กรุงเทพฯ--7 ธ.ค.--ยูนิไทย
กลุ่มบริษัทยูนิไทย เดินหน้าส่งเสริมกิจกรรมสะเต็มศึกษา เพื่อพัฒนาศักยภาพของเยาวชนสู่ "ศตวรรษที่ 21" โดยร่วมมือกับสสวท.ลงพื้นที่พัฒนาทักษะครูและสร้างเครือข่ายสถานศึกษาระดับโรงเรียนและระดับอาชีวะในพื้นที่แหลมฉบัง เพื่อร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาการเรียนการสอนตามแนวทางสะเต็มศึกษา
กิจกรรมเพื่อส่งเสริมสะเต็มศึกษา ได้จัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เริ่มจากการพัฒนาคุณภาพบุคลากรครูให้มีทักษะในการปรับเปลี่ยนวิธีการสอนตามแนวทางสะเต็ม โดยเน้นพัฒนาศักยภาพของของผู้เรียน เพื่อให้เกิดกระบวนการคิด และสามารถเชื่อมโยงสาระความรู้ในวิชาต่างๆ มาใช้กับการแก้ปัญหาในชีวิตจริง
โดยกลุ่มบริษัทยูนิไทย ได้มีการลงพื้นที่จัดกิจกรรม STEM Conference & Workshop ให้กับโรงเรียนที่อยู่ในเครือข่าย โดยกิจกรรมในครั้งที่ 1 จัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2558 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรครูได้เข้าใจกระบวนการเรียนการสอนและมีความสามารถในการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อมากิจกรรม workshop ครั้งที่ 2 ได้จัดขึ้นในเดือนมีนาคม 2559 เพื่อเป็นการติดตามความก้าวหน้าในการนำกระบวนการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มไปใช้ในการเรียนการสอนของแต่ละสถานศึกษา และในเดือนพฤศจิกายน ที่ผ่านมา กิจกรรม workshop ครั้งที่ 3 ได้จัดขึ้นเพื่อให้บุคลากรครูได้ระดมความคิดในการส่งเสริมการเรียนการสอนแบบบูรณาการตามแนวทางสะเต็ม และสามารถวัดผลการพัฒนาทักษะของเยาวชนได้อย่างเป็นรูปธรรม
นอกจากนี้ยังได้จัดกิจกรรมสำหรับเยาวชนให้ร่วมประกวดวาดภาพ ในหัวข้อ "เยาวชนศตวรรษที่ 21" เพื่อส่งเสริมทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ ทักษะการนำเสนอความคิดผ่านภาพวาด และเพื่อให้เยาวชนได้ค้นคว้าในสาระสำคัญของเรื่องดังกล่าว ซึ่งกิจกรรมนี้ คือทักษะที่เยาวชนจะต้องมีสำหรับการนำออกไปใช้ดำรงชีวิตในโลกแห่งศตวรรษที่ 21 โดยมีเยาวชนร่วมส่งผลงานภาพวาดเข้าประกวด ทั้งสิ้นจำนวน 110 ภาพ
กลุ่มบริษัทยูนิไทยให้ความสำคัญต่อการพัฒนาด้านการศึกษา เพื่อการพัฒนาเยาวชนให้มีคุณภาพ ความสามารถ และมีคุณธรรม และได้ส่งเสริมกิจกรรมการพัฒนาอย่างต่อเนื่องแบบยั่งยืน จนเกิดเป็นโครงการต้นแบบของชุมชนหลายโครงการ อาทิ โครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพช่าง โครงการ A School Safety โครงการ พัฒนาป่าชายเลน โครงการ English Camp และ Arts Camp เป็นต้น โครงการสะเต็มศึกษา เป็นโครงการที่สามารถนำมาบูรณาการกับโครงการพัฒนาเยาวชนซึ่งยูนิไทยให้การสนับสนุน และสามารถพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของเยาวชน สู่ศตวรรษที่ 21 ซึ่งป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป