กรุงเทพฯ--16 พ.ย.--สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและกลางย่อม
มติที่ประชุมบอร์ดใหญ่ สสว. เห็นชอบในหลักการให้การอุดหนุนและช่วยเหลือตามมาตรการฟื้นฟูกิจการ SME วงเงิน 2,000 ล้าน โดยให้การอุดหนุนแบบมีเงื่อนไขชำระคืนอย่างผ่อนปรนหรือเป็นเงินร่วมทุนก็ได้ และให้ สสว. ไปหารือกับกระทรวงการคลังเพื่อหาแนวทางช่วยเหลืออุดหนุนให้กว้างขวาง และยืดหยุ่นขึ้น และเห็นชอบให้ธนาคารกรุงไทยเป็นหน่วยร่วมช่วยดำเนินการ รวมทั้งยังเห็นชอบการจัดสรรเงินกองทุน สสว. เพื่อส่งเสริม SME ประจำปี 2560 วงเงินรวม 1,226 ล้านบาท โครงการสำคัญ ได้แก่ นำสินค้า SME 1 แสนรายการเข้า E-commerce และบ่มเพาะ SME เกษตร 5 พันราย
เมื่อวันที่ 16 พ.ย. 2559 ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เฉพาะกิจ) ครั้งที่ 3/2559
นางสาลินี วังตาล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบให้จัดสรรเงินกองทุนของ สสว. เพื่อเสริมสร้างพัฒนาและให้ความช่วยเหลือ SME ประจำปีงบประมาณ 2560 เป็นวงเงินรวมทั้งสิ้น 3,256 ล้านบาท โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
การจัดสรรเงินกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สำหรับปี 2560
ลำดับ ชื่อโครงการ วงเงิน สาระที่สำคัญของโครงการ
(ล้านบาท)
1 กองทุนฯ เพื่ออุดหนุนSMEตามมาตรการฟื้นฟูกิจการSME 2,000 - กลุ่มเป้าหมายSMEที่ได้รับความช่วยเหลือควรเปิดกว้างให้คลอบคลุมSMEที่ประสบปัญหาทางการเงิน ไม่สามารถกู้ยืมเงินจากระบบสถาบันการเงินตามปกติ แต่ยังมีศักยภาพสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ เช่น
(ตามมติ ครม. 27 ก.ค. 59) เป็นNPLแต่มีผู้เชี่ยวชาญไปศึกษาการทำธุรกิจแล้วเห็นว่า กิจการยังสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ หรืออยู่ในวิสัยที่จะฟื้นฟูกิจการได้
เคยเป็นNPLแต่ได้รับการปรับโครงสร้างหนี้แล้ว
ยังไม่เป็นNPLแต่ได้มีการปรับสัญญาชำระหนี้ (Reschedule)
มีสถานะที่ยังไม่เป็นNPLแต่ชำระหนี้ไม่สม่ำเสมอ เพราะประสบภาวะสภาพคล่องตึงตัว
เป็นผู้ประกอบกิจการที่ได้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย(ฉบับที่9) ฯ และศาลได้รับคำร้องไว้พิจารณาแล้ว
-เห็นชอบในการหลักการให้อุดหนุนแบบมีเงื่อนไขชำระคืนอย่างผ่อนปรน หรือจะให้เป็นการร่วมลงทุนก็ได้
-ให้ธนาคารกรุงไทยเป็นหน่วยร่วมดำเนินการ
-SMEสามารถยื่นคำขอได้ที่Rescue Centerและที่สาขาธนาคารของรัฐ
ทุกแห่งทั่วประเทศ
2 ส่งเสริมและพัฒนาSMEตามงบบูรณาการประจำปี 2560 มีโครงการสำคัญ ได้แก่ 1,226
2.1 โครงการส่งเสริมการจัดจำหน่ายผ่าน 140 - นำสินค้า 1 แสนรายการจากSME65,000 กิจการจำหน่ายแบบออนไลน์ในMarket Place ซึ่งเป็นที่นิยม โดย สสว. สนับสนุนการถ่ายภาพ บรรยายลักษณะสินค้า และการกระตุ้นยอดขาย
E-Commerce
2.2 โครงการบ่มเพาะStartupที่มีนวัตกรรม 10,000 ราย 149 - ร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตร ธกส. มหาวิทยาลัยในภูมิภาค และภาคีอื่น ๆ
-SMEเกษตร 5,000 ราย ในการเสริมสร้างSmart Farmersและวิสาหกิจชุมชนที่มีศักยภาพให้เป็น
-SMEในภาคการผลิต การค้า และบริการ5,000ราย ผู้ประกอบธุรกิจการเกษตร โดยให้การสนับสนุนทางด้านนวัตกรรม กระบวนการผลิตสมัยใหม่และการตลาด
- ร่วมกับมหาวิทยาลัยในภูมิภาคและภาคีของ สสว. เช่น สภาอุตสาหกรรม
บ่มเพาะStartupในภาคการผลิต การค้า และบริการ โดยคำนึงถึงความต้องการของตลาดเป็นหลัก และการนำITมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ
2.3 โครงการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจระดับเติบโต (SME Strong &Regular level) 10,000 ราย 144 - เสริมสร้างSMEที่ดำเนินกิจการอยู่แล้วให้เติบโต โดยเน้นการผลิตและบริการที่ตลาดต้องการ สสว. สนับสนุนการเพิ่มนวัตกรรมและการขยายช่องทางการตลาด
- ครอบคลุมประเภทธุรกิจที่สำคัญของSMEไทย เช่น เกษตรแปรรูป อาหาร สุขภาพ ความงาม การท่องเที่ยว
การก่อสร้าง เป็นต้น
2.4 โครงการสนับสนุนเครือข่ายSME(Cluster) 60 ร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตร สหกรณ์การเกษตรและหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม เช่น สถาบันอาหาร ส่งเสริมการประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับพืชการเกษตร ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาด เช่น มะพร้าว และสมุนไพร เพื่ออุตสาหกรรม ตั้งแต่ต้นน้ำ ได้แก่ การเพาะปลูกที่ทันสมัย การผลิต และการตลาด
2.5โครงการประกวดSME National Awards & Startup Awards(SMEพอเพียง) 11 - ปรับแนวการประกวดSME National Awardsให้ครอบคลุมการนำหลักการพอเพียงมาใช้ในการดำเนินกิจการในระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ เพื่อให้เกิดความสมดุลและขยายตัวอย่างยั่งยืน
2.6 งานพัฒนาศูนย์ข้อมูลSME Knowledge Center 5 - เผยแพร่ความรู้ที่จำเป็นในการยกระดับผู้ประกอบการเป็นSME 4.0และการผสมผสานเข้ากับหลักพอเพียงในทางปฏิบัติ
2.7 โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มศักยภาพสู่ตลาดสากล 20 - ยกระดับมาตรฐานสินค้าในเรื่องความปลอดภัยด้านสุขภาพ การมีนวัตกรรมและรูปแบบ (Design) เป็นต้น เพื่อการขายในModern Tradeและออนไลน์
- กลุ่มเป้าหมายได้แก่SMEขนาดย่อมOTOPและวิสาหกิจชุมชน
2.8 โครงการพัฒนาช่องทางการตลาดสำหรับผู้ประกอบการSME 53 - สนับสนุนการขยายตลาดสำหรับSMEขนาดเล็กที่มีศักยภาพ และขนาดย่อมโดยมุ่งไปยังกลุ่มประเทศAECจีน ตะวันออกกลาง และตลาดเกิดใหม่ที่มีกำลังซื้อ รวมทั้งตลาดตามนโยบายรัฐบาล
2.9 โครงการพัฒนาสู่สุดยอดSMEจังหวัด (SME Provincial Champions) 46 - เป็นโครงการต่อเนื่องจากปี 2559 แต่เพิ่มจำนวนSMEที่เข้ารับการพัฒนาจากจังหวัดละ 3 กิจการเป็น 6 กิจการ ครอบคลุมStartup Rising StarและTurn Around
- เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและสนับสนุนการจำหน่าย
2.10 โครงการในพระราชดำริเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและศูนย์ศิลปาชีพ 105 - ดำเนินการร่วมกับกรมราชองครักษ์ ในเขต 3 จังหวัดภาคใต้สมุทรปราการ อยุธยา และสระแก้ว
(3 โครงการ)
2.11 การปรับปรุงระบบนิเวศที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจและการส่งเสริมSME(Ecosystem) 493 - การจัดตั้งOne Stop Serviceเพิ่มใน 46จังหวัด และบริหารจัดการศูนย์เดิม 32 ศูนย์ รวมเป็น 78 ศูนย์ และสร้างเครือข่ายกับSMEในแต่ละจังหวัด
- การจัดทำระบบฐานข้อมูลSME
-การสร้างเครือข่ายกับต่างประเทศ
- เงินเดือนพนักงานและการบริหารงานของ สสว. ฯลฯ
3 ศึกษาเพื่อขับเคลื่อนการอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ (Doing Business) 30 - ก.พ.ร. เป็นผู้รับผิดชอบการรับTechnical AssistanceจากWorld Bankเพื่อ
1) ศึกษาการปรับปรุงกฎหมายหลักประกันทางธุรกิจและล้มละลาย
2) ศึกษาการปรับปรุงตัวชี้วัด 9 ด้านในการประกอบธุรกิจ
รวมทั้งสิ้น 3,256
นอกจากนี้ คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ยังให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการส่งเสริม SME ประจำปี 2560-2561 ซึ่งเป็นการนำแผนแม่บท SME 4.0 (พ.ศ. 2560-2564) มาสู่การปฏิบัติจริง โดยผู้ปฏิบัติ ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้าง SME และหน่วยงานภาครัฐจะนำแผนปฏิบัติการฯ ไปใช้เป็นแนวทางในการจัดทำงบบูรณาการ SME สำหรับปี พ.ศ. 2561 ต่อไป