การประกวดวงโยธวาทิตนักเรียนแห่งประเทศไทย ชิงถ้วยพระราชทานฯ ครั้งที่ 6 ประจำปี 2544

ข่าวทั่วไป Tuesday August 14, 2001 14:29 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--14 ส.ค.--สยามดนตรียามาฮ่า
ระเบียบการประกวดวงโยธวาทิตนักเรียนแห่งประเทศไทย ชิงถ้วยพระราชทานฯ ครั้งที่ 6 ประจำปี 2544
เนื่องด้วยกิจกรรมดนตรีประเภทวงโยธวาทิต เป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อเด็กนักเรียนเป็นอย่างยิ่ง ด้วยเหตุนี้ โครงการ Think Earth บริษัท สยามดนตรียามาฮ่า จำกัด ร่วมกับ กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้จัดการประกวดวงโยธวาทิตนักเรียน เพื่อพัฒนามาตรฐาน การเล่นดนตรี ประเภทวงโยธวาทิต ของนักเรียนให้ดีขึ้น
1. ชื่อและความหมายของวงโยธวาทิต
การประกวดวงโยธวาทิตนี้ ใช้ชื่อว่า "การประกวดวงโยธวาทิตนักเรียนแห่งประเทศไทย ชิงถ้วยพระราชทานฯ ครั้งที่ 6" ใช้ชื่อ ภาษาอังกฤษว่า "YAMAHA ALL THAILAND MARCHING BAND COMPETITION VI"
วงโยธวาทิต (Marching Band) หมายถึงวงดนตรีที่ประกอบด้วย
1.1 เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า (Wind Instruments) โดยเครื่องเป่าที่ใช้ จะเป็นประเภทเครื่องลมไม้ ผสมเครื่องลมทองเหลือง (Woodwind & Brass) หรือจะเป็นเครื่องลมทองเหลืองประเภทเดียว (Brass Band) แต่จะไม่รวมถึงเครื่องเป่าประเภทบิวเกิล (Bugles)
1.2 เครื่องกระทบ (Percussion) โดยอนุญาตให้ใช้เครื่องกระทบขอบสนาม (Pit Percussion) ประกอบการแสดง ซึ่งรวมถึงเครื่องกระทบที่เป็นเครื่องดนตรีไทยด้วย
2. ประเภทการประกวด
การประกวดวงโยธวาทิตนักเรียนแห่งประเทศไทย ชิงถ้วยพระราชทานฯ เป็นการประกวดวงโยธวาทิตระดับนักเรียน สำหรับโรงเรียนระดับประถมศึกษา อันรวมถึงโรงเรียนขยายโอกาส และโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ไม่เกินระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากทั่วประเทศ เพื่อชิงถ้วยพระราชทานฯ แบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ คือ
2.1 ระดับมัธยมศึกษาไม่เกินชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ชิงถ้วยพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชฯ
2.2 ระดับไม่เกินชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
2.3 ระดับไม่เกินชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัคราชกุมารี
3. รูปแบบการประกวดและพื้นที่สนาม
เป็นการประกวดกลางแจ้ง รูปแบบการแสดง ดนตรีสนาม ( Display) ใช้เวลารวมทั้งสิ้นไม่เกิน 15 นาที โดยกำหนดขนาดสนาม ยาว 80 เมตร (ด้านละ 40 เมตร จากเส้นกลางสนาม) X กว้าง 45 เมตร และจะตีเส้นแนวตั้ง กำหนดให้ทุก 5 เมตรโดยอนุโลมให้ดรัมเมเยอร์ ใช้พื้นที่ภายนอกสนาม สำหรับการอำนวยเพลงได้
4. คุณสมบัติและจำนวนผู้บรรเลง
4.1 ระดับไม่เกินชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ผู้บรรเลงจะต้องเป็นนักเรียน ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคปกติ ตั้งแต่ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6
4.2 ระดับไม่เกินชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผู้บรรเลงจะต้องเป็นนักเรียน ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคปกติ ตั้งแต่ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
4.3 ระดับไม่เกินชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผู้บรรเลงจะต้องเป็นนักเรียน ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคปกติ ตั้งแต่ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้บรรเลงทุกระดับ จะต้องศึกษาในสถาบันศึกษาเดียวกัน หรือจะต่างสถาบันก็ได้ (ในกรณีของวงผสม) สถาบันที่รวมกัน จะต้องใช้สิทธิในการรวมครั้งเดียวเท่านั้น โดยมีจำนวนผู้แสดงชาย หญิง หรือชาย - หญิงผสม ประกอบด้วยดรัมเมเยอร์ ไม่เกิน 2 คน มีผู้แสดงตั้งแต่ 30 คนขึ้นไป แต่ไม่เกิน 100 คน โดยจะ มี หรือ ไม่มี ผู้แสดงประกอบ (Color Guards) ก็ได้
5. คุณสมบัติของดรัมเมเยอร์ (Drum Major)
5.1 เป็นครูผู้สอนโยธวาทิตที่ประจำ หรือครูพิเศษ หรือนักเรียน อยู่ในสถานศึกษานั้นๆ
6. การสมัครเข้าร่วมประกวด
วงโยธวาทิตที่สมัครเข้าร่วมประกวด จะต้องส่งหลักฐานการสมัครดังนี้
6.1 ใบสมัครเข้าร่วมประกวด ส่งใบสมัครเข้าร่วมประกวด ภายในวันที่ 28 กันยายน 2544 โดยสามารถส่งทางไปรษณีย์ หรือ ส่งทางโทรสาร (Fax) ได้ที่
ฝ่ายดุริยางค์ บริษัท สยามดนตรียามาฮ่า จำกัด
121/ 60-61 อาคารอาร์เอสทาวเวอร์ ชั้น 17 ถนนรัชดาภิเษก เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10320
โทรศัพท์ (02)6412951-65 ต่อ 124, 235 ติดต่อคุณอรวรรณ, คุณชนัทนุช, โทรสาร (02)6412971-2
6.2 รายชื่อผู้แสดง ระบุชั้นเรียน อายุ วันเดือนปีเกิด เครื่องดนตรีที่ใช้แสดง สถาบันการศึกษา โดยผ่านการตรวจสอบ และรับรองคุณสมบัติ จากผู้บริหารโรงเรียน
6.3 รายละเอียด ประวัติวง พร้อมรูปถ่ายหมู่สีหรือ ขาว - ดำ จำนวน 2 ภาพ สำหรับใช้ในการประชาสัมพันธ์ และลงสูจิบัตร
6.4 รายชื่อเพลงที่ใช้แสดง พร้อม Score จำนวน 4 ชุด โดยข้อ 6.2,6.3,6.4 สามารถส่งได้ไม่เกินวันที่ 2 พฤศจิกายน 2544
6.5 วงที่สมัครเข้าประกวด จะได้รับเชิญเข้าประชุมเพื่อชี้แจงรายละเอียด วัน และเวลาการประกวด จับฉลากลำดับการประกวด ในวันศุกร์ ที่ 2 พฤศจิกายน 2544 ณ ห้องประชุมชั้น 4 อาคารอาร์เอสทาวเวอร์
7. ลำดับการแสดงและเพลงที่ใช้แสดง
เป็นการแสดง DISPLAY เริ่มด้วยการเข้าสู่สนามทางประตูช้าง โดยเจ้าหน้าที่จับเวลา จะเป็นผู้ให้สัญญาณเข้าสู่สนาม และวงที่ใช้ Pit ercussion ให้นำเครื่องออกทางประตูกลาง ไม่อนุญาตให้ใช้ทางเข้าด้านหลังสนาม ตั้งรูปแสดง เริ่มการแสดงโดยให้ดรัมเมเยอร์ ทำความเคารพ ผู้ชมบอัฒจันทร์ แล้วเริ่มแสดง
ห้ามใช้วัสดุเชื้อเพลิง สัตว์ อุปกรณ์ไฟฟ้า อุปกรณ์ขยายเสียง อุปกรณ์สื่อสารทุกชนิด ห้ามการแสดงที่ขัดต่อขนบธรรมเนียม และประเพณี อันดีงาม เมื่อแสดงจบแล้ว ให้ออกทางประตูไก่ โดยวงที่ใช้ Pit Percussion ให้นำเครื่องออกที่ช่องประตู 21 ให้ใช้เวลารวม ตั้งแต่เริ่มเข้าสนาม แสดง และออกจากสนาม ทั้งสิ้นไม่เกิน 15 นาที โดยเวลาจะหยุดเมื่อคน และอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงทั้งหมด ออกจากพื้นที่สนามแล้ว เพลงที่ใช้แสดงจะเป็นเพลงประเภทใดก็ได้
8. เกณฑ์ตัดสินการประกวด
8.1 เกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็มในการประกวดคือ 100 คะแนน แบ่งออกเป็นสองส่วน ได้แก่
8.1.1 ส่วนภาพ (Visual) คิดเป็น 40คะแนน ประกอบด้วย
- General Effect & Colour Guards 20 คะแนน
- Marching and Maneuvering 20 คะแนน
8.1.2 ส่วนดนตรี (Music) คิดเป็น 60คะแนน ประกอบด้วย
- Winds ( Tone Quality, Articulation&Dynamic, Ensemble ) 30 คะแนน
- Percussion ( Tone Quality, Techniques&Skill, Ensemble ) 30 คะแนน
รวมคะแนนทั้งสิ้น 100 คะแนน
8.2 เกณฑ์การลงโทษ (Penalty)
8.2.1 กรณีที่ใช้เวลารวมเกิน 15 นาที ตัดคะแนนสุทธิ 10วินาทีละ 1 คะแนน
8.2.2 คณะกรรมการตัดสินจะไม่ตัดสินให้คะแนนการแสดงภายนอกหรือเกินกว่าขนาดสนามที่กำหนดไว้ให้ 80 x 45 เมตร
8.2.3 กรณีที่ส่งเสียงรบกวนวงที่กำลังแสดง และ หรือไม่ให้ความร่วมมือต่อเจ้าหน้าที่จัดงาน ตัดคะแนนสุทธิ 10 คะแนน
