กรุงเทพฯ--1 พ.ย.--เอพีพีอาร์ มีเดีย
เริ่มเห็นเค้าลางวิกฤติดิจิทัล 1 ใน 2 ของผู้นำ กลัวว่าดิจิทัลสตาร์ทอัพจะทำให้ธุรกิจของตนตกยุคภายใน 3-5 ปี
ประเด็นข่าวที่น่าสนใจ
• 58% ของธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น ยังไม่รู้ว่าอุตสาหกรรมของตนจะเป็นอย่างไรในอีก 3 ปีข้างหน้า (48% ของทั่วโลก)
• 83% ของธุรกิจมองว่าดิจิทัลสตาร์ทอัพคือการคุกคาม ไม่ว่าจะเป็นเวลานี้ หรือในอนาคต (78% ของทั่วโลก)
• ประมาณ 6 ใน 10 ของธุรกิจไม่สามารถตอบสนองความต้องการระดับสูงของลูกค้าได้
• ในทั่วโลก มีเพียง 5% ของธุรกิจเท่านั้น ที่สามารถจัดระดับการเป็น "ผู้นำด้านดิจิทัล"
• 77% ยอมรับว่าการเปลี่ยนโฉมสู่ดิจิทัลน่าจะแพร่หลายมากยิ่งขึ้น (73% ของทั่วโลก)
ข้อความสำหรับทวีต: งานวิจัยใหม่โดย @Dell: 4 ใน 5 ของภาคธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น รู้สึกถึงการโดนคุกคามโดยดิจิทัลสตาร์ทอัพ http://bit.ly/2dfPNg3 #DigitalTransformation
83 เปอร์เซ็นต์ของธุรกิจในเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น เชื่อว่าดิจิทัลสตาร์ทอัพ ดูจะเป็นการคุกคามองค์กร ไม่ว่าตอนนี้หรือในอนาคต สอดคล้องตาม ผลวิจัยใหม่จากเดลล์ เทคโนโลยีส์ ที่เปิดเผยเมื่อเร็วๆ นี้ ปรากฏการณ์ครั้งนี้ นับเป็นการขับเคลื่อนบริษัทที่มีนวัตกรรมให้ก้าวไปข้างหน้า พร้อมเป็นตัวเร่งไปสู่การสิ้นสุดของธุรกิจอื่นที่ไม่มีนวัตกรรม กว่าครึ่ง (52%) ของธุรกิจที่เข้าร่วมการสำรวจกลัวว่าตัวเองจะตกยุคภายใน 3 ถึง 5 ปีข้างหน้าจากการแข่งขันกับบรรดาบริษัทสตาร์ทอัพที่ถือกำเนิดจากดิจิทัล (45 % ทั่วโลก)
บางบริษัทรู้สึกว่าโดนทำร้ายอย่างแสนสาหัสจากย่างก้าวแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ 6 ใน 10 (61%) ของผู้นำธุรกิจในเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น มีประสบการณ์ในการปฏิรูปครั้งสำคัญของอุตสาหกรรมในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาอันเป็นผลมาจากเทคโนโลยีดิจิทัลและอินเตอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง หรือ IoT ส่วนอีก 58 เปอร์เซ็นต์ ของธุรกิจในภาคพื้นดังกล่าวยังมองไม่ออกว่าอุตสาหกรรมจะเป็นอย่างไรต่อไปในอีก 3 ปีข้างหน้า
ซึ่งข้อความข้างต้นเป็นผลที่ได้มาจากการสำรวจที่จัดทำโดย Vanson Bourne ซึ่งทำการสำรวจผู้นำธุรกิจ 4,000 ราย จากองค์กรขนาดกลางถึงใหญ่ ครอบคลุม 16 ประเทศและ 12 อุตสาหกรรม
"อิทธิพลจากการปฏิวัติทางดิจิทัลนำไปสู่การทลายกำแพงระหว่างอุตสาหกรรม และด้วยการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากทั้งภาครัฐบาลและเจตนารมณ์ความมุ่งมั่นของผู้ประกอบการในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น เราได้เห็นว่ามีดิจิทัลสตาร์ทอัพเกิดขึ้นมากมาย" อมิต มิดาห์ ประธานฝ่ายธุรกิจคอมเมอร์เชียลประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น เดลล์ อีเอ็มซี กล่าว "ความล้มเหลวในการคิดค้นนวัตกรรมจะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของบรรดาธุรกิจในเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นที่เกิดขึ้นในยุคดิจิทัล"
ความก้าวหน้าที่ยังไม่ลงตัว หรือเค้าลางของวิกฤติดิจิทัล
คงไม่ใช่การกล่าวเกินเลย หากจะพูดว่าความก้าวหน้ายังไปไม่ทั่วถึง เพราะบางบริษัทแทบจะยังไม่ได้เริ่มปรับเปลี่ยนไปสู่ดิจิทัลเลย หลายบริษัทใช้วิธีการค่อยๆเริ่มทีละนิด มีเพียงไม่กี่องค์กรที่ก้าวไปสู่จุดของการปฏิรูปสู่ดิจิทัลอย่างสมบูรณ์แบบ มีเพียงแค่หนึ่งในสามของธุรกิจทั้งหมดที่ร่วมการสำรวจเท่านั้นกำลังเดินหน้าไปได้ด้วยดีในการสร้างส่วนสำคัญสำหรับธุรกิจดิจิทัล ในขณะที่ในอีกหลายธุรกิจ มีเพียงบางฟังก์ชั่นขององค์กรเท่านั้นที่มีการคิดและทำงานในรูปแบบดิจิทัล ซึ่งส่วนใหญ่ (77%) ยอมรับว่าการปฏิรูปสู่ดิจิทัลควรทำให้ครอบคลุมทุกส่วนงานทั่วทั้งองค์กร
มีถึง 6 ใน 10 บริษัทที่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการลูกค้าในระดับสูงได้ เช่นความต้องการระบบการรักษาความปลอดภัยที่ดียิ่งขึ้นและช่วยให้ลูกค้าเข้าถึงทั้งข้อมูลและการบริการตลอดเวลาแบบ 24/7 ได้รวดเร็วขึ้น และเกือบสองในสาม (65%) ยอมรับว่าไม่สามารถดำเนินการแบบอัจฉริยะได้ในลักษณะเรียลไทม์
"ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นเป็นจุดที่สำคัญที่สุดของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่ และด้วยความคาดหวังของลูกค้าว่าจะได้รับประสบการณ์แปลกใหม่และปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการเฉพาะ เหล่านี้เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับธุรกิจที่ต้องการเปลี่ยนโฉมสู่ยุคดิจิทัลเพื่อให้ยืนหยัดอยู่ท่ามกลางการแข่งขันได้ แม้ว่าธุรกิจทั่วภูมิภาคกำลังเดินหน้าในเรื่องดังกล่าว แต่ตอนนี้นับเป็นช่วงเวลาที่ต้องเร่งเดินไปสู่การปฏิรูปดิจิทัล โดยเริ่มต้นด้วยการปฏิรูปไอที" เดวิด เว็บสเตอร์ ประธานฝ่ายธุรกิจเอ็นเตอร์ไพร์ซประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น เดลล์ อีเอ็มซี กล่าว "ด้วยความต้องการด้านผลิตภัณฑ์และการบริการยุคดิจิทัลในรูปแบบใหม่ๆมีเพิ่มมากขึ้น หมายถึงการเพิ่มขึ้นของทั้งจำนวนผู้ใช้และข้อมูลในปริมาณมหาศาล ฉะนั้นการมุ่งเน้นที่การปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐานให้ทันสมัยรวมถึงการลงทุนเพื่อด้านทักษะการพัฒนาซอฟต์แวร์ จึงเป็นหัวใจหลักสำหรับธุรกิจที่ต้องการมอบคุณค่าให้กับลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง
ดัชนีการเปลี่ยนโฉมสู่ดิจิทัลของเดลล์ เทคโนโลยีส์ สอดคล้องกับผลวิจัยและจัดอันดับบริษัททั่วโลกบนพื้นฐานข้อมูลด้านการรับรู้ของผู้ตอบการสำรวจในเรื่องประสิทธิภาพด้านการปฏิรูปองค์กรของตนไปสู่ดิจิทัล ทั้งนี้จากตัวชี้วัด มีเพียง 5 เปอร์เซ็นต์ของธุรกิจใน 16 ประเทศ ที่มีการปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็วจนก้าวสู่กลุ่มผู้นำด้านดิจิทัล ในขณะที่มีธุรกิจอีกเกือบครึ่งหนึ่งที่ถือว่าล้าหลัง
1. ผู้นำด้านดิจิทัล (Digital Leaders) 5 เปอร์เซ็นต์ การพลิกโฉมสู่ดิจิทัลถูกฝังแน่นอยู่ในดีเอ็นเอของธุรกิจ ในหลากหลายรูปแบบ
2. ผู้นำดิจิทัลมาใช้ (Digital Adopters) 14 เปอร์เซ็นต์ มีแผนงานดิจิทัลที่ชัดเจน มีการลงทุนและมีนวัตกรรมในองค์กร
