กรุงเทพฯ--6 ธ.ค.--วารสารการเงินธนาคาร
ชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการ ธนาคารออมสิน คว้ารางวัล "นักการเงินแห่งปี 2559"จากวารสารการเงินธนาคาร ด้วยคุณสมบัติของการเป็นนักการเงินครบถ้วนตามหลักเกณฑ์การพิจารณา 4 ด้านเป็นมืออาชีพวิสัยทัศน์กว้างไกลทันสมัยสร้างความเติบโตยั่งยืนให้กับองค์กรพลิกโฉมเป็นออมสินยุคใหม่จนลูกค้าสัมผัสได้ ยึดมั่นหลักธรรมาภิบาลบริหารโปร่งใสและหลักการทำกิจกรรมเพื่อสังคมในทุกโครงการ
คณะกรรมการตัดสินรางวัล "นักการเงินแห่งปี"ของวารสารการเงินธนาคารได้ลงเป็นมติเอกฉันท์ มอบรางวัลเกียรติยศ "นักการเงินแห่งปี 2559 Financier of the Year 2016" ให้ นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ด้วยผลงานที่โดดเด่นผ่านคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์การพิจารณาครบถ้วนทั้ง 4 ด้านสะท้อนความเป็นผู้นำได้อย่างชัดเจนเป็นนักการเงินที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกลและทันสมัย, เป็นนักการเงินมืออาชีพ ที่มีความซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ, เป็นนักการเงินที่สร้างความเจริญเติบโตให้กับองค์กรและเป็นนักการเงินที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม
วารสารการเงินธนาคารได้มอบรางวัลเกียรติยศนักการเงินแห่งปี Financier of the Yearมาตั้งแต่ปี 2525เพื่อยกย่องผู้บริหารระดับสูงของธนาคาร สถาบันการเงินที่มีผลงานโดดเด่นสามารถขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวหน้า สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ และคำนึงถึงสังคมส่วนรวมซึ่งรางวัลนักการเงินแห่งปีดังกล่าวนี้ ได้รับการยอมรับจากภาครัฐองค์กรธุรกิจ และ สถาบันการศึกษาว่าเป็นรางวัลเกียรติยศแห่งความภาคภูมิใจ
ทั้งนี้ นายชาติชาย พยุหนาวีชัยเป็นนักการเงินแห่งปีคนที่ 24 และเป็นผู้บริหารธนาคารของรัฐ คนที่ 2 ที่ได้รับรางวัลเกียรติยศ นักการเงินแห่งปี ต่อจาก นายลักษณ์ วจนานวัชผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
คณะกรรมการตัดสินนักการเงินแห่งปีได้กลั่นกรองและพิจารณาอย่างเข้มข้นมีความเห็นที่สอดคล้องกันว่า นายชาติชาย พยุหนาวีชัยผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เป็นผู้บริหารธนาคารที่มีผลงานโดดเด่น มีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างพัฒนาธุรกิจธนาคารโดยรวมเพื่อประโยชน์ของลูกค้า ประชาชนและสังคม ทำให้องค์กรมีความก้าวหน้าทันสมัยเติบโตอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะการพลิกโฉมธนาคารออมสินยุคใหม่จนลูกค้าพนักงานสัมผัสได้ ยึดหลักธรรมาภิบาลบริหารโปร่งใสและยังคำนึงถึงสังคมส่วนรวม
ดังนั้นจึงมีคุณสมบัติการเป็นนักการเงินแห่งปี ครบถ้วนตามเกณฑ์ทั้ง 4 ด้านโดยเป็นนักการเงินที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกลและทันสมัย ซึ่งผลงานสำคัญคือการปรับเปลี่ยนโฉมธนาคารออมสินให้มีความทันสมัยโดดเด่นเป็น GSB New Era หรือ ออมสินยุคใหม่โดยใช้ยุทธศาสตร์การให้ความสำคัญกับลูกค้า หรือ Customer Centric ที่ยึดมั่นในเอกลักษณ์ความแข็งแกร่งขององค์กรที่เป็นผู้นำด้านการออมพลิกโฉมแบรนด์ออมสินด้วยการตลาดสมัยใหม่ ควบคู่กับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ของลูกค้า ด้วยการออกผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินใหม่ๆ ทั้ง บัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตรเงินสด โมบายล์แบงกิ้ง และสลากดิจิทัล
นายชาติชายดำเนินการปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่และปรับกระบวนการทำงานอย่างเข้มข้น เพื่อนำไปสู่การพลิกโฉมธนาคารไปสู่ยุคใหม่มีความทันสมัยเพื่อสนับสนุนกลุ่มลูกค้าแต่ละกลุ่มอย่างชัดเจนมีการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจในแนวทางการธนาคารสมัยใหม่ที่ไม่ได้พึ่งพาสาขาอย่างเดียวเหมือนสมัยก่อนแต่พึ่งพาช่องทางการให้บริการบนแพลตฟอร์มใหม่ๆ มีการพัฒนาด้านไอทีโดยร่วมมือกับ Fin Tech (ฟินเทค) ในการสร้างสรรค์บริการทางการเงินด้วย บริการโมบายล์แบงกิ้ง หรือ MyMo(มายโม่)นับเป็นการปฏิวัติแนวคิดการธนาคารแบบเดิมโดยสิ้นเชิง
นายชาติชายยังให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลกิจการที่ดีและการบริหารความเสี่ยงโดยมีการปรับกระบวนการภายในให้มีระบบ check and balance ทุกขั้นตอนและเมื่อปรับโครงสร้างองค์กร และ Mindset ของพนักงานใหม่ทั้งหมดแล้วนายชาติชายมุ่งมั่นในการพัฒนาองค์กรให้ยั่งยืนด้วยแนวคิด GSB for Excellenceเพื่อเสริมสร้างความสุขและอนาคตที่มั่นคงให้กับสังคมและชุมชนโดยยึดหลักให้ชุมชนและทุกภาคส่วนมีความเข้มแข็งภายใต้แนวทางประชารัฐมีการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็กและเยาวชนอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ ยังพัฒนาเว็บไซต์ GSB Gen ให้เป็นช่องทางในการรวมกลุ่มกันทำกิจกรรมของเยาวชนและพัฒนา Virtual School Bank หรือธนาคารโรงเรียนออนไลน์ที่นำเอาการเล่นเกมออนไลน์มาประยุกต์ให้เข้ากับวิถีการออม ทำให้บทบาทของออมสินวันนี้ ไม่ได้เป็นเพียงธนาคารเพื่อการออมที่มั่นคงอย่างเดียวแต่เป็นธนาคารที่มีความสดใสมีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆที่ตอบสนองต่อกลุ่มลูกค้าต่างๆได้อย่างสมบูรณ์
นายชาติชายยังเป็นนักการเงินที่ยึดมั่นและยึดหลักความซื่อสัตย์ ใช้หลักการให้บริการเพื่อสร้าง Loyalty มุ่งที่จะรักษาเพื่อให้ลูกค้า คู่ค้า และคู่แข่งเติบโตไปพร้อมกันเพื่อสร้างระบบการเงินให้เข้มแข็งและยั่งยืน โดยเน้นการสร้างความภักดีในตราสินค้า Loyalty จะทำให้ลูกค้าอยู่กับธนาคารอย่างยั่งยืน มากกว่าการใช้ Pricing ซึ่งจะอยู่ชั่วครั้งคราว โดยวางนโยบายให้กับองค์กรว่าต้องมีผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นธรรมกับลูกค้า มีการกำหนดให้บุคลากรทุกคนต้องเข้ารับการอบรมหลักสูตรการปฏิบัติงานตามจรรยาบรรณพนักงานทุกปี เพื่อพัฒนาผู้ปฏิบัติงานให้มีความรอบคอบในการปฏิบัติงาน
ซึ่งหลักธรรมภิบาลที่นายชาติชายนำมาใช้ในการบริหารทำให้ธนาคารออมสินได้รับการยอมรับและได้รับเกียรติบัตรเชิดชูเกียรติมากมาย และนายชาติชายยังได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลตัวอย่างภาคธุรกิจการเงินการธนาคาร ปี 2559 ที่มีความซื่อสัตย์สุจริตอุทิศตนแก่กิจกรรมเพื่อทุกคุณประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ ด้วย2 ปีที่นายชาติชายนั่งบริหารธนาคารออมสิน ได้สร้างสรรค์ความเจริญเติบโตและยั่งยืนให้กับธนาคารในทุกด้าน ที่ลูกค้า คู่ค้า และพนักงานต่างสัมผัสได้ถึงการเปลี่ยนแปลงและความเจริญเติบโต ทั้งในด้านสินทรัพย์ ความมั่นคง ชื่อเสียง สวัสดิการของพนักงาน โดยสินทรัพย์ของธนาคารเติบโตถึง 2.4 ล้านล้านบาท ในขณะที่ NPL ยังต่ำที่สุดในระบบธนาคารซึ่งหากมองถึงภารกิจในด้านต่างๆที่ธนาคารต้องทำในฐานะธนาคารที่ต้องหารายได้ และการเป็นธนาคารที่มีบทบาทและภารกิจเพื่อสังคมตามมาตรการรัฐ ย่อมมีความยากกว่าธนาคารพาณิชย์ทั่วไปแต่นายชาติชายก็สามารถทำให้ธนาคารออมสินดำเนินบทบาททั้งสองประการได้อย่างดีไม่ขาดตกบกพร่องจนธนาคารออมสินได้รับการยกย่องและยอมรับในหลายๆเวที
นอกจากนี้ นายชาติชายยังเป็นนักการเงินที่ให้ความสำคัญกับแนวคิดในการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวมอย่างยั่งยืน โดยพนักงานธนาคารออมสินรับรู้ว่าผู้นำในยุคนี้ คิดทุกอย่างเป็นระบบและสนับสนุนให้มีการทำ CSR in Process หรือทำกิจกรรมเพื่อสังคมในทุกโครงการที่ยึดมั่นว่า "ทุกโครงการไม่ได้ทำให้ธนาคารออมสินเสียหายแต่อาจทำกำไรน้อยบ้าง บางโครงการช่วยชาติช่วยประชาชน ช่วยเศรษฐกิจไทยนี่เป็นเรื่องดี"
และยังมุ่งทำ SE (Social Enterprise) ในรูปแบบของการออมเศรษฐกิจออมสังคมและออมสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นธนาคารเพื่อสังคมอย่างแท้จริง โดยวางแนวทางในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจฐานรากด้วยแนวคิด ออมสินสร้างโลกสีชมพูมีการส่งเสริมการออมและสร้างวินัยทางการเงิน จากบัญชีออมเงินออมธรรม ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้คนดีได้รับอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าคนทั่วไป ฯลฯ เป็นต้น