กรุงเทพฯ--7 พ.ย.--เฟลชแมน ฮิลลาร์ด
เอสเอพี เผยแผนการลงทุนมูลค่า 2 พันล้านยูโร พร้อมเปิดตัวนวัตกรรมใหม่ การควบรวมกิจการใหม่ และการสร้างเครือข่ายผ่าน เอสเอพี ไอโอที แล็บ เพื่อปลดล็อคการสร้างมูลค่ารูปแบบใหม่จากแนวคิด อินเตอร์เน็ต ออฟ ธิงส์
เอสเอพี เอสอี (NYSE: SAP) ได้แถลงถึงแผนการลงทุนมูลค่า 2 พันล้านยูโร โดยแผนงานดังกล่าวครอบคลุมระยะเวลา 5 ปี มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยธุรกิจต่างๆ และภาครัฐบาล ให้ได้ใช้ประโยชน์จากการเพิ่มจำนวนขึ้นของเซ็นเซอร์, สมาร์ท ดีไวซ์, และบิ๊ก ดาต้า ซึ่งกำลังเปลี่ยนโฉมการทำธุรกิจในปัจจุบันด้วย อินเตอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (ไอโอที - IoT) โดยเอสเอพี วางแผนที่จะเร่งสร้างนวัตกรรมโซลูชั่นไอโอที ใหม่ๆ รวมถึงเพิ่มการขายและการทำการตลาด, เพิ่มการให้บริการ, เพิ่มการสนับสนุนและการร่วมสร้างนวัตกรรมใหม่ พร้อมทั้งเพิ่มการเติบโตร่วมกันกับพันธมิตร พาร์ทเนอร์ทางธุรกิจ และธุรกิจสตาร์ทอัพต่างๆในตลาดไอโอที ซึ่งคาดว่าจะมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 2.5 แสนล้านยูโร ภายในปี 2020
บิลล์ แมคเดอร์มอท กรรมการผู้จัดการของเอสเอพี กล่าวว่า "ด้วยการเชื่อมต่อกันของดีไวซ์ต่างๆกว่าพันล้านเครื่องในปัจจุบัน ส่งผลให้เรามีโอกาสมากขึ้นในการปรับเปลี่ยนรูปแบบสังคม ระบบเศรษฐกิจ และสภาพแวดล้อมของเราได้ใหม่ SAP HANA® คือ ดาต้า แพลตฟอร์ม ที่จะสามารถปลดล็อค อินเตอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ ได้ ทุกวันนี้ เอสเอพี ได้เพิ่มการลงทุนครั้งใหญ่ เพื่อช่วยให้ลูกค้าของเราได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากการทำ ไลฟ์ บิสสิเนส (live business) และมีเพียงเอสเอพีเท่านั้น ที่สร้างสรรค์นวัตกรรมที่ช่วยเหลือองค์กร ตั้งแต่แกนหลักของธุรกิจ ไปจนถึงการเข้าสู่ระบบเชื่อมต่อ"
SAP® IoT: จากข้อมูลทั่วไปสู่การเป็นข้อมูลเชิงลึก การปฏิบัติการ และการทำไลฟ์ บิสสิเนส
ถึงแม้ว่าหน่วยงานภาคธุรกิจและภาครัฐจะมีความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลต่างๆได้แบบเรียลไทม์มากขึ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน แต่หน่วยงานเหล่านี้ยังคงเผชิญกับความยากลำบากในการรวบรวมข้อมูลที่มาจากที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยปฏิบัติการในพื้นที่ ไปถึงหน่วยธุรกิจและทีมปฏิบัติงานต่างๆ เข้าด้วยกัน SAP® IoT พร้อมช่วยให้องค์กรสามารถวิเคราะห์ บิ๊ก ดาต้า จากที่ต่างๆ ผ่านโซลูชั่นไอโอที ซึ่งนำวิธีการของ machine learning มาบูรณาการเข้ากับแอพพลิเคชั่นหลักสำหรับการทำธุรกิจของSAP S/4HANA® นอกจากนี้ SAP IoT ยังรวบรวมโซลูชั่นต่างๆ ที่ช่วยเชื่อมต่อผู้คน พาร์ทเนอร์ สิ่งของต่างๆ รวมถึงสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ซึ่งจะช่วยให้องค์กรต่างๆสามารถขยายและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับกระบวนการทำงานของธุรกิจแบบเรียลไทม์ได้อย่างฉลาดมากขึ้น เพื่อที่หน่วยงานเหล่านี้จะสามารถมองหาโอกาสใหม่ๆได้มากขึ้น บรรลุประสิทธิภาพในการทำงานใหม่ๆได้มากขึ้น รวมถึงสามารถเปลี่ยนโมเดลธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ และการให้บริการ เพื่อส่งมอบมูลค่าที่มากขึ้นให้กับลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ในทันที SAP IoT มุ่งมั่นในการสร้างธุรกิจและสังคมที่เชื่อมต่อถึงกัน ครอบคลุมเขตเมือง เขตชนบท รวมถึงกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ได้แก่ อุตสาหกรรมการเกษตร, อุตสาหกรรมโครงสร้างพื้นฐานและพลังงาน, อุตสาหกรรมสุขภาพ,อุตสาหกรรมการปกป้องคุ้มครอง, อุตสาหกรรมการผลิต, อุตสาหกรรมผู้บริโภค และอุตสาหกรรมการขนส่ง
