DAIMLERCHRYSLER เลือกใช้เซิร์ฟเวอร์ที่ขับเคลื่อนด้วยโพรเซสเซอร์ AMD สำหรับงานประมวลผลระดับองค์กร

ข่าวทั่วไป Wednesday December 26, 2001 11:03 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--26 ธ.ค.-- พีซี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ คอนซัลติ้ง
DAIMLERCHRYSLER เลือกใช้เซิร์ฟเวอร์ที่ขับเคลื่อนด้วยโพรเซสเซอร์ AMD สำหรับงานประมวลผลระดับองค์กร —ระบบคลัสเตอร์ที่ใช้โพรเซสเซอร์ AMD Athlon? MP ทำหน้าที่รันโปรแกรมทดสอบระบบความปลอดภัยที่ซับซ้อนของรถยนต์เมอร์เซเดส-เบนซ์—
AMD เปิดเผยว่า DaimlerChrysler AG ได้ทำการติดตั้งเซิร์ฟเวอร์ที่ขับเคลื่อนด้วยโพรเซสเซอร์ AMD Athlon? MP รุ่น 1800+ ภายในศูนย์เทคโนโลยีเมอร์เซเดส-เบนซ์ (Mercedes-Benz Technology Center หรือ MTC) ในประเทศเยอรมัน ด้วยโซลูชันการประมวลผลแบบมัลติโพรเซสซิ่งของ AMD ทำให้ DaimlerChrysler สามารถใช้ประโยชน์จากโพรเซสเซอร์ AMD Athlon MP จำนวนหลายร้อยตัวที่เชื่อมต่อกันในระบบคลัสเตอร์ลีนุกซ์ประสิทธิภาพสูงที่มีขนาดใหญ่ที่สุดระบบหนึ่งในอุตสาหกรรมยานยนต์ของเยอรมัน โดยระบบคลัสเตอร์ดังกล่าวทำหน้าที่ในการรันแบบจำลองการชน (crash simulations) ของรถยนต์เมอร์เซเดส-เบนซ์
คณะทำงานเกี่ยวกับแบบจำลองการชนของ DaimlerChrysler ได้ตัดสินใจเลือกใช้โซลูชันที่ขับเคลื่อนด้วยโพรเซสเซอร์ AMD Athlon MP เนื่องจากโซลูชันดังกล่าวให้ประสิทธิภาพการทำงานและเสถียรภาพที่เหนือกว่า ทั้งบนเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้โพรเซสเซอร์ตัวเดียวและสองตัว สำหรับการรันแอพพลิเคชันระดับองค์กร
“เราได้ทำการประเมินโซลูชันจำนวนมาก และในท้ายที่สุดเราก็มีความเห็นร่วมกันว่าเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้โพรเซสเซอร์ AMD Athlon MP เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ทั้งในแง่ของประสิทธิภาพและเสถียรภาพของระบบ” ดร. โจฮันเนส ลุกอินสแลนด์ ผู้จัดการโครงสร้างไอทีสำหรับระบบจำลองความปลอดภัยและความสะดวกสบายของ DaimlerChrysler กล่าว “ความสามารถที่ยอดเยี่ยมในการประมวลผลตัวเลขทศนิยมของโพรเซสเซอร์ AMD Athlon MP รวมถึงเทคโนโลยี Smart MP ของ AMD คือปัจจัยที่เสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานที่เหนือกว่า และนั่นคือสิ่งที่เราต้องการอย่างมากสำหรับการรันระบบซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินงานขององค์กร การย่นย่อกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยอาศัยเทคนิคด้านวิศวกรรมที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ จำเป็นต้องอาศัยแบบจำลองที่นับวันมีแต่จะเพิ่มความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น โดยแบบจำลองดังกล่าวจะต้องสามารถดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในเวลาที่รวดเร็วกว่าเดิม และปัจจัยสำคัญที่จะทำให้กระบวนการนี้บรรลุผลก็คือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถในการประมวลผลได้อย่างเหมาะสม”
“การตัดสินใจของ DaimlerChrysler ในครั้งนี้เป็นเครื่องบ่งชี้ให้เห็นว่าบรรดาบริษัทข้ามชาติมีความเชื่อมั่นมากขึ้นต่อเทคโนโลยีของ AMD ” กุยลิอาโน เมโรนี รองประธานฝ่ายขายและการตลาดของ AMD Europe กล่าว “คุณลักษณะด้านสถาปัตยกรรมที่ก้าวล้ำอย่าง QuantiSpeed? รวมถึงเทคโนโลยี Smart MP ของ AMD ทำให้โซลูชันของเรามีความสามารถที่โดดเด่นและเหนือกว่าผลิตภัณฑ์ของคู่แข่ง”
ชัยชนะในครั้งนี้ของ AMD สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มของการที่ลูกค้าระดับองค์กรทั่วโลกหันมาใช้เซิร์ฟเวอร์ที่ขับเคลื่อนด้วยโพรเซสเซอร์ของ AMD กันอย่างแพร่หลายเพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานด้านการประมวลผล โดยจำนวนลูกค้าดังกล่าวมีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
ข้อมูลเกี่ยวกับโพรเซสเซอร์ AMD Athlon? MP โพรเซสเซอร์ AMD Athlon MP เป็นโพรเซสเซอร์ x86 รุ่นที่เจ็ด ซึ่งได้รับการออกแบบสำหรับใช้งานในเครื่องเซิร์ฟเวอร์และเวิร์กสเตชั่นประสิทธิภาพสูงที่ใช้โพรเซสเซอร์หลายตัวในเครื่องเดียวกัน คุณลักษณะเด่นประการสำคัญของแพลตฟอร์มแบบมัลติโพรเซสซิ่งของ AMD ก็คือ การใช้เทคโนโลยี Smart MP ซึ่งช่วยให้แพลตฟอร์มนั้นๆ มีประสิทธิภาพโดยรวมสูงขึ้นอย่างมาก โดยเป็นผลมาจากการเพิ่มอัตราการรับส่งข้อมูลระหว่างซีพียูสองตัว รวมถึงชิปเซ็ต และระบบหน่วยความจำ เทคโนโลยี Smart MP ใช้บัสระบบความเร็วสูง 266 เมกะเฮิรตซ์ที่ทำงานแบบ point-to-point จำนวนสองตัว พร้อมทั้งฟีเจอร์การสนับสนุน Error Correcting Code (ECC) ที่ช่วยเพิ่มแบนด์วิดธ์ของบัสในระบบที่ใช้โพรเซสเซอร์สองตัว ได้สูงสุดถึง 2.1 กิกะไบต์ต่อวินาที ต่อหนึ่งซีพียู
นอกจากนั้น เทคโนโลยี Smart MP ยังมีโพรโทคอลการเชื่อมโยงแคช Modified Owner Exclusive Shared Invalid (MOESI) ที่ได้รับการปรับปรุง ซึ่งทำหน้าที่จัดการการรับส่งข้อมูลและหน่วยความจำในระบบที่ใช้โพรเซสเซอร์หลายตัว
สถาปัตยกรรม QuantiSpeed ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร ซึ่งมีอยู่ในโพรเซสเซอร์ AMD Athlon MP รุ่นใหม่นี้ ใช้แคชประสิทธิภาพสูงที่ทำงานด้วยความเร็วเดียวกับซีพียู ทั้งยังมีฟีเจอร์ในการดึงข้อมูลไปเก็บไว้ในแคชล่วงหน้า หรือ Data Pre-fetch ของฮาร์ดแวร์ รวมถึงส่วนประมวลผลตัวเลขทศนิยมที่มีหลายไปป์ไลน์และสามารถจัดการหลายคำสั่งได้ในเวลาเดียวกัน นอกจากนั้น ยังมี Translation Look-aside Buffer (TLB) ที่แยกต่างหากสำหรับแคช L2 ยิ่งกว่านั้น โพรเซสเซอร์ดังกล่าวยังใช้เทคโนโลยี 3DNow!? Professional ซึ่งขยายคำสั่งใหม่เพิ่มเติมอีก 51 คำสั่งจากเทคโนโลยี 3DNow! รุ่นเก่าของ AMD ช่วยให้สามารถแสดงผลรูปภาพที่มีรายละเอียดเหมือนจริงได้อย่างราบรื่น ไม่มีสะดุด ทั้งยังสามารถเล่นเสียงดิจิตอลได้อย่างถูกต้อง ไม่ผิดเพี้ยน ช่วยให้ผู้ใช้สามารถท่องโลกอินเทอร์เน็ตในแบบมัลติมีเดียได้อย่างสมบูรณ์แบบ โพรเซสเซอร์ AMD Athlon MP สามารถใช้งานร่วมกับโครงสร้าง Socket A ที่มีเสถียรภาพสูงของ AMD ทั้งยังสนับสนุนเทคโนโลยีหน่วยความจำ DDR
เกี่ยวกับ AMD
AMD เป็นผู้ผลิตวงจรรวมสำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานบนเครือข่าย รวมทั้งอุปกรณ์สื่อสาร โดยมีฐานการผลิตในสหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น และเอเชีย บริษัทฯ ได้รับการจัดอันดับโดยนิตยสาร Fortune และบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Standard & Poor ให้เป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนำ 500 บริษัทของโลก ผลิตภัณฑ์ของเอเอ็มดีได้แก่ ไมโครโพรเซสเซอร์ อุปกรณ์หน่วยความจำแฟลช และชิ้นส่วนต่างๆ ของแผงวงจร สำหรับการใช้งานด้านการสื่อสารและเครือข่าย บริษัทฯ ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1969 มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองซันนี่เวล รัฐแคลิฟอร์เนีย และมีรายได้รวมทั้งสิ้น 4,600 ล้านดอลลาร์ ในปี ค.ศ. 2000 (NYSE: AMD)
AMD on the Web
หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับข่าวประชาสัมพันธ์นี้ โปรดเยี่ยมชมห้องข่าวบนเว็บของเราที่ http://www.amd.com/news/spotlight
สำหรับข่าวประชาสัมพันธ์เพิ่มเติม สามารถดูได้จาก www.amd.com/news/news.html.
ประชาสัมพันธ์ข่าวโดย
บริษัทพีซี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ คอนซัลติ้ง จำกัด
สุชาย เฉลิมธนศักดิ์
โทรศัพท์ 0 2971 3711 โทรสาร 0 2521 9030
อีเมล์: suchai@pc-a.inet.co.th
ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
มร. วี แยพ ยิน
ผู้จัดการการตลาดผลิตภัณฑ์
บริษัทเอเอ็มดี ฟาร์อีส จำกัด
โทรศัพท์ (65) 337-7033 โทรสาร (65) 338-1611--จบ--
-สส-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