กรุงเทพฯ--22 พ.ย.--เบรนเอเซีย คอมมิวนิเคชั่น
เพื่อเปิดโลกทัศน์การศึกษาต่อด้านวิศวกรรมนวัตกรรมคอมพิวเตอร์ระดับมหาวิทยาลัย และสร้างอนาคตสดใสท่ามกลางโลกที่เปลี่ยนแปลงซึ่งขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและองค์ความรู้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมนวัตกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Innovation Engineering : CIE ) ซึ่งเป็นหลักสูตรนานาชาติ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง (สจล.) นำโดย รศ.ดร. ปิติเขต สู้รักษา ประธานหลักสูตรและทีมงาน จัดโรดโชว์แนะแนวสัญจรพบกับเยาวชน 8 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนนานาชาติเอกมัย (ELS) , โรงเรียนนานาชาติใหม่แห่งประเทศไทย (NIST) โรงเรียนนานาชาติกรุงเทพ (ISB) ,โรงเรียนนานาชาติร่วมฤดี (RIS) ,โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย(BCC) ,โรงเรียนนานาชาติพระคุณกรุงเทพ (BGIS) ,โรงเรียนบางกอกพัฒนา (BPS) และโรงเรียนสาธิตนานาชาติมหาวิทยาลัยมหิดล (MUIDS) โดยทีมผู้เชี่ยวชาญจัดบรรยายและให้ข้อมูลแนะนำหลักสูตรวิศวกรรมนวัตกรรมคอมพิวเตอร์ (CIE) รวมถึงแนวทางการศึกษาต่อในวิศวกรรมหลักสูตรนานาชาติ มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กับนักเรียนและอาจารย์ที่ปรึกษา ภายในงานยังมีเกมพร้อมแจกของรางวัลที่ให้ทั้งความสนุกสนานและสาระเกี่ยวกับการศึกษาต่อระดับปริญญาตรีวิศวกรรมนวัตกรรมคอมพิวเตอร์ ตลอดจนโอกาสในการประกอบอาชีพในสายวิชาชีพนี้
จุดเด่นของหลักสูตรวิศวกรรมนวัตกรรมคอมพิวเตอร์ (CIE) ในระยะเวลาเรียน 4 ปี จำนวน 140 หน่วยกิต ผู้เรียนจะได้รับประโยชน์จากหลักสูตรทีออกแบบมาเพื่อผลักดันการสร้างนวัตกรรมและเสริมสร้างความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurs and technical leadership) เกี่ยวกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ ในการเรียนการสอนแต่ละภาคการศึกษาจะเน้นการคิดวิเคราะห์โครงงาน (Project-based theme) ซึ่งฝึกฝนให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์ความเชี่ยวชาญจากการปฏิบัติจริงและการออกแบบโซลูชั่นที่เป็นนวัตกรรมในด้านต่างๆ และเมื่อสำเร็จการศึกษา CIE แล้วจะเป็นที่ต้องการอย่างสูงของตลาดในประเทศและนานาประเทศ ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถประกอบอาชีพได้แก่ Innovation Engineer, Startup Entrepreneurs, Cloud Engineer,Data Scientist, Innovation Software Engineer, IT Innovation & Developer, Embedded System Engineer, Security Analyst เป็นต้น
จึงนับเป็นหลักสูตรทีสร้างและพัฒนาบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ รองรับวิถีชีวิต เศรษฐกิจดิจิตอลในศตวรรษที่ 21 และไทยแลนด์ 4.0