อในระบบส่งจ่ายกำลังไฟฟ้า (Electricity Girds) ของประเทศไทย
• ความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง: อ้างอิงถึงการที่ GE ได้รับสัญญาจำนวนสองฉบับในปีนี้ ซึ่งมีส่วนช่วยเสริมสร้าง ปรับปรุงเสถียรภาพของโครงข่ายไฟฟ้าที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และ ธุรกิจการเชื่อมต่อพลังงานของจีอี (NYSE: GE) ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) เพื่อการสร้างบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล เพื่อให้ กฟผ.สามารถตรวจสอบติดตามและเห็นการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบส่งจ่ายกำลังไฟฟ้าได้อย่างแม่นยำครบถ้วน
การเปลี่ยนแปลงโครงข่ายกริดไฟฟ้าให้เป็นระบบดิจิทัลมีส่วนสำคัญสำหรับประเทศไทยเพื่อการบรรลุเป้าหมายโครงข่ายกริดไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) ในปี 2561 ซึ่งตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายจะศึกษาความเป็นไปได้ในความร่วมมือทางเทคนิค ตลอดจนการแลกเปลี่ยนความรู้และความเชี่ยวชาญในการแก้ปัญหาต่างๆ ของระบบส่งไฟฟ้า และระบบการจัดการประสิทธิภาพสินทรัพย์ (Asset Performance Management : APM) ซึ่งจะเอื้อต่อการพัฒนาทั้งด้านการปฏิบัติงานและความยั่งยืนของโครงสร้างพื้นฐานของระบบส่งไฟฟ้าของกฟผ. ด้วยระบบ APM นี้ กฟผ. จะสามารถติดตามตรวจสอบและวิเคราะห์คาดการณ์ระบบส่งไฟฟ้าดิจิทัลทั้งระบบ และการปรับเปลี่ยนแพลตฟอร์มการบริการให้เป็นระบบดิจิทัลนั้น จะทำให้กฟผ. สามารถบริหารจัดการอุปกรณ์เครื่องจักร และจัดลำดับความสำคัญในเรื่องการบำรุงรักษาระบบได้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งสามารถทำการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ได้อย่างเต็มที่เหมาะสม เพื่อลดปัญหาความขัดข้องของระบบขณะทำงาน ทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายและยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ต่างๆ ได้อย่างดีอีกด้วย
นายแจ๊ค เวน, ประธาน ด้านธุรกิจการเชื่อมต่อพลังงานประจำภูมิภาคเอเชีย ของ GE กล่าวว่า "การใช้ระบบดิจิทัลนี้ จะช่วยให้ลูกค้าสามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการบริหารจัดการ และการใช้อุปกรณ์ในระบบให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด โดยความสามารถในการคาดการณ์การบำรุงรักษาระบบหรือความบกพร่องที่อาจเกิดขึ้นจะช่วยให้ กฟผ. สามารถบริหารจัดการต้นทุนได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งเพิ่มความน่าเชื่อถือในระบบส่งไฟฟ้า"
นอกจากบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้แล้ว ล่าสุดทาง กฟผ. ยังได้ลงนามในสัญญาจำนวนสองฉบับให้ GE เพื่อจัดส่งหม้อแปลงไฟฟ้าขนาดกำลัง 220 กิโลโวลต์ (200kV power transformers) และเครื่องเหนี่ยวนำขนาดกำลัง 500 กิโลโวลต์ (500kV shunt reactors) เพื่อติดตั้งในระบบส่งไฟฟ้าของ กฟผ. ซึ่งจะช่วยเสริมกำลังและขยายระบบส่งจ่ายกำลังไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย