สถาบันฮอร์ฝากเผยผลการวิจัย "สารสกัดจากเปลือกต้นสนฝรั่งเศส" ช่วยต้านเหตุที่ทำให้เกิดโรคตาบอดในประเทศไทย

ข่าวทั่วไป Tuesday July 10, 2001 12:00 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--10 ก.ค.--ทีคิวพีอาร์ (ประเทศไทย)
นิตยสาร" Phytotherapy Research " ได้เปิดเผยผลการศึกษาทางคลีนิคถึงผลของ ฮอร์ฝาก สารสกัดจากเปลือกต้นสนฝรั่งเศส ว่าเป็นสารต้านอนุมูลอิสระอันทรงพลังที่ผลิตจากเปลือกต้นสนฝรั่งเศส ที่ช่วยในการต่อต้านการเกิดความผิดปกติของจอรับภาพในผู้ป่วยเบาหวาน(Diabetic Retinopathy) อันเป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคตาบอดทั่วโลก ความผิดปกติของจอรับภาพในผู้ป่วยเบาหวาน (Diabetic Retinopathy) มีสาเหตุจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงซึ่งส่งผลโดยตรงต่อเส้นเลือดฝอยบริเวณจอรับภาพของตา ซึ่งเป็นขบวนการความเสื่อมที่ไม่สามารถจะเปลี่ยนแปลงหรือเรียกกลับคืนสู่สภาพเดิมได้
เฉพาะในประเทศไทยจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานมีเพิ่มขึ้นจนเห็นได้ชัด จากจำนวนผู้ป่วย 33.3 คนต่อประชากร 100,000 คนในปี 2528เป็น 147.2 คนในปี 2540 และ ขยับสูงขึ้นอย่างรวดเร็วถึง 218.9 คนในปี 2543ฌ ด้วยวิถีการดำเนินชีวิตและช่วงอายุของประชากรโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ทางองค์การอนามัยโลกได้คาดการณ์ว่าจะมีจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นทั่วโลกโดยประมาณจาก 140 ล้านคนในปี 2538 เป็น 300 คนในปี 2568ญ
ความผิดปกติของจอรับภาพในผู้ป่วยเบาหวาน (Diabetic Retinopathy)เป็นสาเหตุหลักของโรคตาบอดในประชากรที่อายุต่ำกว่า 60 ในประเทศอุตสาหกรรมฎ อาทิ ในประเทศสิงคโปร์ มีการเปิดเผยในเรื่องนี้โดย National Health Screenings ว่าระหว่างปี 2534 และ 2536 ผู้ป่วยโรคเบาหวานทุก 1ใน 5 คนจะทุกข์ทรมานกับอาการผิดปกตินี้ บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยโรคนี้ไม่ทราบสาเหตุการเกิดจนทำให้ต้องสูญเสียสายตาไปในที่สุด อย่างไรก็ตาม ความผิดปกติของอาการนี้สามารถที่จะหยุดยั้งไม่ให้มีอาการมากยิ่งขึ้นหากได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจกล่าวได้ว่า ความผิดปกติของจอรับภาพ (Retinopathy) มีสาเหตุมาจากความดันโลหิตสูงและเส้นเลือดตีบตัน
ฮอร์ฝาก สารสกัดจากเปลือกต้นสนฝรั่งเศสา มีสรรพคุณในการชลอรวมไปถึงการยับยั้งอาการความผิดปกติของจอรับภาพในผู้ป่วยเบาหวานโดยการเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับเส้นเลือดฝอยบริเวณจอรับภาพตาและการปกป้องจอรับภาพจากการถูกทำลายจากอนุมูลอิสระ
สารสกัดจากเปลือกต้นสนฝรั่งเศสของสถาบันฮอร์ฝากา เป็นสารสกัดจากเปลือกต้นสนฝรั่งเศสที่ได้รับสิทธิบัตรและได้รับการยอมรับในเรื่องการเสริมสร้างความแข็งแกร่งและผนึกเส้นเลือดฝอยที่มีแตกโดยสารสกัดจากเปลือกต้นสนฝรั่งเศสจะรวมตัวอย่างแน่นหนากับคอลลาเจนและอีลาสตินซึ่งเป็นโปรตีนที่ทำหน้าที่ดูแลความสมบูรณ์ของผนังเซลล์ฏ สารสกัดจากเปลือกต้นสนฝรั่งเศสได้รับการพิสูจน์ว่าเป็น หนึ่งในสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติอันทรงพลัง โดยเฉพาะการป้องกันส่วนประกอบของเรตินาไม่ให้ถูกทำลายจากสารอนุมูลอิสระฐ สารสกัดจากเปลือกต้นสนฝรั่งเศสได้รับการกล่าวขานเสมอว่าเป็น "สารต้านอนุมุลอิสระ" ตัวหนึ่ง
สถาบันวิจัย ฮอร์ฝาก ได้เผยแพร่สิ่งตีพิมพ์เกี่ยวกับข้อเท็จจริงของสารสกัดจากเปลือกต้นสนฝรั่งเศสา มากกว่า 75 ฉบับในเรื่องในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา รวมไปถึงการได้รับสิทธิบัตรมากมายโดยเฉพาะในด้านการหมุนเวียนโลหิตของหลอดเลือดหัวใจ
การค้นคว้าวิจัย
นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Aquila ในประเทศอิตาลี ได้ทำการศึกษาทางคลีนิคโดยมีกลุ่มยาหลอกเปรียบเทียบจากผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของจอรับภาพซึ่งเป็นผลมาจากการเป็นเบาหวานจำนวน 40 คนฑ โดยให้ผู้ป่วย 30 คนทานสารสกัดจากเปลือกต้นสนฝรั่งเศส า150 มิลลิกรัมต่อวันเป็นเวลา 2 เดือน
หลังจากนั้นได้ทำการตรวจจอรับภาพของผู้ป่วยกลุ่มนี้ ปรากฏว่าสารสกัดจากเปลือกต้นสนฝรั่งเศสของสถาบันฮอร์ฝากา มีผล "ดี" และ "ดีมาก"ในการหยุดความผิดปกติของจอรับภาพอย่างช้าๆในผู้ป่วยมากกว่าครึ่งที่ทานสารสกัดนี้ แต่ผลกลับตรงกันข้ามในผู้ป่วยกลุ่มทานยาหลอกเปรียบเทียบ กล่าวได้ว่า สารสกัดจากเปลือกต้นสนฝรั่งเศสจากสถาบันฮอร์ฝากา มีความสามารถต้านทานเป็นอย่างดีเหมาะกับผู้ป่วยทุกราย
สารสกัดจากเปลือกต้นสนฝรั่งเศสจากสถาบันฮอร์ฝากา มีจำหน่ายในประเทศไทยภายใต้แบรนด์ที่มีชื่อเสียงอย่าง "นูเวนต้า "จาก ซูริค "ไพโนแคร์" จาก เมกกะโปรดักส์ โปรดสังเกตโลโก้ต้นสนพร้อมข้อความสารสกัดจากเปลือกต้นสนฝรั่งเศสล้อมรอบโลโก้เพื่อรับประกันคุณภาพ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ได้ที่
คุณแมรี่ แอนด์ ฮา หรือ คุณแคล์ เอสเทิล เซ็ท มร.ทอม แวน บลาคัม/คุณรสธร พูลทวี
บริษัท รูเดอร์ ฟินน์ เอเชีย จำกัด บริษัท ทีคิวพีอาร์ (ประเทศไทย) จำกัด
โทร. +65 235 4495 โทร. 260-5820-3
แฟกซ์. +65 235 7796 แฟกซ์. 260-5847-8
Email: ham@ruderfinn.com.sg Email: tqprthai@ksc9.th.com
เอกสารอ้างอิง
1. Bureau of Health Policy and Planning, Office of the Permanent Secretary, Royal Thai Ministry of Public Health 2001.
2. Bureau of Health Policy and Planning, Office of the Permanent Secretary, Royal Thai Ministry of Public Health 2001.
3. R.Williams 1994. Health care needs assessment. In A Stevens, J Raftery eds. Diabetes Mellitus. Oxford: Oxford University Press, 31-57
4. M Chida, K Suzuki, T Nakanishi-Ueda, H Yasuhara, R Koide, D Armstrong. 1999. In vitro testing of anti-oxidants and biochemical end-point in bovine retinal tissue: Ophthalmic Res 31: 407-415
5. L Spades & E Balestrazzi. 2001. Treatment of vascular retinopathies with Pycogenol า. Phytotherapy Research. 15 (3): 219-223--จบ--
-อน-

แท็ก ฝรั่งเศส   TOT  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