นวัตกรรมโซลูชั่นใหม่: Industry 4.0 Solution Packages
เอสเอพี เปิดตัว Industry 4.0 packages ที่มาพร้อมกับ โซลูชั่นไอโอที ต่างๆ ที่จะช่วยให้ลูกค้าสามารถดำเนินกลยุทธ์ธุรกิจแบบดิจิตอลได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ชุดโซลูชั่นแรก คือ "The jump-start package" ถูกออกแบบขึ้นเพื่อเริ่มต้นการเชื่อมต่อระหว่างการดำเนินงานและระบบธุรกิจ เพื่อเป็นรากฐานในการตรวจสอบประสิทธิภาพของเครื่องมือ และมอบข้อมูลเชิงลึกในด้านกระบวนการผลิต (shop floor operations) ส่วนชุดโซลูชั่นที่สอง "accelerator package" มีฟังก์ชั่นที่มอบการดำเนินงานของอุตสาหกรรมการผลิตแบบอัตโนมัติ ไร้กระดาษ พร้อมด้วยสภาพแวดล้อมในการดำเนินงานที่สามารถควบคุมได้ ผ่านการสนับสนุนในด้านการวางแผนและดำเนินการผลิต การวิเคราะห์การปฏิบัติงาน และการบำรุงรักษาโรงงานที่ทันสมัย ชุดโซลูชั่นทั้งสองประเภทถูกเติมเต็มให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นด้วยSAP Distributed Manufacturing แอพพลิเคชั่นสำหรับการให้บริการด้านอุตสาหกรรมการพิมพ์ 3 มิติ โดยมีวางจำหน่ายแล้ววันนี้
นอกจากนี้ เอสเอพีมีการวางแผนที่จะเปิดตัว โซลูชั่น Industry 4.0 ชุดที่สาม คือ "advanced package" เร็วๆนี้ เพื่อมอบการควบคุมและข้อมูลเชิงลึกด้านอุตสาหกรรมการผลิตในขั้นที่สูงขึ้น รวมถึงฟังก์ชั่นวิธีการทำงาน machine learning และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงทำนาย (predictive analytics) เพื่อการดำเนินการด้านการบำรุงรักษาที่มีคุณภาพ พร้อมกันนี้ เอสเอพียังมีการวางแผนเพื่อจัดทำชุดโซลูชั่น IoT package เพื่อตอบสนองการดำเนินงานด้านดิจิตอลที่แตกต่างกันในแต่ละเมือง รวมถึง packageเฉพาะสำหรับอุตสาหกรรมการเกษตร และพลังงาน
นวัตกรรมใหม่ของ IoT: PLAT.ONE, Fedem
SAP IoT มอบเทคโนโลยีสแต็คซึ่งมาพร้อมเทคโนโลยีแบบบูรณาการ ซึ่งช่วยให้สามารถเชื่อมโยงรากฐานด้านไอโอทีและแอพพลิเคชั่นทางธุรกิจต่างๆขององค์กร, เครือข่ายทางธุรกิจและลำดับชั้นขั้นตอนการดำเนินธุรกิจ โดยมีระบบ machine learning และระบบการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงทำนายมาช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงาน ทั้งนี้ เอสเอพี ได้ซื้อกิจการ PLAT.ONE ผู้ให้บริการไอโอทีเกรดเอ็นเตอร์ไพรส์ ซึ่งช่วยลดความซับซ้อนในขั้นตอนการผลิต พร้อมทั้งช่วยติดตั้งและบริหารจัดการโซลูชั่นไอโอทีที่มีความซับซ้อน โดย PLAT.ONE ถูกก่อตั้งขึ้นทางตอนเหนือของประเทศอิตาลี เป็นบริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีที่ช่วยเร่งความสามารถหลักด้านไอโอทีสำหรับ SAP HANA Cloud Platform เช่น การบริหารจัดการวงจรชีวิตขั้นสูงของดีไวซ์ไอโอที ต่างๆ, การเพิ่มระยะการเชื่อมต่อระหว่างดีไวซ์ต่างๆให้กว้างขึ้น, เพิ่มขีดความสามารถของระบบเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตของไอโอที ซึ่งทำงานกับระบบหลังบ้านบนคลาวด์ได้อย่างลื่นไหล, ระบบรักษาความปลอดภัยแบบ end-to-end ประเภท role-based และเครื่องมือในการพัฒนาแบบเร่งด่วนสำหรับแอพพลิเคชั่นไอโอทีต่างๆ
