กรุงเทพฯ--29 พ.ย.--มายด์ พีอาร์
ในทุกองค์กรธุรกิจอย่างน้อยที่สุดต้องเผชิญความเสี่ยงเรื่องความปลอดภัยของระบบ สูงสุดในรอบ 5 ปี
องค์กรทั่วโลกต่างกำลังยกเครื่องอุปกรณ์เครือข่ายใหม่และทันสมัยก่อนจะครบรอบอายุการใช้งานเพื่อเข้าสู่การผสานรูปแบบการทำงานให้ได้ในทุกที่ การใช้อินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อกับทุกสิ่ง (IOT) และกลยุทธ์การจัดการและควบคุมระบบเครือข่ายด้วยซอฟต์แวร์ นอกจากนี้ การปรับปรุงอุปกรณ์ให้ใหม่และทันสมัยจะคำนึงถึงกลยุทธ์โดยให้ความใส่ใจในวิสัยทัศน์เชิงสถาปัตยกรรมมากขึ้น แต่ถึงจะมีอัตราการปรับปรุงที่สูงขึ้นก็ตาม ระบบเครือข่ายกลับมีความปลอดภัยน้อยลง ซึ่งโดยมากมาจากการละเลยที่จะแก้ไขจุดบกพร่องหรืออุดรอยรั่วของระบบ
มีข้อมูลสำคัญบางประการที่เน้นย้ำไว้ในรายงานประจำปีเรื่องการตรวจประเมินระบบเครือข่าย (Network Barometer Report)โดยบริษัท ไดเมนชั่น ดาต้า ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 2552 โดยในรายงานฉบับล่าสุดปี 2559 ซึ่งรวบรวมข้อมูลการเก็บบันทึกรายละเอียดการให้บริการผู้ใช้งานระบบเครือข่ายราว 300,000 รายการ ที่ไดเมนชั่น ดาต้า ให้การดูแลอยู่ โดยไดเมนชั่น ดาต้าสามารถดำเนินการประเมินแนวทางบริหารการจัดการวงจรอายุการใช้งานระบบเครือข่ายได้ลุล่วงกว่า 320 ระบบ ครอบคลุมอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายถึง 97,000 รายการในองค์กรทุกขนาดและอุตสาหกรรมทุกภาคส่วนรวม กว่า 28 ประเทศ
นายเบรนท์ แองกัส ผู้จัดการทั่วไป - ระบบเครือข่าย บริษัท ไดเมนชั่น ดาต้า เอเชีย แปซิฟิค กล่าวว่า "ตั้งแต่ปี 2553ระบบเครือข่ายต่างเก่าและเสื่อมสภาพลงตามการใช้งาน แต่รายงานในปีนี้กลับให้ผลแย้งกับแนวโน้มดังกล่าว และถือเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปี ที่เราห็นว่าระบบเครือข่ายเก่าและเสื่อมการใช้งานช้าลงอย่างมาก"
"ระบบเครือข่ายที่เก่าและใช้งานมานานอย่างเลี่ยงไม่ได้ก็ไม่ใช่เรื่องที่เสียหาย เพียงแต่บริษัทจำเป็นต้องทำความเข้าใจกับข้อจำกัดดังกล่าว ซึ่งบริษัทเหล่านั้นล้วนต้องการโครงสร้างการสนับสนุนที่ต่างกันตามเงินทุนสนับสนุนที่เพิ่มขึ้น ในทางกลับกัน นี่อาจหมายถึงการที่องค์กรสามารถยืดเวลาการใช้เงินทุนในการปรับปรุงระบบเครือข่ายใหม่ ออกไปได้เช่นกัน" แองกัส กล่าว และชี้ว่า ระบบเครือข่ายที่เก่าหรือใช้งานมานานไม่รองรับการทำงานใหม่ ๆ เช่น การจัดการและควบคุมระบบเครือข่ายด้วยซอฟต์แวร์อัตโนมัติหรือการรองรับปริมาณการใช้งานบนเครือข่าย ซึ่งจำเป็นสำหรับการใช้งานระบบร่วมกัน หรือการใช้งานผ่านคลาวด์
ตามรายงานดังกล่าว อายุการใช้งานของระบบเครือข่ายในองค์กรธุรกิจในแถบยุโรป เอเชีย-แปซิฟิค และออสเตรเลีย ลดลงตรงตามค่าเฉลี่ยที่เกิดขึ้นทั่วโลก ขณะที่ในสหรัฐอเมริกา ตัวเลขการใช้อุปกรณ์เก่าหรือที่ตกรุ่นไปแล้วกลับลดลงอย่างมาก จาก 60% ในรายงานปี 2558 เหลือ 29% ในรายงานปี 2559 โดยสาเหตุน่าจะมาจากการลดค่าใช้จ่ายด้วยข้อบังคับทางการเงินมาตลอด 4 ปี แองกัสกล่าวว่า ลูกค้าในสหรัฐอเมริกาดูแหมือนจะทำการปรับปรุงระบบเครือข่ายด้วยการเลือกใช้อินฟราสตรัคเจอร์รุ่นใหม่ ๆ ที่สามารถควบคุมการใช้งานได้ดีขึ้น ส่วนในแถบเอเชีย-แปซิฟิคและออสเตรเลีย การปรับปรุงอุปกรณ์ให้ใหม่และทันสมัยกว่าเดิมจะอยู่ในส่วนของการออกแบบแก้ไขระบบเครือข่ายภายในศูนย์ข้อมูลหรือดาต้าเซ็นเตอร์
ที่ต่างจากแนวโน้มของโลก คือในแถบตะวันออกกลาง และแอฟริกา ซึ่งระบบเครือข่ายแบบเก่ากลับเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นผลมาจากความไม่แน่นอนของสภาพเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแอฟริกาใต้
ขณะเดียวกัน จากอุปกรณ์เครือข่ายราว 97.000 รายการที่ไดเมนชั่น ดาต้า เปิดเผยออกมานั้น พบว่า จำนวนของอุปกรณ์ที่ต้องเผชิญความเสี่ยงเรื่องความปลอดภัยของระบบได้เพิ่มขึ้นจาก 60% ในรายงานปี 2558 เป็น 76% ในรายงานปี 2559 ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดในรอบ 5 ปี
สำหรับในเอเชีย-แปซิฟิค และสหรัฐอเมริกา ระบบเครือข่ายกลับมีความเสี่ยงน้อยลง ที่ 49% และ 66% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับตัวเลข 61% และ 73% ในรายงานฉบับก่อนหน้านี้ ส่วนในยุโรป ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของระบบได้เพิ่มสูงขึ้นมากมาตลอด 3 ปีที่ผ่านมา คือจาก 26% ในปี 2557 เป็น 51% ในปี 2558 และ 82% ในรายงานฉบับปี 2559 ขณะที่ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของระบบเครือข่ายได้เพิ่มขึ้นมากในองค์กรแถบตะวันออกกลาง และแอฟริกามากว่า 3 ปีเช่นกัน ส่วนในออสเตรเลีย 87%ของอุปกรณ์เครือข่ายอย่างน้อยที่สุดก็เป็นเรื่องความเสี่ยงของระบบความปลอดภัยอย่างที่ทราบกัน
ข้อมูลอื่น ๆ ที่เน้นย้ำไว้ในรายงานเรื่อง เครื่องวัดประเมินระบบเครือข่าย ปี 2559 รวมถึง
เปอร์เซนต์ของอุปกรณ์ซึ่งสนับสนุนการทำงานของโปรโตคอล iPv6 เพิ่มจาก 21% เมื่อปีที่แล้วเป็น 41% ในปีนี้ เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของอุปกรณ์การทำงานในเครือข่ายที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งทำให้องค์กรสามารถสร้างระบบเครือข่ายที่ใหม่และทันสมัยขึ้นในการสนับสนุนกลยุทธ์การใช้งานดิจิตอล โดยเพิ่มความสามารถในการเชื่อมต่อเพื่อรองรับการใช้อินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อกับทุกสิ่ง( IOT) การทำงานกับข้อมูลขนาดใหญ่หรือบิ๊กดาต้า การวิเคราะห์ข้อมูล และการจัดเก็บ
การควบคุมและจัดการระบบเครือข่ายด้วยซอฟต์แวร์กำลังจะมาถึงในไม่ช้าแม้จะยังไม่ใช่ตอนนี้ ขณะที่ความสนใจของตลาดเกี่ยวกับการควบคุมและจัดการระบบเครือข่ายด้วยซอฟต์แวร์เริ่มเข้าสู่วงจรของการได้รับการยอมรับมากขึ้นและวันนี้ ระบบเครือข่ายขององค์กรบางแห่งสามารถให้การสนับสนุนวิธีการควบคุมและจัดการระบบเครือข่ายผ่านซอฟต์แวร์ได้บ้างแล้ว ในปี 2558 น้อยกว่า 0.4% ของอุปกรณ์สามารถสนับสนุนระบบการควบคุมและจัดการระบบเครือข่ายแบบแวน (WAN) ด้วยซอฟต์แวร์ และ 1.3% ของอุปกรณ์สวิตซ์ในศูนย์ข้อมูลหรือดาต้าเซ็นเตอร์ต่างพร้อมรองรับการใช้งานแบบ SDN
การตอบสนองต่อเหตุการณ์ไม่คาดคิดที่เร็วขึ้นถึง 69% และเวลาในการแก้ไขระบบเครือข่ายจากการเฝ้าสังเกตการณ์โดยไดเมนชั่น ดาต้า ก็เร็วขึ้นถึง 32%
จำนวนตัวเลขเหล่านี้ยังลดลงกว่า 55% และ 36% ตามลำดับ เมื่อนำไปรวมกับการให้บริการของไดเมนชั่น ดาต้า
37% ของข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากการตั้งค่าเริ่มต้นใช้งานที่ไม่ถูกต้อง หรือเกิดจากความผิดพลาดโดยคน ซึ่งสามารถเลี่ยงได้ด้วยการจัดแนวทางการเฝ้าสังเกตการณ์ที่เหมาะสม การบริหารจัดการกับการกำหนดค่าเริ่มต้น และการจัดการทำงานให้เป็นระบบอัตโนมัติ