8.2.4 กรณีวงที่เข้าประกวดใช้ และ หรือแสดงสิ่งที่ห้ามแสดงตามข้อ 7 ตัดคะแนนสุทธิ 10 คะแนน
8.3 การตัดสินของคณะกรรมการตัดสินถือเป็นที่สิ้นสุด
9. คณะกรรมการตัดสิน
คณะกรรมการตัดสินการประกวด มีจำนวนทั้งสิ้น 6 ท่าน โดยจะแบ่งการตัดสินออกเป็นส่วนภาพ (Visual)จำนวน 2 ท่าน และส่วนดนตรี (Music) จำนวน 4 ท่าน ประกอบด้วย
- ผู้ทรงคุณวุฒิจาก Drum Corp International (DCI) ประเทศสหรัฐอเมริกา 2 ท่าน
- ผู้ทรงคุณวุฒิจาก All Japan Marching Band & Baton Twirling Association (AJMBA) ประเทศญี่ปุ่น 1 ท่าน
- ผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับคัดเลือกจากบริษัท 3 ท่าน
10.รางวัล
: รอบชิงชนะเลิศ
10.1 รางวัลชนะเลิศ คะแนนรวมสูงสุด
10.1.1 ระดับมัธยมศึกษาไม่เกินชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ได้รับถ้วยพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชฯ และเงินทุนการศึกษา 100,000 บาท
10.1.2 ระดับไม่เกินชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้รับถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และเงินทุนการศึกษา 100,000 บาท
10.1.3 ระดับไม่เกินชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้รับถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี และเงินทุนการศึกษา 100,000 บาท
10.2 รางวัลรองชนะเลิศในทุกระดับ ได้รับเงินทุนการศึกษา 40,000 บาท
: รอบคัดเลือก วงที่เข้าประกวดทุกระดับจะได้รับรางวัลเหรียญระดับต่าง ๆ โดยแบ่งสัดส่วนเหรียญรางวัลเป็นเปอร์เซ็นต์ ตามจำนวนวงเข้าประกวด ดังต่อไปนี้
รางวัลเหรียญทอง : แบ่งเป็น 30% ของจำนวนวงที่เข้าประกวดทั้งหมด ได้รับเหรียญรางวัล และบัตรกำนัลมูลค่า 50,000 บาท
รางวัลเหรียญเงิน : แบ่งเป็น 30% ของจำนวนวงที่เข้าประกวดทั้งหมด ได้รับเหรียญรางวัล และบัตรกำนัลมูลค่า 30,000 บาท
รางวัลเหรียญทองแดง : แบ่งเป็น 40% ของจำนวนวงที่เข้าประกวดทั้งหมด ได้รับเหรียญรางวัล และบัตรกำนัลมูลค่า 20,000 บาท
โดยวงที่ทำคะแนนรวมสุทธิสูงสุด 2 วง ของแต่ละดับในรอบคัดเลือก จะได้รับการคัดเลือกเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ
11.วัน และสถานที่ประกวด
11.1 รอบคัดเลือก วันพฤหัสบดีที่ 20 - วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม 2544 ณ สนามศุภชลาศัย กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่เวลา 15.00 น.
11.2 รอบชิงชนะเลิศ วันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม 2544 ณ สนามศุภชลาศัย กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่เวลา 16.00 น.
* บริษัทฯขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยน เพิ่มหรือลดจำนวนวันในการประกวด โดยจะแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
12.ค่าใช้จ่ายในการประกวด
วงโยธวาทิตที่เข้าประกวดจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจัดหาที่พัก ค่าอาหาร ด้วยตนเอง
13.การเปลี่ยนแปลงระเบียบการประกวด
บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงระเบียบการประกวดที่อาจมีขึ้นได้
ติดต่อขอรับรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ฝ่ายดุริยางค์ บริษัท สยามดนตรียามาฮ่า จำกัด
121/ 60-61 อาคารอาร์เอสทาวเวอร์ ชั้น 17 ถนนรัชดาภิเษก เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10320
โทรศัพท์ (02)6412951-65 ต่อ 124, 235 ติดต่อคุณอรวรรณ, คุณชนัทนุช, โทรสาร (02)6412971-2--จบ--
-สส-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