การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างรวดเร็วในประเทศจีน เพิ่มข้อได้เปรียบด้านไฮ-เทคสนับสนุนข้อเสนอของกรุงปักกิ่งเพื่อเป็นเจ้าภาพจัดแข่งขันกีฬาโอลิมปิก

ข่าวทั่วไป Thursday May 31, 2001 08:44 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--31 พ.ค.--แชนด์วิค อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย)
"สัปดาห์ธุรกิจไฮ-เทคนานาชาติ ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน" ทำเงิน 6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ให้แก่ส่วนธุรกิจของจีนที่เติบโตเร็วที่สุด
กรุงปักกิ่ง, 30 พฤษภาคม 2544 - การจัดงานสัปดาห์ธุรกิจไฮ-เทคนานาชาติ ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน (China-Beijing International High Tech Industries Week หรือ CBHT) ประจำปีครั้งที่สี่ เมื่อปลายเดือนพฤษภาคม ทำให้เกิดสถิติการทำสัญญาซื้อขายเป็นเม็ดเงินจำนวนมากกว่า 7.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ยิ่งเป็นการตอกย้ำถึงการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วที่สุดของภาคธุรกิจไอทีในประเทศจีน และแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนในเมืองหลวงของประเทศจีนในการเตรียพร้อมสู่การเป็นเจ้าภาพจัดแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในปี 2008 การจัดสัปดาห์ธุรกิจไอที ณ กรุงปักกิ่งในครั้งนี้ - มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีในรูปแบบต่างๆ - โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมถึง 1,300 คน ซึ่งเป็นตัวแทนของหน่วยงานจากต่างประเทศทั้งในภาคธุรกิจและภาครัฐ รวมทั้งผู้นำจาก นักธุรกิจวงการไฮ-เทค ของจีน ซึ่งเป็นภาคที่กำลังเติบโตของประเทศ
จากความสำเร็จของงานสัปดาห์ธุรกิจไฮ-เทคนานาชาติ และการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในตลาดเทคโนโลยีของกรุงปักกิ่ง ได้จุดประกายให้ปักกิ่งเปิดกว้างสู่เศรษฐกิจและเทคโนโลยียุคใหม่อย่างรวดเร็ว และชี้ให้เห็นถึงภาวะความจำเป็นของกรุงปักกิ่งในการเป็นศูนย์กลางธุรกิจที่สำคัญแห่งภูมิภาคนี้ การเสนอให้ประเทศจีนเป็นเจ้าภาพจัดโอลิมปิกและการขอเข้าร่วมเป็นสมาชิกในองค์กรการค้าโลกในขณะนี้ นับเป็นเหตุผลหลักสองประการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และเทคโนโลยีในประเทศจีนในช่วงที่ผ่านมา
"การจัดงานสัปดาห์ธุรกิจไฮ-เทคนานาชาติ ณ กรุงปักกิ่ง ได้สะท้อนให้เห็นถึงระดับและอัตราการเจริญเติบโตของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในประเทศจีน" ลิว จิง มิน รองนายกเทศมนตรีแห่งกรุงปักกิ่งและรองประธานคณะกรรมการรณรงค์สนับสนุนให้กรุงปักกิ่งเป็นเจ้าภาพในการจัดแข่งขันกีฬาโอลิมปิกปี 2008 กล่าว "เป็นที่เห็นได้ชัดว่า การเสนอชื่อของกรุงปักกิ่งได้รับแรงสนับสนุนจากการพัฒนาเหล่านี้ - เรามีแผนการที่จะจัดแข่งขันโอลิมปิกที่มีความไฮ-เทคมากที่สุดตั้งแต่เคยมีมา ซึ่งจะเสริมสร้างประสบการณ์แห่งโอลิมปิกได้ด้วยการผนึกโลกให้เป็นหนึ่งเดียวผ่านการกีฬาโดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศที่เยี่ยมยอดที่สุด"
การจัดงานสัปดาห์ธุรกิจไฮ-เทคนานาชาติ ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ได้ชักนำให้บริษัทไฮ-เทคข้ามชาติระดับแนวหน้าของโลกมารวมกันอยู่ที่กรุงปักกิ่ง อาทิ โนเกีย เจนเนอรัลอิเล็กทริก และเอ็นอีซี นอกจากนี้ยังมีผู้เข้าร่วมงานอีกมากมาย ได้แก่ ผู้แทนจากรัฐบาลต่างประเทศ นักลงทุนร่วมทำธุรกิจ และบริษัทไฮ-เทคของจีนที่ใหญ่ที่สุด การจัดนิทรรศการครั้งนี้ใช้พื้นที่ทั้งหมด 100,000 ตารางเมตร ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าการจัดงานในครั้งแรกเมื่อปี 2541 ถึง 10 เท่า
การลงทุนสำคัญ ๆ หลายโครงการได้เกิดขึ้นอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากงานนิทรรศการ CBHT อาทิ โครงการพื้นที่เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีแห่งกรุงปักกิ่งมูลค่า 1.2 พันล้านดอลล่าร์ ซึ่งนับเป็นการกำหนดเขตพื้นที่เพื่อการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจแห่งแรกของเมือง และ ข้อตกลงจำนวน 40 โครงการเพื่อการลงทุนกับผู้ร่วมค้าทั้งจากภายในและภายนอกประเทศในโครงการสวนอุตสาหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่บริเวณ Zhongguancun ซึ่งได้ถูกขนานนามว่าเป็นซิลิคอนวัลเล่ย์แห่งประเทศจีน ด้วยมูลค่า 816 ล้านดอลล่าร์
"งานนิทรรศการครั้งนี้ได้ช่วยกระตุ้นให้เกิดการลงทุนภาคอุตสาหกรรมไฮ-เทคภายในเมือง" มิสเตอร์เยา วาง รองเลขาธิการคณะกรรมการบริหารผู้จัดงาน CBHT กล่าว "มันได้ช่วยให้เกิดการพัฒนาในเชิงพาณิชย์สำหรับนวัตกรรมด้านไฮ-เทคซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นในกรุงปักกิ่ง และทำให้ภาคอุตสาหกรรมไฮ-เทคของประเทศเราได้มีส่วนร่วมในกระบวนการอันนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจระดับโลก"
จุดเด่นของสัปดาห์งานนิทรรศการก็คือการแสดงผลงานต่าง ๆ ซึ่งใช้เทคโนโลยีใหม่ที่ถูกคิดค้นขึ้นเพื่องานโอลิมปิกปี 2008 ของกรุงปักกิ่ง โดยตัวอย่างบางส่วนของความก้าวหน้าที่ได้วางแผนไว้สำหรับงานโอลิมปิก ณ กรุงปักกิ่งครั้งนี้โดยเฉพาะ ได้แก่ :
- การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในที่สาธารณะ และการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงในยานพาหนะขนส่งมวลชน ปัจจุบันนี้มีรถโดยสารและรถแท็กซี่จำนวนประมาณ 30,000 คันแล้วที่ปลอดมลพิษ
- การนำระบบควบคุมจราจรแบบอัจฉริยะมาใช้เพื่อช่วยกำกับดูแลในบริเวณที่มีการติดขัดของการจราจรค่อนข้างสูง อีกทั้งยังได้นำจานดาวเทียมขนาดย่อมมาใช้เพื่อสำรวจตรวจตราสภาพการจราจรภาคพื้นดิน ซึ่งสามารถแปรสัญญาณออกมาได้เหมือนภาพจริง
- นอกเหนือจากออพติคัลไฟเบอร์ที่มีระยะทางยาวมากกว่าหนึ่งล้านกิโลเมตรและเครือข่ายเอสดีเอชในเขตเมืองหลวงที่ใหญ่ที่สุดในโลก กรุงปักกิ่งได้ทำการขยายออพติคัลไฟเบอร์ออกไปอีกเพื่อให้ครอบคลุมบริเวณสถานที่จัดการแข่งขันโอลิมปิกทั้งหมด จึงทำให้มีเครือข่ายความถี่ระยะกว้างที่แข็งแรงสามารถถ่ายทอดการแข่งขันไปสู่ทั่วโลกได้
ส่วนโครงสร้างพื้นฐานสำหรับสายโทรศัพท์และการรับส่งข้อมูลก็มีความพร้อมในการอำนวยความสะดวกเท่าที่จำเป็นสำหรับการให้บริการต่อผู้บริโภคด้วยระบบ IN และ IP
- การติดตั้งเครือข่ายสื่อสารด้วยโทรศัพท์มือถือซึ่งสามารถรองรับผู้ใช้ได้ 500,000 สายภายในบริเวณที่จัดแข่งขันโอลิมปิก ขณะนี้ประเทศจีนสามารถใช้ระบบ GSM และ IS-95 CDMA ได้ และการให้บริการโทรศัพท์ข้ามแดนหรืออินเตอร์เนชั่นแนลโรมมิ่ง ก็สามารถจะกระทำได้โดยผ่านพนักงานโอปอเรเตอร์ฝ่ายต่างประเทศ 104 สาย นอกจากนี้คาดกันว่าระบบ 3G จะเป็นที่นิยมภายในปี 2008 หลังจากที่ได้ทำการติดตั้งเครือข่ายจนเต็มประสิทธิภาพจำนวน 15.1 ล้านสายแล้ว
