กรุงเทพฯ--7 เม.ย.--กระทรวงมหาดไทย
ในบรรดาพืชตระกูลถั่วทั้งหลาย ถั่วเหลืองจัดเป็นแหล่งโปรตีนจากพืชที่สำคัญที่สุด มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย และมีความสำคัญทางเศรษฐกิจมากกว่าถั่ว ถั่วทุกประเภท ทั้งในด้านอาหารสุขภาพ การเกษตรและอุตสาหกรรม ปัจจุบันความเจ็บป่วยของผู้คนมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการกินที่ไม่ถูกต้อง (ตามหลักโภชนาการ) คือกินแต่เนื้อล้วนๆ แป้งล้วนๆ หรือไขมันมากๆ จึงอยากจะเชิญชวนให้หันมาลองกินอาหารชนิดต่างๆ จากถั่วเหลืองกันบ้างในบางมื้อ ซึ่งจะช่วยให้ปัญหาทางสุขภาพลดน้อย ลงได้ เพราะปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปแล้ว ทั้งในวงการแพทย์และวงการวิทยาศาตร์ว่าถั่วเหลืองมีสารสำคัญหลายชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และเป็น ยารักษาโรคไปด้วยในขณะเดียวกัน ยิ่งในยามที่เศรษฐกิจตกต่ำมีปัญหา และค่าครองชีพที่สูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างเช่นทุกวันนี้ หลักการ "ประโยชน์สูง ประหยัดสุด" มีความจำเป็นอย่างมากในการดำเนิน ชีวิตประจำวันไม่ให้เดือดร้อน แม้แต่ในเรื่องการกินซึ่งเป็นเรื่องสำคัญสำหรับคนเรา อาหารจากถั่วเหลืองชนิดต่างๆ ก็สามารถช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ เพราะราคา ไม่แพงและมาด้วยคุณค่าต่อร่างกายอย่างที่หลายคนคาดไม่ถึง
ประโยชน์ที่ได้รับจากถั่วเหลือง
หลายคนอาจไม่เคยทราบว่า ถั่วเหลืองนอกจากนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลากหลายชนิดแล้ว ถั่วเหลืองยังมีประโยชน์ในด้านอื่นๆ อีกมากมาย เช่น กากเมล็ดถั่วเหลืองที่สกัดน้ำมันออกแล้ว นำไปใช้เป็นอาหารสัตว์คุณภาพสูงทดแทนปลาป่น ต้นถั่วเหลืองที่เหลือจากการเก็บเกี่ยวสามารถใช้เป็นอาหารสัตว์ พวกเคี้ยวเอื้อง หรือจัดทำปุ๋ยหมัก หรือใช้เป็นพืชบำรุงดินก็ได้
ในด้านอุตสาหกรรมอาหาร มีการนำถั่วเหลืองมาใช้แทนเนื้อสัตว์ในอาหารหลายชนิด เช่น อาหารเสริมสำหรับเด็ก การทำเนื้อเทียมผสมกับเนื้อสัตว์จริงๆ เพื่อให้นุ่มอร่อย หรือใช้น้ำมันถั่วเหลืองผลิตเนยเทียมท่ไม่มีโคเลสเตอรอลเหมือนเนยแท้ ทำน้สลัด มายองเนส รวมทั้งซีอิ้ว และซอสถั่วเหลือง ในทางอุตสาหกรรม ถั่วเหลืองก็มีบทบาทไม่น้อยในการเป็นส่วนผสมของสีทาบ้าน ยาฆ่าแมลง อุปกรณ์ดับเพลิง กาว สบู่เหลว น้ำมันขัดเงา เสื่อน้ำมัน กระดาษปิดผนัง แก๊สโซลีน ยางรถจักรยาน และน้ำหมึก เป็นต้น
ภูมิปัญญาชาวบ้านสมมัยโบราณ จะเอาต้นถั่วเหลืองแห้งไปเผามาใช้ซักผ้า สระผม หรือล้างถ้วยชาม ซึ่งเป็นวิถีชีวิตแบบธรรมชาติ ถั่วเหลืองที่เรารู้จักกันดี ได้แก่ เต้าหู้ ฟองเต้าหู้ เต้าเจี้ยว เต้าหู้ยี้ น้ำเต้าหู้ เต้าฮวย ถั่วงอกหัวโต ถั่วเน่า ซีอิ้ว โปรตีนเกษตร และน้ำมันถั่วเหลือง
ความสำคัญของโปรตีน
ปริมาณความต้องการของโปรตีนของกลุ่มคนวัยต่างๆ
เพศ อายุ ปริมาณที่ต้องการ กรัม/น้ำหนักตัว 1 กก. ปริมาณที่ กำหนด กรัม/วัน
ทารก 3-5 เดือน 1.85 13
6-8 เดือน 1.65 14
9-11เดือน 1.50 14
1-3 เดือน 1.20 17
4-6 เดือน 1.10 21
ชาย 10-12 เดือน 1.00 34
13-15 เดือน 1.00 50
16-19 เดือน 0.90 57
หญิง 10-12 เดือน 1.00 37
13-15 เดือน 0.95 49
16-19 เดือน 0.80 45
ชาย อายุ 20 ปีขึ้นไป 0.75 51
หญิง อายุ 20 ปีขึ้นไป 0.75 44
ประมาณการต้นทุนการผลิต
ต้นทุนผันแปร 1,445 บาท
1. ค่าแรงงาน 620 บาท
ค่าเตรียมดิน 200 บาท
ค่าเตรียมพันธุ์เพาะปลูก 160 บาท
ค่าดูแลรักษา 60 บาท
ค่าเก็บเกี่ยวรวบมัด 200 บาท
2. ค่าวัสดุ 770 บาท
ค่าเม็ดพันธุ์ 300 บาท
ค่าปุ๋ยอินทรีย์ 300 บาท
ค่ายาปราบศัตรูพืชอินทรีย์ 150 บาท
ค่าอุปกรณ์การเกษตรและวัสดุ 20 บาท
3. อื่นๆ 55 บาท
ค่าซ่อมแซมอุปกรณ์การเกษตร 5 บาท
ค่าดอกเบี้ยและค่าเสียโอกาสเงินลงทุน 50 บาท
ต้นทุนคงที่ 207 บาท
ค่าภาษีที่ดิน ค่าเช่าที่ดินและค่าใช้ที่ดิน 200 บาท
ค่าเสื่อมอุปกรณ์การเกษตร 7 บาท
ต้นทุนรวมต่อไร่ 1,652 บาท
ผลผลิตต่อไร่ 200 บาท
ราคาขายต่อ กก. 12 บาท
หัก ต้นทุน 1,652 บาท
กำไรสุทธิ 748 บาท
หมายเหตุ พันธุ์ถั่วเหลืองมีความงอกสูง--จบ--