นอกจากนี้ เอสเอพีได้ซื้อกิจการ Fedem Technology บริษัทสัญชาตินอร์เวย์ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์เชิงวิศวกรรมศาสตร์ขั้นสูง และการสร้างซอฟต์แวร์ด้าน multibody dynamic simulation และซอฟต์แวร์การคำนวณแบบตลอดชีพในด้านโครงสร้างและระบบเครื่องจักรกลที่อยู่ภายใต้โหลดงานที่มีความซับซ้อน ด้วยการซื้อกิจการในครั้งนี้ เอสเอพีวางแผนที่จะสร้างโซลูชั่นไอโอที แบบ end-to-end โดยใช้ร่างจำลองดิจิตอล (Digital Avatar) สำหรับแสดงสภาพการณ์ของสินทรัพย์ในการดำเนินงาน(operating assets) อย่างต่อเนื่องผ่านฟีดข้อมูลและเซ็นเซอร์ต่างๆ ทำให้องค์กรสามารถตรวจสอบผ่านระบบดิจิตอลแทนที่การตรวจสอบด้วยตัวเองในแบบเดิมๆนอกจากนี้ องค์กรยังสามารถตรวจสอบสถานะการบำรุงรักษา และคาดการณ์อายุการใช้งานที่คงเหลืออยู่ของสินทรัพย์ต่างๆในองค์กรได้อย่างแม่นยำ
ไอโอที แล็บ ของเอสเอพี: ช่วยผลักดันการเปลี่ยนแปลงของไอโอทีทั่วโลก
เอสเอพี วางแผนที่จะสร้างสถานที่ต่างๆ ทั่วโลกเพื่อสร้างการทำงานร่วมกันระหว่าง Industry 4.0 และไอโอที กับลูกค้า พาร์ทเนอร์ทางธุรกิจ และธุรกิจสตาร์ทอัพต่างๆ โดย เอสเอพี ไอโอที แล็บ เหล่านี้ มีวัตถุประสงค์ในการเป็นประภาคารนำทาง และเป็นคลังข้อมูลหลักด้านไอโอที ซึ่งรวบรวมทั้งผลสำรวจ, การพัฒนา, โมเดลและระยะเวลาฟักตัวในการทดสอบการใช้งาน ซึ่งมาพร้อมกับการแสดงการใช้งานต่างๆของไอโอที การเป็นผู้นำทางความคิด ความชำนาญ และโครงสร้างพื้นฐานในการวางกลยุทธ์ และการสร้างสรรค์นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ร่วมกัน
นอกจากนี้ เอสเอพียังวางแผนที่จะเพิ่มการลงทุนด้านการให้คำปรึกษาและถ่ายทอดความรู้ ด้วยการให้คำปรึกษาในการเริ่มต้นใช้งานนวัตกรรมโดยเฉพาะ พร้อมด้วยการตั้งมหาวิทยาลัยด้านไอโอทีโดยเฉพาะในพื้นที่เดียวกับแล็บต่างๆ โดยเมืองที่จะเป็นตำแหน่งที่ตั้งของแล็บ ซึ่งเอสเอพีได้วางแผนไว้เบื้องต้น ได้แก่ เบอร์ลิน, โจฮันเนสเบิร์ก, มิวนิค, พาโล อัลโต, เซา เลโอพอลโด และเซี่ยงไฮ้ ด้วยผู้เชี่ยวชาญจากทั้งเอสเอพีและพาร์ทเนอร์จากแต่ละพื้นที่ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญเรื่องไอโอทีแบบเฉพาะด้านในแต่ละภูมิภาค เช่น Industry 4.0, โลจิสติกส์, เมือง และการทำงานแบบดิจิตอล ทั้งนี้ แล็บเหล่านี้มีจุดประสงค์เพื่อให้บริการลูกค้าในด้านการเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่างๆเพื่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมร่วมกัน ซึ่งรวมถึงการออกแบบความคิดแบบผู้เชี่ยวชาญ การทำเวิร์คช็อปต่างๆ และการสาธิตการใช้งานเทคโนโลยีไอโอทีแบบอินเตอร์แอคทีฟ ได้แก่ นวัตกรรม autonomous systems (เช่น โดรน และหุ่นยนต์ต่างๆ), ระบบรักษาความปลอดภัยแบบไอโอที, machine learning และเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ท่านสามารถเยี่ยมชมเว็บไซด์ SAP News Center หรือติดตามความเคลื่อนไหวของงานอีเว้นท์ผ่านทวิตเตอร์ @sapnews