- การติดตั้งเครือข่ายการสำหรับสายเคเบิลทีวีระบบดิจิตัลที่มีความสามารถในการส่งภาพทางเอชดีทีวีสำหรับการแข่งขันโอลิมปิกทุกรายการ - การพัฒนาระบบสื่อสารวิทยุระยะไกลแบบดิจิตัลที่มีความละเอียดอ่อน เพื่อให้สามารถรองรับอุปกรณ์วิทยุจำนวน 15,000 เครื่องภายใต้กลุ่มผู้ใช้บริการ 1,000 กลุ่ม โดยจะเป็นระบบที่มีความเป็นอิสระจากระบบวิทยุสาธารณะ และรับประกันความสะดวกในการติดต่อได้โดยง่ายตลอดเวลา
- การติดตั้งเทคโนโลยี GPS ให้ครอบคลุมเส้นทางการขนส่งทุกสายในบริเวณที่จัดโอลิมปิก เพื่อนำมาใช้กับการขนส่งสำหรับงานโอลิมปิกและเพื่อการขนส่งมวลชนด้วย
- การปรับปรุงคุณภาพระบบการแพร่ภาพการแข่งขันทางโทรทัศน์ทั้งสำหรับนานาประเทศและภายในประเทศเอง โดยได้ติดตั้งสายออพติคัลเคเบิ้ลใต้น้ำพิ่มเติมจากของเดิมที่ใช้งานอยู่แล้ว 6 เส้น จานดาวเทียม 5 จาน และ สถานีรับส่งสัญญาณดาวเทียมเคลื่อนที่ภาคพื้นดิน
อัตราความเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีในประเทศจีนและความสำเร็จของการจัดงานนิทรรศการ
สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของเทคโนโลยีสำหรับความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจของประเทศจีน ข้อมูลทางสถิติจากฝ่ายบริหารทั่วไปของกรมศุลกากรได้แสดงว่า เมื่อปีกลาย ประเทศจีนมียอดนำเข้าและส่งออกสำหรับผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ชั้นสูงรวมทั้งสิ้น 89.55 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั้งนี้แผนพัฒนาระยะห้าปีฉบับที่ 10 ของกรุงปักกิ่ง (2005-2010) ได้ระบุไว้ว่า อุตสาหกรรมไฮ-เทคจะเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้กรุงปักกิ่งสามารถเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจได้ในอัตรา 9% ต่อปี ตามที่ได้ตั้งเป้าไว้
เอ็ดวาร์ด เทียน เจ้าหน้าที่บริหารระดับสูงของไชน่าเน็ตคอมเทเลคอม หรือ CNC หนึ่งในบริษัทโทรคมนาคมขนาดใหญ่ของจีนวัย 37 ปี ซึ่งได้เข้าร่วมประชุมในงานสัปดาห์ CBHT อธิบายว่ากระแสความตื่นตัวอย่างมากทางเทคโนโลยีเพื่อตอบสนองการแข่งขันโอลิมปิก และเศรษฐกิจโลกในยุคใหม่นี้ เปรียบเสมือนการฟันฝ่าอุปสรรคอันแสนท้าทายของเหล่าบรรพบุรุษผู้เคยร่วมแรงร่วมใจกันสร้างกำแพงเมืองจีนจนสำเร็จขึ้นได้ "บริษัท CNC ของเราได้สร้างและเปิดให้บริการระบบเครือข่ายซึ่งมีความยาว 8,500 กิโลเมตรได้ภายในเวลาเพียง 10 เดือน ในขณะที่บริษัท Sprint ในสหรัฐอเมริกาต้องใช้เวลาสองถึงสามปีเพื่อทำในสิ่งเดียวกันนี้" เทียนกล่าว "ความมุ่งมั่นตั้งใจของประเทศจีนในการจัดการแข่งขันกีฬาและการเป็นศูนย์กลางทางเทคโนโลยีนั้นเป็นสิ่งที่เอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน เราตระหนักดีว่าทั้งสองประการนี้จะช่วยเปิดโอกาสให้ประเทศและประชากรของเราไปสู่โลกกว้างได้"
กรุงปักกิ่งเป็นหนึ่งในจำนวนห้าเมืองที่เสนอชื่อเพื่อเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันโอลิมปิกในปี 2008 โดยเมื่อเร็วๆ นี้ได้มีรายงานจากคณะกรรมการจัดงานโอลิมปิกนานาชาติ ซึ่งให้การสนับสนุนความพร้อมของกรุงปักกิ่งว่า "มีความสามารถจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกได้ในระดับยอดเยี่ยม" และการจัดโอลิมปิก ณ กรุงปักกิ่ง จะเป็นโอกาสอันดีสำหรับการ "มอบมรดกที่คงความเป็นเอกลักษณ์ให้แก่ประเทศจีนและการกีฬา"
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม :
บริษัท แชนด์วิค อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด
ปองปรัชญ์ สุโรจนะเมธากุล
กุนธิรา ณัฐวัฒนานนทน์
โทรศัพท์ : 257-0300 ต่อ 310, 316
โทรสาร : 257-0312
E-mail : pongprach@shandwick.th.com-- จบ--
-อน-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