3. ผู้ประเมินดิจิทัล (Digital Evaluators) 34 เปอร์เซ็นต์ ระมัดระวัง และค่อยๆตอบรับการปฏิรูปสู่ดิจิทัล มีการวางแผนและการลงทุนเพื่ออนาคต
4. ผู้ตามดิจิทัล (Digital Followers) 32 เปอร์เซ็นต์ ลงทุนด้านดิจิทัลน้อยมาก และมีแนวโน้มว่าอาจจะเริ่มวางแผนสำหรับอนาคต
5. ผู้ตกกระแสดิจิทัล (Digital Laggards) 15 เปอร์เซ็นต์ ไม่มีแผนงานด้านดิจิทัล มีการลงทุนและความริเริ่มที่ค่อนข้างจำกัด
แผนฟื้นฟูสู่ดิจิทัล
เรื่องของการคุกคามจากการปรับโฉมธุรกิจที่เกิดขึ้นฉับพลันนั้น บรรดาธุรกิจในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นกำลังเริ่มหาทางแก้ไข และเพื่อเดินหน้าไปสู่การปฏิรูปทางดิจิทัล
• 78 เปอร์เซ็นต์ เห็นพ้องว่าธุรกิจต้องให้ความสำคัญกับกลยุทธ์การบริหารจัดการเทคโนโลยีได้จากศูนย์กลางเป็นอันดับหนึ่ง
• 70 เปอร์เซ็นต์ กำลังวางแผนลงทุนระบบโครงสร้างพื้นฐานไอทีและความเป็นผู้นำเรื่องทักษะทางดิจิทัล
• 73 เปอร์เซ็นต์ กำลังขยายขีดความสามารถด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์
ผลจากการสำรวจผู้ตอบแบบสอบถามในเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น พบว่า การลงทุนด้านไอทีหลักที่มีการวางแผนภายใน 3 ปีข้างหน้าได้แก่
1. ระบบวิเคราะห์ บิ๊กดาต้า และระบบประมวลผลข้อมูล (Analytics, big data and data processing) (ตัวอย่างเช่น Data Lakes)
2. ระบบโครงสร้างพื้นฐานแบบควบรวม (Converged infrastructure)
3. เทคโนโลยีประสิทธิภาพสูงเป็นพิเศษ (Ultra-high performance technologies) (ตัวอย่างเช่น แฟลช)
4. เทคโนโลยี อินเตอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (Internet of Things technologies)
นอกจากนี้ มีหนึ่งในสาม จนถึงสามในสี่ของธุรกิจ ที่สร้างงบกำไรขาดทุนด้านดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ (34%) กำลังเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับบริษัทสตาร์ทอัพ เพื่อนำโมเดลที่ใช้นวัตกรรมแบบเปิดกว้างมาใช้ (34%) มีการแยกส่วนธุรกิจออกมาจากบริษัทเดิม (31%) หรือตั้งใจที่จะเพิ่มทักษะและนวัตกรรมที่ต้องการโดยการควบรวมกิจการ (27%) มีเพียง 15 เปอร์เซ็นต์ ที่วัดความสำเร็จจากจำนวนสิทธิบัตรที่จด และเกือบครึ่ง (46%) กำลังผนวกเอาเป้าหมายด้านดิจิทัลรวมไว้ในวัตถุประสงค์การดำเนินงานของทุกแผนกงานและเป้าหมายของพนักงาน
"การปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัล เป็นผลมาจากการผสานพลังของเทคโนโลยีที่หลอมรวมเข้ากับวัฒนธรรมที่มีการยอมรับความเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว ไม่เพียงแต่เข้าใจถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีที่มีต่อธุรกิจ แต่ยังเข้าใจถึงความสำคัญของเทคโนโลยีที่ช่วยสร้างอนาคตขององค์กรเอ็นเตอร์ไพร์ซ" แดเนียล นิวแมน หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์ บริษัทวิจัย Futurum Research กล่าว "ผู้นำระดับสูงทุกคนที่กำลังมองว่าจะลงทุนเพื่อเปลี่ยนโฉมองค์กรสู่ดิจิทัล ต้องเข้าใจถึงภัยคุกคามต่ออุตสาหกรรมและเข้าใจว่าเทคโนโลยีจะนำพาธุรกิจไปสู่อีกขั้นได้อย่างไรเพื่อให้ยืนหยัดอยู่ท่ามกลางการแข่งขันได้"